Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หากคุณกำลังตกอยู่ในภาวะ ‘หมดไฟ’ หรือ ‘Burnout’ ในการทำงาน เชื่อเถอะว่าคุณไม่ได้รู้สึกแบบนี้อยู่คนเดียว ด้วยรูปแบบการทำงานระยะไกลที่ทำให้หลายคนตกอยู่ในสภาพ ‘ทำงาน, กิน, นอน’ และวนลูปแบบเดิมซ้ำๆ เป็นวัฏจักร

ภาวะเบื่อหน่ายและหมดไฟ จึงอาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และใครๆ ก็สามารถประสบพบเจออาการนี้ได้เช่นกัน

Greg McKeown ผู้เขียนหนังสือ Effortless: Make It Easier to Do What Matters Most กล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันเรียกได้ว่ามีคนอยู่ 2 ประเภท คือ คนที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟ และคนที่รู้ว่าตัวเองตกอยู่ในภาวะหมดไฟ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ บางคนหมดไฟแต่ไม่รู้ตัวว่ากำลังตกอยู่ในภาวะนั้น

“มันคงจะดีหากเราเป็นคนประเภทที่ 2 แต่งานวิจัยชี้ว่ายิ่งเราหมดไฟมากขึ้น เราก็ยิ่งไม่ระวังและตระหนักถึงมันน้อยลง เนื่องจากธรรมชาติของภาวะหมดไฟ คือการที่มันมาบดบังการตัดสินใจ, ความชัดเจนในความรู้สึก รวมไปถึงการตระหนักรู้ในตัวเองด้วย” McKeown กล่าว

และที่แย่ก็คือ ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด บางคนติดอยู่ในลูปชีวิตเดิมๆ มาเป็นเวลา 16 เดือนแล้ว จนกลายเป็นวาระสำคัญของหลายองค์กรอยู่ในขณะนี้

Rhiannon Staples ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดด้านการบริหารคนแห่งแพลตฟอร์ม Hibob กล่าวว่า สถานการณ์โควิดที่ยังไม่คลี่คลาย ได้ส่งผลให้พนักงานมีความเครียดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลกระทบต่อชีวิตพวกเขามากกว่าที่เคยเป็นมา

“แต่ก็โชคดีที่เราได้เห็นว่าบริษัทจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญกับความสุขและสุขภาพจิตของพนักงาน จนกลายมาเป็นวาระสำคัญวาระหนึ่งของผู้บริหารเลยก็ว่าได้” Staples กล่าว

แล้วจะทำอย่างไร หากเราตกอยู่ในสภาพหมดไฟในการทำงาน

อาจเริ่มจากบอกเจ้านายหรือคนอื่นๆ

คุณอาจจะคิดว่าเจ้านายหรือหัวหน้าของคุณ รู้สึกได้เองว่าคุณอยู่ในสภาวะหมดไฟ แต่ขอบอกเลยว่ามันไม่ได้เป็นแบบนั้น

เจ้านายหรือหัวหน้าอาจไม่รู้ว่าตอนนี้คุณกำลังรู้สึกอย่างไร ดังนั้น การพูดออกไปจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยในการสนทนากับหัวหน้า สิ่งจำเป็นคือการพูดคุยด้วยข้อมูลอินไซต์จริงๆ ความรู้สึกของคุณจริงๆ เพื่อให้หัวหน้าหาทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยเหลือคุณ

เพราะแต่ละคนก็มีความต้องการแตกต่างกันออกไป และสิ่งที่คุณต้องการ ก็อาจจะแตกต่างจากเพื่อนร่วมงานของคุณก็ได้

ตัวอย่างคือ คุณอาจต้องการขอบเขตเวลาการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น ขณะที่บางคนอาจต้องการเวลางานที่ยืดหยุ่นมากกว่าเดิม เพราะระหว่างทำงานที่บ้านก็ต้องดูแลลูกหรือผู้สูงอายุไปด้วย

หรือบางคนอาจต้องการเวลาไปทำอะไรสักอย่างหรือเดินทางท่องเที่ยว ส่วนบางคนอาจต้องการทำงานจากข้างนอกต่อแบบเต็มเวลา เมื่อออฟฟิศเปิดให้กลับไปทำงานอีกครั้งก็ได้

“การถามถึงสถานการณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และก็เป็นเรื่องโอเคที่จะพูดคุยถึงสิ่งที่จำเป็นต้องทำในวันนี้ รวมถึงสิ่งที่ต้องทำในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า” Staples กล่าว

แล้วถ้าคุณเป็นหัวหน้าหรือเจ้านาย จะต้องทำอย่างไร

ตามหลักการแล้ว หัวหน้าควรเป็นคนเริ่มบทสนทนา เพราะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้

“ถามพนักงานดูว่าพวกเขารู้สึกหมดไฟหรือเปล่า แต่อย่าปล่อยให้พวกเขาจมอยู่กับภาวะนั้น ทางที่ดีคือการชี้นำให้เห็นว่าคุณกำลังหาทางแก้ปัญหาอยู่” McKeown กล่าว

ขณะที่ Staples แนะนำให้ถามพนักงานว่าคุณจะสามารถซัพพอร์ตพวกเขาได้อย่างไรบ้าง เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าหัวหน้าก็ไม่ใช่นักอ่านใจ และอาจไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้วพนักงานต้องการอะไร

