Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สหราชอาณาจักรถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เคยประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศไม่ต่างจากประเทศไทย การสำรวจในปี 2017 พบว่า “ทุกพื้นที่” ในกรุงลอนดอน มีค่า PM2.5 เกินระดับที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำ และชาวลอนดอนกว่า 95% ก็ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ค่า PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานไปถึง 50%

แต่เพียงปีเดียวหลังจากนั้น กรุงลอนดอนกลับสามารถทำสถิติมีอากาศสะอาดที่สุดในรอบ 10 ปีได้

การพลิกกลับจากเมืองที่ประชากรทุกคนต้องทนสูดอากาศพิษ ไปสู่การเป็นเมืองหนึ่งที่อากาศสะอาดที่สุดในโลก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือเกิดขึ้นโดยไร้การวางแผน แต่เกิดขึ้นได้จากนโยบายที่ถูกคิดอย่างรอบด้าน มีมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวควบคู่กันไป รวมถึงทั้งมุ่งกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้นแล้วและป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างมลพิษใหม่ขึ้นไปพร้อมกัน

ตั้งเป้าหมาย สู่อนาคตที่สะอาด

การตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ทะเยอทะยาน ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งของสหราชอาณาจักร เพื่อนำประเทศไปสู่เป้าหมายการเป็น “ผู้ปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์” (net zero emission) ประเทศแรกของโลกให้ได้จริง

โดยปัจจุบัน สหราชอาณาจักรกำหนดให้ค่าเฉลี่ย 1 ปีของ PM2.5 ต้องอยู่ที่ไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ในขณะที่ไทยกำหนดไว้สูงกว่าที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) แต่นอกเหนือจากมาตรฐานเรื่อง PM2.5 ที่กำหนดไว้เข้มงวดกว่าไทยแล้ว สหราชอาณาจักรยังตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานกว่านั้น โดยหวังจะลดจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตที่ PM2.5 เกิน 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ลงให้ได้อย่างน้อย 50% ภายในปี 2025 (เทียบกับปี 2016) ด้วย

สำหรับเรื่องมลพิษจากยานพาหานะ สหราชอาณาจักรได้วางแผนมาตั้งแต่ปี 2018 ที่จะทำให้ถนนทั่วประเทศปลอดมลพิษภายใต้โครงการ “Road to Zero” โดยตั้งเป้าที่จะสร้างให้สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแถวหน้าของโลกในการออกแบบและผลิตยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (zero emission vehicles) ด้วยการตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2040 รถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะต้องไม่มีขายในสหราชอาณาจักรอีก อีกทั้งรถยนต์ใหม่ที่ขายตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไปทุกคันจะต้องปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และภายในปี 2050 สหราชอาณาจักรยังได้ตั้งเป้าว่ารถเกือบทุกคันบนท้องถนนจะต้องปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ด้วย

สหราชอาณาจักรไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะกับมลพิษจากรถยนต์เท่านั้น แต่รถไฟ (train) ทุกคันที่ใช้น้ำมันดีเซล ก็มีการตั้งเป้าหมายว่าจะต้องหมดไปจากสหราชอาณาจักรภายในปี 2040 ด้วย

และส่วนสุดท้ายคือล้อและผ้าเบรกรถยนต์ ที่จากการวิจัยพบว่ามีส่วนทำให้เกิด PM2.5 ไม่น้อย ก็ได้มีการสร้างมาตรฐานการผลิตใหม่ขึ้นมาแล้ว เพื่อให้ยางและระบบเบรกรถยนต์ในอนาคตไม่ทำให้เกิด PM2.5 มากเหมือนในปัจจุบัน

ปรับปรุงรถบัสและรถเมล์ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากการลดมลพิษที่เกิดจากรถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว สหราชอาณาจักรยังให้ความสำคัญกับการลดมลพิษที่เกิดจากรถขนส่งสาธารณะด้วย โดยเฉพาะรถบัสและรถเมล์

