Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ตั้งแต่เปิดปี 2566 มา ผมสังเกตเห็นว่า กระแสการหางาน การหาคนมาทำงานนั้นเริ่มกลับมาคึกคักขึ้นอย่างชัดเจน (ในที่นี้ หมายถึงตลาดงานประจำในโลกออฟฟิศเป็นหลักนะครับ)

แน่นอน First jobber ย่อมต้องอยากหางานทำหลังเรียนจบ และคนที่เป็น Mid Career ก็อยากขยับขยายย้ายงานด้วยจุดประสงค์ของแต่ละคนที่อาจจะต่างกันไป ตั้งแต่ ความเบื่อหน่ายงานปัจจุบัน ความอยากเติบโต จนถึงความอยากได้เงินเพิ่ม

เพราะงานคือเงิน และเงินก็หมายถึงโอกาสที่จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในโลกแห่งการแข่งขันต่อสู้นี้

แม้จะไม่ใช่เรื่องที่ต้องเอามายึดเป็นเรื่องใหญ่เรื่องเดียวในการหางานหรือย้ายงาน เพราะมีอีกหลายเรื่องที่ต้องพิจารณา เช่น เนื้องาน คุณค่าของงาน และอื่นๆ

การต่อรองเงินเดือนก็เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะไหนๆ ก็จะย้ายงานแล้ว มันก็เหมือนได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ความหวังครั้งใหม่ และเงินเดือนก้อนที่ควรจะใหญ่กว่าเดิม เพิ่มเติมจากของเก่า

วันนี้ผมมีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อเรียกเงินเดือนที่เหมาะสมได้ แบบที่เราเองก็โอเค และนายจ้างก็ไม่หงายท้อง และตัดชื่อเราออกจาก Shortlist เพราะเราดูเป็นคนโลภ

อย่างแรก เราต้องชัดเจนก่อนว่า ปัจจุบันรายได้เรานั้นต่อปีแล้วคือทั้งหมดเท่าไรที่ได้จากงานประจำ โดยมองให้ครบในทุกๆ รายการรายได้ที่เราได้อยู่ ทั้งฐานเงินเดือน โบนัส เงิน incentive เงินช่วยเหลือประจำ เงินค่าครองชีพพิเศษประจำ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าวิชาชีพพิเศษที่ติดตัวเรามาแบบที่เราได้มาเฉพาะกับตัวเรา และ ได้ใช้ในงานแน่ๆ และอื่นๆ

ซึ่งเราสามารถ ดูได้จาก Pay slip ที่เราได้ทุกเดือน แล้วนำมาคำนวณคร่าวๆ เป็นรายปีว่าทั้งก้อนเราได้เท่าไร ทั้งหมดนี้เพื่อให้เรามีฐานในการตั้งต้นการคำนวณ

ถัดมา ลองดูว่างานที่เรากำลังจะเข้าไปทำนี้ ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปมากขนาดไหน

ต้องไม่ลืมนะครับว่า มันมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแน่ๆ ทั้งจากมุมค่าใช่จ่ายการเดินทางที่อาจจะเปลี่ยนไป วันทำงานที่อาจจะเปลี่ยนไป ค่าครองชีพที่ย่านที่เราไปทำงานที่ใหม่ งานใหม่เงินใหม่ ต้องครอบคลุมสิ่งเหล่านี้ และเราต้องคาดคะเนได้ว่ามันน่าจะประมาณเท่าไร

และต้องไม่ลืมครับว่า เงินก้อนใหม่นี้มันยังต้องสามารถช่วยเกื้อกูลปัจจัยชีวิต และเงื่อนไขชีวิตของคุณที่อาจจะเพิ่งเกิดขึ้นด้วย เช่น การผ่อนบ้านผ่อนรถต่างๆ ง่ายๆ คือคุณต้องสบายตัว สบายใจขึ้นทางการเงินครับ

ยกเว้นว่าคุณมีลักษณะนิสัยใช้เงินเกินตัว อันนี้เงินเท่าไรก็อาจจะไม่พอ

ต่อมา ลองดูว่าถ้าเราจะย้ายงานทั้งที ความเสี่ยงจากการย้ายงานครั้งนี้มันมากหรือน้อย และแน่นอน เงินก้อนใหม่นี้ต้องไม่น้อยกว่าเดิม แต่สามารถปิดความเสี่ยงในการย้ายงานของเราได้ เช่น ย้ายไปทำงานในบทบาทที่ยาก ใหญ่ขึ้น และท้าทายมากขึ้น ซึ่งแปลว่าเราเสี่ยงกับ Job security และความเครียดที่สูงขึ้น เงินน่าจะต้องมาชดเชยในส่วนนี้ด้วย

และที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ Motivation ของเราที่เงินก้อนใหม่นี้ต้องสร้างแรงจูงใจให้เราได้ ซึ่งบางตำราก็บอกเอาไว้ว่าสักประมาณขั้นต่ำอยู่ที่ 15% ที่เพิ่มจากเดิม เพราะจะเริ่มทำให้เรารู้สึกได้ถึงคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น คือ มีเงินเหลือใช้มากขึ้น หรือมีกำลังเงินมากขึ้นนั่นเอง

