SHARE

คัดลอกแล้ว

นอกจากเนื้องาน เพื่อนร่วมงาน ค่าตอบแทน และสภาพแวดล้อมโดยรวมแล้ว ‘หัวหน้า’ เป็นอีกตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ลูกน้องประสบความสำเร็จ อยากเติบโตไปพร้อมกับองค์กร ต้องการพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่เก่งขึ้นในทุกๆ วัน จนกลายเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญขององค์กรต่อไปในอนาคต

หัวหน้าไม่เพียงแต่มีหน้าที่ในการบังคับบัญชาให้ลูกน้องทำงานภายใต้คำสั่งให้สำเร็จเท่านั้น แต่ยังต้องสนับสนุน ผลักดันลูกน้องอย่างเต็มความสามารถด้วย

หากเจอหัวหน้าที่น่ารัก เอาใจใส่ สนับสนุนการทำงาน ไม่จับผิด ไม่สร้างความเป็นพิษ พร้อมเป็นเบาะรองหลัง-กันกระแทกยามลูกน้องผิดพลาด คนในทีมก็อยากอยู่กับองค์กรไปนานๆ

ในทางกลับกัน หากต้องเจอกับหัวหน้าที่สร้างความไม่สบายใจให้กัน ความครุกรุ่นในใจก็จะเริ่มก่อตัวขึ้น จนสุดท้ายคนทำงานก็เลือกที่จะเดินออกมาเอง

งานศึกษาจาก Gallup บริษัทที่ปรึกษาสัญชาติอเมริกาพบว่า พนักงานกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐฯ ลาออกจากงานเพื่อหลีกหนีจากเจ้านายของตนเอง และยังพบด้วยว่า สถิติดังกล่าวใกล้เคียงกับผลสำรวจในแถบยุโรป เอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

ในการสำรวจเดียวกันนี้ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย-ลูกน้องมีผลอย่างมากต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของแรงจูงใจที่พนักงานจะไปให้ถึงเป้าหมายองค์กร

คนที่มีความสัมพันธ์กับหัวหน้าในเชิงบวกระบุถึงเหตุผลหลักๆ ว่า เกิดจากการที่หัวหน้ามองเห็นถึงจุดแข็งของตนเอง ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ในจำนวนของพนักงานที่มีลักษณะเช่นนี้ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้นั้น กลับมีสัดส่วนเพียง 13% จากการคำนวณและเก็บผลสำรวจทั่วโลก

หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ บทความนี้ไม่ได้จะบอกให้คุณเดินไป ‘ลาออก’ ทันที แต่เพราะการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง มีความสำคัญกับการเติบโตในหน้าที่การงาน

ฉะนั้น เราอาจจะต้องมาลำดับการแก้ปัญหากันก่อนว่า ควรเริ่มจากตรงไหน และทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้า-ลูกน้องดีขึ้น

[ เจ้านายไม่ดี ไม่ใช่คนไม่ดี ]

แม้อาจจะฟังดูขัดใจสักหน่อยเพราะการเป็น ‘คนดี’ กับ ‘เจ้านายที่ดี’ แยกจากกันอย่างชัดเจน เราในชีวิตประจำวัน กับเราในชีวิตการทำงานคือคนละบทบาทกันอยู่แล้ว หัวหน้าก็เช่นกัน เขาอาจจะยังเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี แต่ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นคนเลวเสมอไป

หากเรามองเขาด้วยความเห็นอกเห็นใจแบบที่เพื่อนมนุษย์คนหนึ่งพอจะให้กันได้ เราก็คงจะพอมองเห็นว่า เจ้านายบางคนเป็นคนไม่ดี ทำงานห่วยในสายตาเรา เพราะตำแหน่งแห่งที่ที่เขาได้มาอยู่นั้นมีแรงกดดันรอบทิศทางเกิดขึ้นมากมาย

สิ่งสำคัญ คือ เราต้องไม่มองเพียงว่า ทำไมหัวหน้าแสดงออกแบบนั้น แต่ต้องมองให้ลึกลงไปอีกว่า ทำไมพวกเขาเลือกที่จะทำแบบนั้นด้วย

บทความจาก Harvard Business Review ให้ข้อมูลว่า มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ความเห็นอกเห็นใจหรือ ‘Empathy’ มักเป็นตัวเปลี่ยนเกมในความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายและลูกน้องเสมอ