นับเฉพาะช่วงปี 2017-2018 สหราชอาณาจักรลงทุนงบประมาณกว่า 119 ล้านปอนด์ (ประมาณ 4,700 ล้านบาท) เพื่อจัดซื้อรถบัสที่สร้างมลพิษต่ำ (low emission vehicles) มาให้บริการ

นอกจากนี้ ยังได้มีการประกาศว่าจะใช้งบประมาณอย่างน้อย 127 ล้านปอนด์ (ประมาณ 5,000 ล้านบาท) ภายในปี 2021 ในการปรับปรุงรถเมล์ที่มีอยู่เดิม ให้ปล่อยมลพิษน้อยลงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย

เก็บค่าธรรมเนียมการสร้างมลพิษ

หนึ่งในมาตรการที่ได้ผลที่สุดในการลดมลพิษในเขตใจกลางกรุงลอนดอนก็คือ การเก็บค่าธรรมเนียมมลพิษจากยานยนต์ ค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้เก็บเฉพาะกับยานยนต์ที่วิ่งเข้าไปในเขตใจกลางกรุงลอนดอน (central London) เท่านั้น โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ค่าธรรมเนียมการก่อสร้างมลพิษที่เก็บกับยานยนต์ทุกคน และ 2. ค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มที่เก็บเฉพาะกับยานยนต์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและสร้างมลพิษมากเป็นพิเศษ

สำหรับค่าธรรมเนียมประเภทที่ 1 ที่เรียกว่า congestion charge นั้น จะเก็บกับยานยนต์ทุกประเภททุกคัน ที่ขับเข้าไปในเขตใจกลางกรุงลอนดอน (central London) โดยจะเก็บเท่ากันหมดที่ 11.50 ปอนด์/คัน/วัน (ประมาณ 450 บาท) ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะเก็บเฉพาะในช่วงชั่วโมงทำงาน จันทร์-ศุกร์ เวลา 7.00-18.00 น. นั่นแปลว่าถ้าขับรถเข้าไปในเขต central London ช่วงหลัง 6 โมงเย็น หรือขับเข้าไปในวันเสาร์-อาทิตย์ ก็จะไม่เสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้

ส่วนค่าธรรมเนียมประเภทที่ 2 จะเก็บเฉพาะจากยานยนต์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและสร้างมลพิษมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปแล้วจะเก็บค่าธรรมเนียม 12.50 ปอนด์/คัน/วัน (ประมาณ 490 บาท) สำหรับยานยนต์ที่มีคุณสมบัติไม่ผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่กำหนด เช่น หากเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ก็คือรถเบนซินที่ไม่ผ่านมาตรฐานยูโร 4 และรถยนต์ดีเซลที่ไม่ผ่านมาตรฐานยูโร 6, หากเป็นรถมอเตอร์ไซค์ก็คือรถที่ไม่ผ่านมาตรฐานยูโร 3 เป็นต้น ยานยนต์กลุ่มนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 12.50 ปอนด์/วัน หากขับเข้าไปในเขต central London

และหากเป็นยานยนต์ขนาดใหญ่เช่นรถตู้หรือรถบัส ก็อาจต้องเสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้สูงถึง 100-200 ปอนด์/คัน/วัน (ประมาณ 3,950-7,900 บาท) เช่น หากเป็นรถตู้ดีเซลที่ไม่ผ่านมาตรฐานยูโร 3 จะต้องเสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้ 100 ปอนด์/วัน หรือหากเป็นรถเมล์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานยูโร 4 ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้เพิ่มเป็น 200 ปอนด์/วัน

ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมที่เก็บกับยานยนต์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมนี้ จะบังคับเก็บตลอดวันและทุกช่วงเวลา ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะช่วงเวลาทำงานแบบค่าธรรมเนียมประเภทที่ 1 ที่เรียกว่า congestion charge

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า