พอเราเห็นภาพรวมทั้งหมดแล้ว เราก็มาเรียกเงินเดือนแบบที่เป็นไปได้และเหมาะสมกันครับ โดยผมแนะนำตามนี้นะครับ

อย่างแรก ลองเรียกเป็น Range ดูครับ โดยเป็น Range ที่เหมาะสม และเราต้องยังรู้สึกโอเคอยู่ถ้าเราได้รับข้อเสนอที่ตัวเลขด้านต่ำของ Range นั้น

บางคนอาจจะถามว่า แล้วจะพูดถึง Range สูงทำไม ถ้าได้ตัวเลขที่ต่ำแล้วโอเค ผมตอบแบบนี้ครับว่า มันคือmotivation ครับ ถ้าเราได้ค่าจ้างที่ขอบบน หรือตัวสูงของ range ที่เรียกไปเลย มันก็ทำให้ใจเราฟูจริงไหมครับ การที่องค์กรได้คนที่ใจฟูไปทำงานด้วย มันก็ดีตั้งแต่เริ่มต้น

ถัดมา การพูดว่าสามารถ “ตามโครงสร้างเงินเดือน” ของบริษัทนั้นๆ ได้ ก็เป็นอีกทางนึงที่ทำได้นะครับ แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าเราต้องแจ้งความคาดหวังที่คิดมาครบถ้วนมาแล้วให้ทางบริษัทใหม่เขาทราบด้วย เพราะเราไม่มีทางรู้หรอกครับว่าแต่ละบริษัทเขามีโครงสร้างยังไง

ถ้าเราเจอ HR หรือนายจ้างที่บ้าจี้ ดูอะไรไม่ลืมหูลืมตา เขาอาจจะเสนอเงินเดือนใหม่ที่น้อยลงกว่าเก่ามาให้เราก็ได้เพียงเพราะมองตามโครงสร้างเงินเดือนขององค์กร นี่ไม่ใช่มุกนะครับ มันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เสียทั้งความรู้สึก และเวลาที่ต้องมานั่งต่อรองกันใหม่อีก

อย่างที่สาม อย่าบ้าคลั่งเรียกเงินแบบไม่ลืมหูลืมตา เช่น เพิ่ม 50% หรือ 100% แบบที่ไม่ได้มีเหตุผลเฉพาะตัว เช่น คุณถูกจ้างต่ำจริงๆ โดยที่ทำงานปัจจุบันหรือที่ผ่านมาโดนกดเงินเดือนตลอด หรือเราเป็นมนุษย์ทองคำ

เพราะถ้าคุณเรียกแบบกะว่ารวยเลยแบบนี้ มันไม่ต่างจากการซื้อลอตเตอรี่ครับ และว่าที่นายจ้างก็จะมองว่าคุณไม่ได้ย้ายงานเพราะอยากทำงานเป็นหลัก แต่อยากได้เงินเป็นหลักซึ่งมันอาจจะเกินงามไปจริงๆ

ข้อที่สี่ อย่ามุ่งไปมองที่ “ฐานเงินเดือน” อย่างเดียวจนไม่ลืมหูลืมตา เพราะจริงๆ แล้วเงินหรือรายได้มันอาจจะมาได้ในหลายรูปแบบ และแต่ละบริษัทเขามีโครงสร้างการจ่ายไม่เหมือนกัน เช่น บางองค์กรเน้นให้ฐานเงินเดือนเยอะๆ แต่โบนัสน้อยๆ บางที่เน้นเงินเดือนต่ำหน่อย แต่เน้นการจ่ายโบนัส บางที่เน้นการให้ incentive ตามหน้างาน หรือบางที่ให้สวัสดิการแบบที่คุณจะรักองค์กรแบบสุดๆ ไปเลยก็มี ดังนั้น จงมองภาพรวมด้วย และมองให้ครบทุกปัจจัยครับ

สุดท้าย เมื่อพูดถึงเงิน ใครๆ ก็ชอบครับ แต่เราก็ควรมองแต่พอดี ถ้ามันได้ข้อเสนอมาเยอะมากไปแบบเกินฝัน บางทีก็ต้องคิดเหมือนกันครับว่ามัน Too good to be true หรือเปล่า อาจจะต้อง “เอ๊ะ” ไว้บ้าง แต่ถ้าน้อยไป จนเราต้องเฉือนเนื้อ มันก็ไม่ใช่เรื่องครับ ถ้าเราไม่ได้กำลังหนีตาย

โดยสรุป เรื่องต่อรองเงินเดือนนี้ ถ้าหน้าบางไป เราก็พลาดโอกาส ถ้าหน้าเลือดเกินไป เราก็อดได้งานเช่นเดียวกัน คิดดูดีๆ ประเมินสถานการณ์ดีๆ แล้วต่อรองอย่างมีสติ จะดีที่สุดครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า