“เป็นเรื่องแฟร์ๆ เลยที่หัวหน้าจะพูดว่า ‘ฉันต้องการช่วยคุณนะ ฉันให้ความยืดหยุ่นเท่าที่จะให้ได้ เพื่อทำแบบที่คุณต้องการ แต่จะช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด คุณก็อาจต้องบอกให้ฉันเข้าใจว่าอะไรที่คุณต้องการเป็นพิเศษ’”

นอกจากนี้ การให้ทีมของคุณมีพื้นที่หายใจก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยบางบริษัทก็จัดหาคอร์สหรือสัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับวิธีการจัดการเวลา หรือวิธีฝึกสมาธิ

ไม่ใช่พูดคุยแล้วจบ แต่ต้องแก้ปัญหาด้วย

คนที่ประสบความสำเร็จมากเกินไปมักคิดว่าตนเองสามารถแก้ปัญหา Burnout ได้ด้วยการเอาชนะมัน แต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งก็คือ พอเราใกล้เข้าสู่ภาวะหมดไฟ เราจะทำสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราหมดไฟมากกว่าเดิม

ดังนั้น หลังจากพูดคุยกับหัวหน้าเพื่อทำความเข้าใจและขอการซัพพอร์ตแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำก็คือ ทำตามวิธีการแก้ปัญหานั่นเอง

เช่น หากคุณต้องการแยกระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตที่บ้านอย่างชัดเจน คุณก็จะต้องกำหนดขอบเขตของมันขึ้นมาให้ชัดขึ้น

ทั้งนี้ เพราะก่อนจะเกิดการระบาด หลายคนมีขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างที่บ้านและที่ทำงาน เพราะอาคารออฟฟิศและบ้านคือคนละสถานที่กัน และการเดินทางก็เป็นสิ่งที่ช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่ชีวิตคนละแบบ แต่ปัจจุบันทั้ง 2 สถานที่กลายเป็นที่เดียวกันไปแล้ว

คำแนะนำง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ อาจใช้วิธีเขียนลิสต์ ‘สิ่งที่ทำเสร็จแล้วในวันนี้’ แทนที่จะเขียนลิสต์ ‘สิ่งที่ต้องทำในวันนี้’ เพราะมันอาจทำให้คุณเขียนสิ่งที่ต้องทำอย่างไม่มีข้อสิ้นสุด แต่การเขียนในสิ่งที่คุณทำเสร็จไปแล้ว จะช่วยให้รู้สึกดีได้มากกว่า เพราะพอจดลิสต์เสร็จ ก็เหมือนกับว่าวันนี้คุณทำสำเร็จแล้ว

อีกหนึ่งวิธีที่จะหลีกเลี่ยงจากภาวะหมดไฟก็คือ การกำหนดเวลาเลิกงานที่แน่นอน แต่สิ่งที่ต้องทำให้ได้คือการรับผิดชอบงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ไม่อย่างนั้นคุณอาจรู้สึกแย่กับตัวเองได้

นอกจากนี้ การหาวิธีการผ่อนคลายให้ตัวเองยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ เพราะบางครั้ง คนที่มุ่งมั่นที่จะประสบความเร็จหลายคนไม่รู้วิธีการผ่อนคลายให้กับตัวเอง อย่างเช่นบางคนมาผ่อนคลายด้วยการฟังเพลง แต่กลับรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ อึดอัด และอยากกลับไปนั่งตอบอีเมล์ทำงานแทน ซึ่งอาจทำให้เข้าสู่ภาวะหมดไฟในภายหลัง

การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย หรือหาความรีแล็กซ์ให้ตัวเอง จึงถือเป็นการสร้างความสุขอย่างหนึ่ง ซึ่งหลายๆ กิจกรรมก็เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เช่น การแช่อ่างอาบน้ำด้วยสบู่กลิ่นลาเวนเดอร์, อ่านนิยาย, จิบชาสมุนไพร, ทำสมาธิสัก 10 นาที, เต้น 3 นาที, งีบสัก 15 นาที หรือปลูกต้นไม้ เป็นต้น

McKeown กล่าวอีกว่า สิ่งที่ต้องรู้อย่างหนึ่งคือ เราทุกคนต่างเคยหมดไฟ ดังนั้น สิ่งแรกคือคุณต้องอนุญาตให้ตัวเองยอมรับก่อนว่าอยู่ในภาวะนี้ จากนั้นก็ทำตอนขั้นตอนเพื่อจัดการกับภาวะนี้ ซึ่งผู้จัดการ เจ้านาย หรือหัวหน้า มีหน้าที่ที่จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาสนทนา

จากนั้น สิ่งที่ต้องทำต่อก็คือการจัดการตามสภาพปัญหาของแต่ละคน ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปก็ได้ และเมื่อทำสิ่งที่สำคัญที่สุดไปแล้ว การหลุดพ้นจากภาวะหมดไฟก็อาจไม่ใช่เรื่องยาก

และท้ายที่สุดก็นำมาสู่ผลลัพธ์คือการกลับมามีพลังในชีวิต พร้อมที่จะทำงานอย่างมีไฟอีกครั้งนั่นเอง

ที่มา https://www.fastcompany.com/90643391/how-to-tell-your-boss-youre-feeling-burned-out

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า