Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อุปสรรคก้อนใหญ่ที่ทำให้หลายคนก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ ไม่เพียงเป็นเรื่องความมั่นใจที่จะเดินต่อ หากแต่เป็นทัศนคติที่มองว่า ตนเองเดินทางมาบรรจบกับความสมบูรณ์แบบแล้ว

แต่สิ่งที่น่ากลัวไปมากกว่านั้น คือการที่คนๆ หนึ่งไม่สามารถยอมรับจุดบกพร่องของตัวเองได้ บทความจาก The Wall Street Journal ใช้คำพูดเปรียบเปรยเสียดแทงหัวใจถึงขนาดว่า บางคนคิดว่า ตัวเองเป็นของขวัญจากพระเจ้า แต่แท้จริงแล้วพวกเขาคือ ‘Employees from hell’ หรือพนักงานจากขุมนรกมากกว่า

เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะผู้เชี่ยวชาญบอกว่า การมีตัวชี้วัดตั้งแต่แรกจะทำให้คนทำงานรู้ว่า ทำงานแบบไหนจึงจะได้เหรียญทอง แล้วทำแบบไหนจะได้รับเหรียญเงิน หรือแบบไหนที่จะไม่มีโอกาสขึ้นแท่นรับรางวัลเลย

บางองค์กรที่ไม่เคยมีสิ่งเหล่านี้มาก่อน มักเผชิญกับความยากลำบากในการฟีดแบ็กอย่างตรงไปตรงมา หลายครั้งเจอกับความเพิกเฉยจากคนทำงานที่เชื่อว่า ตนเองทำได้ดีแล้ว การฟีดแบ็กเหล่านั้นจึงกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และนำไปสู่ระเบิดเวลาลูกใหม่ในองค์กร

 

[ ดีของเรา ≠ ดีของคนอื่น หัวหน้าต้องแจงความผิดพลาด พร้อมทางแก้ ]

หลังการแพร่ระบาดใหญ่สิ้นสุดลง หลายองค์กรกลับมาเดินเครื่องเร่งบีบ ‘Output’ จากพนักงานเข้มข้นมากกว่าเดิมหลายเท่า สิ่งที่เกิดขึ้น คือคนระดับหัวหน้างานต้องหาวิธีประเมินอย่างเป็นทางการ เพื่อทำให้ชิ้นงานถูกแจกแจงออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทว่า ในช่วง 3-4 ปีก่อนหน้า พบว่า หลายองค์กรผ่อนปรนระบบประเมินผลงานไปชั่วคราว ตรงนี้เองที่อาจทำให้พนักงานไม่รู้ว่า ตัวเองยืนอยู่จุดไหน มองว่า ที่ทำไปดีอยู่แล้ว เพราะไม่ได้รับฟีดแบ็กให้ปรับปรุง

บทความจาก The Wall Street Journal เปิดเผยผลสำรวจจาก ‘BambooHR’ ที่มีการระบุว่า เกือบ 4 ใน 10 ของพนักงานที่ได้รับเรตติ้งต่ำจากผู้จัดการในปีที่แล้วให้คะแนนตัวเองสูงกว่า มองว่า ตนเองมีคุณค่ากับองค์กรมากกว่าคะแนนที่ได้รับ ความยากที่สุดอย่างหนึ่งของคนเป็นหัวหน้า คือการเผชิญหน้ากับคนทำงานที่มีความมั่นใจมากเกินไปในระดับ ‘Overconfident’ จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้รับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข นั่นคือโจทย์ใหญ่ที่หัวหน้าต้องแบกรับ

‘Indeed’ เว็บไซต์หางานสัญชาติอเมริกัน ระบุว่า พนักงานมักมีมุมมองการรับรู้ต่อผลงานตัวเองแตกต่างจากวิจารณญาณของหัวหน้าอยู่แล้ว หัวหน้าต้องเรียนรู้วิธีรับมือกับลูกน้องในลักษณะดังกล่าวโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เขารับรู้ข้อผิดพลาด และสรุปแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ทำให้พนักงานมีพัฒนาการและเติบโตในเส้นทางอาชีพต่อไป

แม้ด้านหนึ่งพนักงานที่คิดว่า ตัวเองเก่ง มีความสามารถ จะมีแนวโน้มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับบริษัท รู้สึกมี ‘Ownership’ กับงาน แต่ขณะเดียวกันถ้าหัวหน้ายังปล่อยและนิ่งเฉยเพราะมองว่า จัดการยาก คนทำงานคนนี้ก็จะกลายเป็นนักสะสมข้อผิดพลาด ไม่เข้าใจว่าทำไมตนเองถูกฟีดแบ็ก หนักไปกว่านั้นอาจมองว่า ฟีดแบ็กไม่ใช่สิ่งจำเป็น ตีความกลายเป็นเรื่องลบ แล้วมองว่า ทำงานดีมาตลอด ทำไมจึงถูกเพ่งเล็งได้ หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้กำหนดกรอบ หรือข้อบ่งชี้ให้พนักงานรับทราบตั้งแต่เนิ่นๆ

 

[ กำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่ม ง่ายต่อการฟีดแบ็ก ]

‘David Fallarme’ รองประธานฝ่ายการตลาดของ Owner.com ผู้เจ้าของแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ ให้ความเห็นกับ The Wall Street Journal ว่าองค์กรต้องมี ‘Playbook’ ประจำออฟฟิศ การทำงานเป็นกีฬาที่มีความซับซ้อน การเคลื่อนไหวทุกครั้งต้องมีการให้คะแนนที่ได้รับการตกลงและทำความเข้าใจตั้งแต่วันแรก

องค์กรต้องมีตัวชี้วัดเพอฟอร์แมนซ์ว่า แบบไหนที่มากกว่าหรือน้อยกว่าความคาดหวัง เพื่อให้พนักงานรับทราบว่า อยู่ในจุดไหนแล้ว

การกำหนดกฎเกณฑ์การทำงานที่เป็นรูปธรรมเช่นนี้ดีกับทุกฝ่าย ทั้งองค์กร หัวหน้า และคนทำงาน หากถึงที่สุดแล้วพนักงานไม่สามารถทำตามเส้นที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรกได้ การมี Playbook เช่นนี้จะง่ายต่อการบอกพวกเขาในภายหลังว่า ที่ผ่านมาไม่ดีอย่างไร ล้มเหลวอย่างไร และถึงจุดไหนที่เหมาะสมต่อการบอกเลิกจ้างมากที่สุด

ไม่ใช่แค่การตั้งกรอบขึ้นมาแบบโดดๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า หัวหน้าและองค์กรเองก็ต้องสื่อสารกับคนทำงานบ่อยๆ ด้วย เพื่อให้พวกเขารู้ว่า สิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ถึงจุดที่สามารถขึ้นไปรับเหรียญรางวัลได้แล้วหรือยัง 

อาจกำหนดการเช็คอินเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน การพูดคุยสื่อสารกันบ่อยๆ จะช่วยจัดการข้อกังวล รวมถึงความมั่นใจที่เขามี เพื่อให้รับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ชื่นชมและโปรโมตความสำเร็จระหว่างทางไปตลอดทาง จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับการทำงานในอนาคตได้

 

อ้างอิง:
        https://www.indeed.com/career-advice/career-development/how-to-deal-with-employee-who-thinks-they-are-perfect

https://www.wsj.com/lifestyle/careers/manager-feedback-underperforming-employee-96f255b1

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า