Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรณีการทุจริตของหุ้น STARK ถือเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยพอสมควร ตั้งแต่ความเชื่อมั่นต่อทั้งผู้บริหาร บริษัทสอบบัญชี ไปจนถึงหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน ว่ายังสามารถเชื่อถือได้อยู่หรือไม่

แต่ในช่วงที่นักลงทุนหมดความเชื่อมั่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จัดสัมมนาออนไลน์ ‘ห้องเรียนนักลงทุน’ ในหัวข้อ ‘สแกนหุ้นผ่านงบการเงินสไตล์กูรู’

โดยมี รศ.ดร.ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์ อาจารย์จากภาควิชาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยายให้ความรู้และเทคนิคในการเอาตัวรอดจากตลาดหุ้นด้วยงบการเงิน

[ 4 งบการเงินที่นักลงทุนควรอ่าน ]

โดยเกริ่นว่า ‘รายงานทางการเงินของบริษัท’ เปรียบเสมือนรายงานสุขภาพของบริษัทที่นักลงทุนควรอ่าน ซึ่งประกอบไปด้วยงบ 4 ตัวด้วยกัน ได้แก่

1. งบแสดงฐานะทางการเงิน ซึ่งจะแสดงถึงความร่ำรวยของบริษัทผ่านสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ ส่วนของเจ้าของ และหนี้สิน

2. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของบริษัท ว่าบริษัทนั้นๆ ทำกำไรหรือขาดทุนไปเท่าไหร่

3. งบกระแสเงินสด ซึ่งจะแสดงถึงเงินสดจริงที่ไหลเข้ามาและจ่ายออกไปจากการทำธุรกิจ 

4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่ม-ลดทุน หรือการจ่ายปันผล เป็นต้น

และอีก 2 เอกสารสำคัญที่แนบมาพร้อมรายงานทางการเงินของบริษัทที่นักลงทุนควรอ่านก็คือ

  • หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งจะแสดงรายการสำคัญอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถลงในงบการเงินทั้ง 4 งบของบริษัทได้ในตอนนี้ ยกตัวอย่างเช่น ภาระผูกพัน หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ข้อพิพาททางกฎหมาย หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ เป็นต้น
  • รายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งเป็นรายงานที่จะแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีว่า มีอะไรในงบการเงินที่ควรระวังหรือไม่ หรือรายงานการเงินถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น

[ งบ ‘กำไร-ขาดทุน’ ไม่ใช่ทุกอย่าง ]

สำหรับการศึกษาบริษัทเพื่อลงทุน รศ.ดร.ณัฐชานนท์ แนะนำว่า ควรเริ่มต้นพิจารณาก่อนว่า บริษัททำกิจการอะไร แล้วอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทใด เพื่อประเมินความเหมาะสมของงบการเงินของบริษัทว่ามี Wealth หรือความมั่งคั่งเหมาะสมกับประเภทธุรกิจหรือไม่ 

เมื่อประเมินแล้วว่าบริษัทมีสินทรัพย์มากน้อยเท่าไหร่  งบแสดงฐานะยังสามารถบ่งบอกอีกว่า บริษัทมีช่องทางในการหาเงินเพื่อทำธุรกิจจากเจ้าของเท่าไหร่บ้าง และช่องทางผ่านการกู้ยืมเท่าไหร่บ้าง

โดยในงบแสดงฐานะ ยังสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ DE ratio หรือ ‘อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน’ ได้อีกว่า บริษัทมีสัดส่วนหนี้สินเหมาะสมกับอุตสาหกรรมหรือไม่ เพราะหากบริษัทไหนมีอัตราส่วนดังกล่าวมากไปก็อาจไม่สามารถชำระหนี้คืนได้

และถัดมาคือ ‘งบกำไรเบ็ดเสร็จ’ ที่นักลงทุนส่วนมากจะอ่านเพียงแต่งบนี้ ซึ่งงบดังกล่าวจะแสดงให้เห็นเพียงแค่ว่า บริษัททำธุรกิจเก่งหรือไม่ สามารถหารายได้ได้เท่าไหร่ ต้นทุนเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายพนักงานมากน้อยแค่ไหน เหลือเป็นกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่

แม้จะเป็นงบที่บ่งบอกประสิทธิภาพของกิจการได้ดีพอสมควร แต่หากจะพิจารณาให้รอบด้านแล้ว งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ จะไม่สามารถบอกได้ว่า กำไรหรือขาดทุนที่บริษัททำได้ จริงๆ แล้วเป็นเงินสดที่เข้ามาในกิจการเท่าไหร่

เพราะในบางธุรกิจอาจมีกำไรเยอะ แต่ท้ายที่สุดเป็น ‘ธุรกิจเงินเชื่อ’ ที่ขายของก่อน รับเงินทีหลัง ก็อาจมีแต่ตัวเลขกำไรทางบัญชี แต่ไม่มีเงินสดเข้ามาในธุรกิจเลย จนอาจเจ๊งได้ในที่สุดก็เป็นไปได้

