Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แชร์ลูกโซ่แม่มณี ไม่ใช่คดีแรกที่ใช้ความโลภหลอกลวงประชาชนจนสร้างความเสียหายในวงกว้าง ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน เกิดคดีดังและอาจเรียกได้ว่าเป็นต้นตำรับ อย่างคดี ‘แชร์แม่ชม้อย’ ที่หลอกระดมทุนจากประชาชนไปได้มากกว่า 4,500 ล้านบาท ซึ่งสุดท้ายจบลงด้วย ‘แม่ชม้อย’ พร้อมพวกถูกจับ และถูกศาลพิพากษาจำคุกนานถึง 154,005 ปี (แต่ติดคุกจริงๆ แค่ 7 ปี 11 เดือน)

ทีมข่าว Workpoint News จะขอพาคุณย้อนอดีตไปดูคดี ‘แชร์แม่ชม้อย’ แบบสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ใน 16 ข้อ

1. แม่ชม้อย หรือ นางชม้อย ทิพย์โส เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2483 เริ่มต้นทำงานในตำแหน่งเสมียนธุรการที่องค์การน้ำมันเชื้อเพลิง และทำงานในตำแหน่งสุดท้ายคือพนักงานแผนกบริการทั่วไป

2. หลังจากที่ลาออกจากองค์การน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว นางชม้อยได้กุเรื่องจัดตั้งบริษัทเกี่ยวกับน้ำมันปิโตรเลียมฯ ชื่อว่า บริษัท ปิโตเลียม แอนด์ มารีน เซอร์วิส จำกัด โดยอ้างว่าเป็นบริษัทที่จะทำการค้าเกี่ยวกับน้ำมันทุกชนิด มีเรือเดินทะเลสำหรับขนส่งน้ำมันทั้งในและนอกประเทศ เพื่อชักชวนคนมาร่วมลงทุนเล่น ‘แชร์น้ำมัน’ ซึ่งบริษัทดังกล่าวไม่มีอยู่จริง

3. นางชม้อยได้ตั้งเงื่อนไขการลงทุนว่า ผู้ร่วมแชร์ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำมัน 1 คันรถบรรทุก จำนวน 160,800 บาท แล้วจะได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย 6.5% ต่อเดือน หรือประมาณ 10,452 บาท ลงทุนแค่ 1 ปีกว่าๆ ก็ได้ทุนคืนแล้ว แถมยังการันตีด้วยการจ่ายดอกตรงเวลา มีสัญญากู้ยืม และถ้าใครอยากถอนเงินต้นคืนเมื่อไหร่ก็ทำได้ตลอดเวลา

4. ด้วยผลตอบแทนที่สูงและมีการการันตีต่างๆ นานา ทำให้นักธุรกิจ ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า รวมถึงประชาชนทั่วไป นำเงินมาร่วมลงทุนเพราะอยากได้ผลกำไรสูงๆ การลงทุนแชร์น้ำมันนี้กลายเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง และเรียกกันว่า ‘แชร์แม่ชม้อย’

5. ส่วนวิธีการจ่ายดอกเบี้ยนั้น นางชม้อยจะนำเงินจากการลงทุนของผู้เข้าร่วมรายใหม่ หมุนเวียนมาจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้เข้าร่วมรายเก่า ยิ่งมีผู้มาลงทุนใหม่เรื่อยๆ ก็จะมีเงินหมุนเวียนไปจ่ายดอกเบี้ยได้ต่อไป

6. ต่อมาแม่ชม้อยได้เปิดแชร์วงเล็กเพิ่มอีก เพื่อให้เข้าถึงชนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อย โดยเรียกกันว่า ‘แชร์ล้อรถ’ คือให้คนมาลงทุนซื้อล้อรถบรรทุกน้ำมัน ล้อละ 40,000 บาท โดยจะได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย 6.5% ต่อเดือนเช่นกัน หรือเดือนละ 2,600 บาท เพียงแค่ 15 เดือนก็สามารถคืนทุนได้แล้ว ยิ่งทำให้มีประชาชนหลงเชื่อและเข้ามาลงทุนแชร์แม่ชม้อยเป็นจำนวนมาก

7. แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีตัวแทนลูกแชร์แม่ชม้อยได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่ถูกแม่ชม้อยเบี้ยวเงินจำนวน 2,929 ราย ไปแจ้งความ และเริ่มมีจำนวนผู้เสียหายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

8. เจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าบทบัญญัติความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาอาจไม่สามารถเอาผิดกับแม่ชม้อยได้ เพราะแม่ชม้อยอ้างว่าการลงทุนแชร์น้ำมันนี้มีการออกสัญญากู้ยืมให้ โดยสัญญาดังกล่าวได้ตกลงจะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้กู้ยืม ซึ่งก็ไม่ได้กระทำผิดสัญญาเพราะจ่ายดอกเบี้ยตรงเวลาตลอ

9. แต่รัฐบาลเห็นว่า การลงทุนแชร์น้ำมันแบบนี้เป็นภัยร้ายแรงต่อประชาชนเพราะเป็นการหลอกลวง และเป็นภัยต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน โดยมีผลใช้บังคับวันที่ 13 พฤศจิกายน 2527

10. ในระหว่างนั้นแม่ชม้อยก็ยังไม่ได้หยุดการรับเงินแชร์ และอ้างกับผู้ที่จะเข้าร่วมว่าไม่ได้ผิดกฎหมายและมีผู้ใหญ่ในการสนับสนุน จึงยังมีผู้เข้าร่วมวงแชร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนราวๆ เดือน ก.พ.-มี.ค. 2528 แม่ชม้อยเริ่มไม่จ่ายดอกเบี้ยตามสัญญา

11. วันที่ 26 มิ.ย. 2528 ผู้เสียหายจึงรวมตัวกันไปแจ้งความ ไม่ถึง 1 เดือนต่อมา กองปราบฯ สามารถจับแม่ชม้อยพร้อมพวกอีก 9 คน ได้ในวันที่ 18 ก.ค. 2528 จากนั้นจึงได้แต่งตั้งพนักงานสอบสวนขึ้นประมาณ 100 คน เพื่อทำการสอบสวนผู้เสียหายจำนวน 16,231 คน ซึ่งที่ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ไว้

12. คิดเป็นมูลค่าความเสียรวมกว่า 4,500 ล้านบาท แบ่งเป็น
1) ผู้เสียหายก่อนที่จะมีพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ มีผู้เสียหาย 13,248 คน รวมเป็นเงิน 4,043,997,795 บาท
2) ผู้เสียหายหลังที่จะมีพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ มีผู้เสียหายจำนวน 2,983 คน รวมเป็นเงิน 510,584,645 บาท

13. วันที่ 3 ก.ย. 2528 กองปราบฯ นำสำนวนการสอบสวนแม่ชม้อย 71,521 แผ่น ไปมอบให้พนักงานอัยการเตรียมส่งฟ้องศาล คดีนี้ใช้เวลาสืบพยานในศาลนานถึง 4 ปี จนศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อ 27 ก.ค. 2532

14. ศาลพิพากษาให้นางชม้อยและพวกรวม 10 คน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา ให้จำคุกเป็นเวลา 117,595 ปี (รวม 23,519 กระทง) และฐานฉ้อโกงประชาชนตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 อีก 36,410 ปี (กระทงละ 10 ปี รวม 3,641 กระทง) รวมจำคุก คนละ 154,005 ปี

15. แต่ด้วยประมวลกฎหมายอาญาให้จำคุกได้ไม่เกิน 20 ปี ศาลจึงตัดสินให้แม่ชม้อยและพวกจำคุกคนละ 20 ปี แต่แม่ชม้อยจำคุกจริงเพียง 7 ปี 11 เดือน 5 วันเท่านั้น เพราะเป็นนักโทษชั้นดี และได้รับอภัยโทษถึง 2 ครั้ง ออกจากเรือนจำมาในวันที่ 27 พ.ย. 2536

16. นอกจากโทษจำคุก ศาลยังสั่งให้แม่ชม้อยพร้อมพวกคืนเงินผู้เสียหาย รวมจำนวน 4,043,997,795 บาท แก่ผู้เสียหายแต่ละคนตามบัญชีท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ ร่วมกันคืนเงินกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน รวมจำนวน 510,584,645 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ฟ้องจนกว่าจะคืนเงินครบคดี

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า