ไม่เพียงแต่การมองจากล่างขึ้นบนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจากมุมมองของเจ้านายที่มีต่อลูกน้องด้วย ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า หากเราฝึกการมองผู้อื่นด้วยเลนส์ของความเห็นอกเห็นใจอย่างมีสติ ก็จะช่วยให้รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้แม่นยำมากขึ้นนั่นเอง

[ ไม่มีอะไรสื่อสารได้ดีกว่าความตรงไปตรงมา ]

หากพิจารณาแล้วว่า ในความสัมพันธ์นี้ไม่ได้เกิดจากคุณเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เจ้านายเป็นคนไม่ดี ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า คุณควรพูดคุยเปิดอก-ให้คำแนะนำอย่างจริงใจ ทำให้เขาเห็นสถานการณ์ที่เป็นอยู่

พร้อมกับแสดงท่าทีให้เขาเข้าใจว่า คุณไม่ได้จะมาหาเรื่องหรือทำร้ายอะไร เพียงแต่ถ้าเรายังต้องทำงานด้วยกันต่อไป คุณต้องการที่จะแก้ไขสถานการณ์ตอนนี้ เพื่อทำให้ทุกอย่างคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

การพูดคุยแบบนี้ค่อนข้างจะ ‘confidential’ คงไม่ดีนักหากจะลุกออกจากโซนออฟฟิศไปพูดคุยกันสองคนดื้อๆ ถ้าเป็นแบบนั้น เพื่อนร่วมแผนกก็คงจะรับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ฉะนั้น สถานที่และเวลาควรเป็นการนัดกันไปทานข้าวกลางวันในร้านที่คุณมั่นใจว่า จะไม่เจอเพื่อนร่วมงานแน่ๆ อธิบายว่า คุณมีข้อกังวลส่วนตัวอะไรบ้าง รวมถึงมีความต้องการอย่างไรหลังจากการพูดคุยครั้งนี้จบลง 

[ ขอคำแนะนำจากหัวหน้า เพื่อให้เห็นว่าเราให้เกียรติกัน ]

“การขอคำแนะนำเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีต่ออีกฝ่าย” ผู้เชี่ยวชาญมองว่า วิธีการนี้เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เราเคารพการตัดสินใจและวิธีคิดของอีกฝ่าย

โดยวิธีขอคำแนะนำจะไม่ใช่การพูดเชิงกดดัน แต่เป็นการขอความคิดเห็นเพื่อช่วยให้คุณได้ไอเดียบางอย่างกลับไป แต่ท้ายที่สุดแล้ว คุณจะหยิบคำแนะนำนั้นไปใช้ทั้งหมดหรือไม่ อาจจะลองหยิบบางส่วนไปปรับดู หากคุณเห็นด้วยและทำให้การทำงานดีขึ้น หัวหน้าเองก็คงรู้สึกว่า ตัวเขาเป็นที่พึ่งให้ลูกน้องได้

ขณะเดียวกัน ลูกน้องเองก็จะมีมุมมองที่ดีกับหัวหน้ามากขึ้นด้วย เพราะได้รับรู้วิสัยทัศน์หลายๆ อย่างเพิ่มเติม จากเดิม ที่อาจจะไม่เคยคุยกันมากเท่านี้ ก็ทำให้เป็นการเปิดบทสนทนาที่ดี ต่อยอดสู่ความสัมพันธ์การทำงานที่กล้าพูดคุยปรึกษากันมากขึ้น

แต่ท้ายที่สุดแล้ว หากความพยายามของคุณไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น มีสองทางที่เราอยากจะแนะนำส่งท้าย คือ

1.) ปฏิสัมพันธ์กับเจ้านายให้น้อยที่สุด ทำหน้าที่ของเราไป พูดคุยเฉพาะเรื่องจำเป็นเท่านั้น ไม่สร้างความผูกพัน ไม่สนใจ และไม่รู้สึกยี่หระกับการกระทำใดๆ ของเขาทั้งนั้น 

หรือ 2.) หางานใหม่ และอย่าลืมว่า การเดินออกมาครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่การที่คุณยังเลือกอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่ ทนฝืนเพื่อปลายทางที่ว่างเปล่า นั่นต่างหากคือความผิดของคุณอย่างเต็มประตู

ไม่ว่าจะเลือกทางไหน ขอให้เชื่อมั่นในสัญชาตญาณและการตัดสินใจของตัวเองเข้าไว้ก็พอ

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า