Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ฝั่งดูแลลูกค้าองค์กรและหน่วยงานภาครัฐ ร่วมหารือเพื่อนำแนวทางมาพัฒนาบุคลากรไอซีที กับหน่วยงานภาครัฐและการศึกษาหลายหน่วยงานตั้งแต่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันอุดมศึกษาและบรรดาพันธมิตรจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศ 

โดยประเด็นหลักๆ ที่มีการหารือร่วมกันคือ ไทยจะก้าวพ้นวิกฤตขาดแคลนแรงงานดิจิทัลในอนาคตได้อย่างไร

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล  รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ไทยจะเผชิญกับการขาดแคลนบุคลากรดิจิทัลถึงกว่า 500,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยเฉพาะบุคลากรที่มีทักษะด้าน 5G, IoT, และคลาวด์ ในระดับ 3 (ระดับกลาง) และในระดับ 4 (ระดับสูง) 

จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องเร่งพัฒนาทักษะและเสริมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพและมีทักษะที่จำเป็น ให้เพียงพอ ต่อความต้องการในภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต 

ฝั่ง หัวเว่ย ก็ระบุว่า ที่ผ่านมา ทำโครงการบ่มเพาะ อบรมมาสม่ำเสมอ โดยมี หัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี (Huawei ASEAN Academy) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 นั้นได้ฝึกอบรมบุคลากรไอซีทีไปแล้วกว่า 60,000 คน และธุรกิจ SMEs ไปแล้ว 2,600 ราย ล่าสุดต่อยอดโครงการร่วมมือกับรัฐบาลไทยเพิ่มเติม จัดเป็นโครงการการแข่งขัน ‘ICT Competition 2022’ นำนักศึกษามหาวิทยาลัยกว่า 200 คนมาร่วมแข่งทักษะดิจิทัล เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565 จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะจากการแข่งขันจะได้รับรางวัลรวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท  

“สำหรับด้านองค์ความรู้นั้น หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 37 แห่งของประเทศไทย โดยไทยเป็นประเทศแรกที่ดำเนินโครงการ Seeds for the Future อันถือเป็นโครงการเรือธงเพื่อสังคมของหัวเว่ย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีนักเรียนไทยที่มีความสามารถเข้าร่วมแล้วกว่า 220 คน และภายใต้อีโคซิสเต็มนี้ โครงการ ICT Competition โครงการเรือธงระดับโลกของหัวเว่ยที่ได้เปิดตัวไปเมื่อปี พ.ศ. 2558 ได้สร้างประโยชน์ให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยไปแล้วกว่า 1,000 คน และในปีนี้ เราตั้งเป้าที่จะเสริมสร้างความรู้ด้านไอซีทีที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ให้แก่เยาวชนที่มีความรู้ความสามารถอีกกว่า 200 คน ตอกย้ำพันธกิจของหัวเว่ยที่ว่า เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการ ฝ่ายเครือข่ายธุรกิจผู้ให้บริการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

นอกจากนี้หัวเว่ยยังร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยแพร่สมุดปกขาว “การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทย” ระบุความท้าทายหลัก 11 ด้าน และข้อแนะนำด้านนโยบาย 5 ประการคือ
1) การจัดทำนโยบาย การปรับมาตรฐาน และการติดตามการดำเนินการ 2) การพัฒนาทักษะ 3) การสร้างอาชีพและการหางานเพื่อรองรับบุคลากร 4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 5) การระดมทุนและสนับสนุนเงินทุน

ในสมุดปกขาว มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล อันเกิดจากการเร่งขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลแบบก้าวกระโดด ซึ่งเมื่อเทียบสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยภายในปี พ.ศ. 2570 จะมีอัตราการเติบโตของจีดีพีถึง 30%

ทั้งนี้ หัวเว่ยตั้งเป้าที่จะฝึกอบรมบุคลากรดิจิทัลสัญชาติไทยเพิ่มขึ้นอีกกว่า 10,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2566 ผ่านโครงการบ่มเพาะ อะคาเดมีและความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า