[ แบไต๋บริษัทจดทะเบียน ‘ไซฟ่อนเงิน’ ]

ดังนั้น อีกหนึ่งงบการเงินที่นักลงทุนควรติดตามก็คือ ‘งบกระแสเงินสด’ ซึ่งจะบอกว่า บริษัทหลังจากทำธุรกิจมาแล้ว มีเงินไหลเข้ามาสู่ธุรกิจจริงเท่าไหร่ เงินสดไหลออกไปเท่าไหร่ ซึ่งบ่งบอกถึง ‘ความสามารถในการเอาตัวรอดของบริษัท’

นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยในการตรวจสอบบางบริษัทที่เจ้าของมีการ ‘ไซฟ่อนเงิน’ ออกจากธุรกิจไปเข้ากระเป๋าส่วนตัวได้อีกว่า มีการไหลของเงินออกไปแค่ไหน และเหลือไว้ให้บริษัทจริงเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้ การจะตรวจสอบได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายเช่นกัน

ส่วน ‘งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น’ ก็สามารถนำมาใช้ในการบ่งชี้ว่า บริษัททำให้ผู้ถือหุ้นรวยขึ้นมากน้อยแค่ไหน กำไรสะสมของบริษัทมีการเติบโตมาแล้วเท่าไหร่ รวมไปถึงในแต่ละปีบริษัทมีการปันผลเงินสดไปยังผู้ถือหุ้นเท่าไหร่บ้าง เป็นต้น

ในส่วนสำคัญอีกประการ คือ ‘หมายเหตุประกอบงบการเงิน’ ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ควรปล่อยผ่าน เนื่องจากในเอกสารดังกล่าวจะมีรายการต่างๆ ขยายความแต่ละรายการในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด รวมถึงงบแสดงฐานะ ว่าแต่ละรายการมีเนื้อหาอย่างไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น รายการการกู้ยืมระหว่างบริษัทแม่และบริษัทลูก ที่อาจมีการทำรายการที่ไม่ชอบมาพากล หรือผิดปกติ นักลงทุนก็จะได้ระมัดระวังในการลงทุนได้

นอกจากนี้ ในหมายเหตุประกอบงบ ยังรวบรวมรายการที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นภาระผูกพันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของบริษัทได้ ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัท A มีการทำสัญญากับบริษัทคู่ค้าเพื่อจะซื้อเครื่องจักรในอีก 3 เดือนข้างหน้า แต่ยังไม่มีการส่งมอบของ และการจ่ายเงินกันเกิดขึ้น

ในหมายเหตุก็จะมีการเขียนรายละเอียดที่หากในอนาคตบริษัทมีการซื้อสินค้าดังกล่าวขึ้น และอาจต้องมีการกู้ยืมเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นก็จะสามารถรับทราบได้ผ่านหมายเหตุของภาระผูกพันหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นต้น

[ อย่าเพิ่งวางใจ รายงานผู้สอบบัญชี ]

ท้ายที่สุด คือ ‘รายงานของผู้สอบบัญชี’ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญพอสมควร เพราะหลังการปิดงบของบริษัทแล้ว ทางผู้ตรวจสอบบัญชีจะมีการลงความเห็นว่า งบการเงินของบริษัทมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน และมีจุดใดบ้างที่นักลงทุนควรระมัดระวัง 

ทางผู้สอบบัญชีจะมีการเขียนข้อความอธิบายไว้ให้นักลงทุนไปติดตามอ่าน หรือหากงบการเงินของบริษัทดูชอบมาพากล ผู้ตรวจสอบบัญชีก็อาจลงความเห็นในจุดที่นักลงทุนต้องไปติดตามไว้ให้

หรือในบางกรณี หากผู้สอบได้ลงความเห็นให้ระมัดระวังในจุดที่นักลงทุนไม่เข้าใจ นักลงทุนก็อาจชะลอการลงทุนในบริษัทนั้น และติดตามดูไปก่อนก็ได้เช่นกัน

ซึ่งหากนักลงทุนมีการติดตามงบดังกล่าวโดยละเอียด และมีการนำความเห็นของผู้สอบบัญชีไปติดตามต่อ ก็อาจสามารถช่วยลดความผิดพลาดในการลงทุน จากการทุจริตของบริษัทจดทะเบียนลงไปได้

แต่ท้ายที่สุดเมื่ออยู่ในโลกการลงทุนและการทำธุรกิจ ข้อผิดพลาดก็อาจจะไม่สามารถป้องกันไว้ได้ทั้งหมด แม้จะมีการศึกษาและพิจารณาความเสี่ยงมารอบด้านแล้ว เพราะหุ้นอย่าง STARK ก็สามารถเล็ดลอดด้วยกลเม็ดทางการเงินมาได้เช่นกัน 

ดังนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย นักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุนออกไปมากกว่าแค่การถือหุ้นเพียงตัวเดียว หรือการใช้เลเวอเรจปริมาณมากๆ ที่ในท้ายที่สุดแล้วการลงทุนด้วยวิธีดังกล่าวอาจทำให้พอร์ตแตกได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า