SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อวานนี้ (19 ธ.ค.) ในงาน Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023 พูดคุยถึงการพัฒนาเทคโนโลยี AI พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย  

ซึ่งภายในงานครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์และกระทรวงดิจิทัล ยังได้ทำสัญญา MOU เพื่อการพัฒนาทางดิจิทัล พร้อมเป้าหมายในการสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มด้านคลาวด์และ AI พร้อมการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถให้กับประเทศไทย ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้าน AI ของภูมิภาค ผ่านการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

โดย ‘ประเสริฐ จันทรรวงทอง’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยว่า “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมุ่งขับเคลื่อนนโยบาย คลาวด์-เฟิร์ส (Cloud-First policy) ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตรูปแบบใหม่ของไทย โดยที่คลาวด์และ AI จะเป็นอนาคตของประเทศไทย 

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและหัวเว่ยนี้ จะช่วยส่งเสริมประเทศไทยสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเทคโนโลยี AI ของภูมิภาค กระทรวงดิจิทัลมุ่งมั่นสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มกำลังในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พร้อมการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ และการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนไทย”  

[ ขับเคลื่อนประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลาง AI อาเซียน ]

AI เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีระดับโลกและการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรม โดยมีผลกระทบในเชิงลึกต่อสังคมมนุษย์และการปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรม จึงทำให้ประเทศไทยตระหนักถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงนี้และมุ่งมั่นยกระดับความสามารถในการแข่งขันระดับโลก 

โดยการเสริมสร้างความสามารถด้าน AI และเป็นศูนย์กลาง AI ในภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ ผ่านพันธกิจ “ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย” (In Thailand, for Thailand)

ขณะที่ ‘เดวิด หลี่’ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล หัวเว่ย คลาวด์ จึงยังคงมุ่งลงทุนในการสร้างอีโคซิสเต็มคลาวด์และเสริมประสิทธิภาพในประเทศ หัวเว่ย คลาวด์ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลของไทยผ่านเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมต่างๆ ส่งเสริมความก้าวหน้าทางดิจิทัลของประเทศ”

[ โซลูชันและโมเดล AI ของ หัวเว่ย คลาวด์ ] 

หัวเว่ย คลาวด์ ได้นำเสนอโซลูชันและโมเดล AI สำหรับประเทศไทย ซึ่งรวมถึงโมเดลสำหรับภาษาไทย สภาพอากาศ และรัฐบาล รวมถึงโซลูชัน AI สำหรับภาคการเงินและภาคค้าปลีก

สำหรับโมเดลภาษาไทยนั้น ผ่านการฝึกฝนด้วยคลังข้อมูลของ AI ในภาษาไทย โดยการเรียนรู้ข้อมูลภาษาไทยจำนวนมาก ในด้านอุตุนิยมวิทยา หัวเว่ย คลาวด์ ได้ร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย พัฒนาโมเดลพยากรณ์อากาศ ผานกู่ (Pangu) เพื่อเพิ่มความเร็วในการพยากรณ์มีหลายระดับและรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า