SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากเปิดตัวมาเป็นบริษัทเทคโนโลยีแรกๆ ที่สนใจพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปที่ใช้พลังแม่เหล็กไฟฟ้าผลักตู้โดยสารให้ลอยในอุโมงค์สุญญากาศด้วยความเร็วสูง มี ‘อีลอน มัสก์’ เป็นคนจุดประกายให้กับโลก (ส่วน อีลอน ไปตั้งบริษัทพัฒนาไฮเปอร์ลูป ชื่อ The Boring Company)

บริษัท Hyperloop One จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบขนส่งที่ทันสมัยที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามบริษัทนี้ที่ดั้งเดิมมีมหาเศรษฐี ‘ริชาร์ด แบรนสัน’ แห่ง Virgin เป็นโต้โผกำลังจะปิดตัวลงในสิ้นปีนี้ โดยบริษัทได้ประกาศขายสินทรัพย์ และเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า บริษัท Hyperloop One ที่ตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส กำลังจะปิดตัวลง หลังจากไม่สามารถชนะงานสัญญาสร้าง Hyperloop จากหน่วยงานใดได้

โดยขณะนี้บริษัทได้ทยอยเลิกจ้างพนักงานส่วนใหญ่แล้ว และการจ้างงานพนักงานที่เหลือจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ ขณะเดียวกันก็กำลังพยายามขายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ด้วยเช่นกัน

Hyperloop One ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 และระดมทุนได้มากกว่า 400 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เงินทุนมาจาก DP World บริษัทขนส่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และมหาเศรษฐีชาวอังกฤษริชาร์ด แบรนสัน

โดยมีความพยายามพัฒนาไฮเปอร์ลูป ที่ตั้งเป้าว่าการเดินทางระหว่างนิวยอร์กและวอชิงตันจะใช้เวลาเพียง 30 นาที ซึ่งเร็วกว่าการบินด้วยเครื่องบินเจ็ตเชิงพาณิชย์ถึง 2 เท่า และเร็วกว่ารถไฟความเร็วสูงถึง 4 เท่า

บริษัทได้สร้างสนามทดสอบเล็กๆ ใกล้ลาสเวกัสเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่ง และได้ใช้ชื่อ Virgin Hyperloop One ระยะหนึ่ง ต่อมา Virgin ได้ถอดแบรนด์ออก หลังจากที่ Hyperloop One ตัดสินใจว่าจะมุ่งเน้นไปที่การขนส่งสินค้ามากกว่าผู้คน

ทาง Hyperloop One ยังไม่มีแถลงการณ์หรือแสดงความเห็นใดต่อเรื่องนี้
แต่มีรายงานว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่เหลืออยู่จะถูกโอนไปยัง DP World

หากจำกันได้เทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป ถูกจุดประกายจาก อีลอน มัสก์ ที่เปิดเผยทฤษฎีนี้ในปี 2013 มองว่าไฮเปอร์ลูปคือพาหนะแห่งอนาคต โดยจะมีความเร็วอยู่ที่ 1,200 กิโลเมตร/ ชั่วโมง เป็นยานพาหนะเคลื่อนที่ในอุโมงค์สูญญากาศด้วยแรงขับแม่เหล็กไฟฟ้า และยังไฟเขียวให้บริษัทอื่นๆ นำแนวคิดไปต่อยอดได้ จากนั้นบริษัท Virgin Hyperloop One ของริชาร์ด แบรนสัน ได้นำแนวคิดของเขาไปพัฒนาต่อ ส่วนอีลอน มัสก์ ก็ตั้งบริษัท The Boring Company เพื่อพัฒนาไฮเปอร์ลูปด้วย รวมทั้งยังมีบริษัทอื่นอีก คือ Hyperloop Transportation Technology ก็พัฒนาเรื่องนี้เช่นกัน

มีช่วงหนึ่งกระแสไฮเปอร์ลูปถูกพูดถึงอย่างมากในประเทศไทย ช่วงที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สมัยยังเป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวหัวข้อ ไฮเปอร์ลูป : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย โดยเขาเดินทางไปศึกษาดูงานที่สถานที่จริงกับบริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมไฮเปอร์ลูป 3 แห่ง ซึ่งธนาธร ยังได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ‘Hyperloop อนาคตใหม่ของระบบขนส่งมวลชนไทย ที่ไปไกลกว่ารถไฟความเร็วสูง’ และเล่าว่า ได้คุยกับ ผอ.ฝ่ายวิศวกรรมของ Virgin Hyperloop One เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างรถไฟไฮเปอร์ลูปในไทย

ในงานแถลงข่าว ธนาธร ระบุว่า ไฮเปอร์ลูปมีความคุ้มค่ามากกว่ารถไฟความเร็วสูง ช่วยสร้างงานให้กับคนไทยถึง 180,000 กว่าตำแหน่ง โดยยังมีโอกาสในการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ และพัฒนาทักษะในประเทศ และประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอ ในการทำไฮเปอร์ลูปเส้นทางเหนือสู่ใต้ คือเชียงใหม่ กรุงเทพ และภูเก็ต และสามารถก้าวเข้าไปร่วมพัฒนากับประเทศที่ครอบครองเทคโนโลยีอย่างสหรัฐอเมริกา และแคนาดาได้ หากเริ่มตั้งแต่ตอนนี้

อย่างไรก็ตามในช่วงนั้น ทฤษฎีของไฮเปอร์ลูปยังเป็นที่ถกเถียงอยู่มาก โดยเฉพาะประเด็นทำได้จริงแค่ไหนและคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานเพิ่มเติมว่า หลายปีมานี้ แม้ว่าจะไม่มีการสร้างไฮเปอร์ลูปขนาดใหญ่ขึ้นมาได้หลังจากพยายามมาหลายปี แต่แนวคิดนี้ยังคงสร้างเสน่ห์ดึงดูดให้กับผู้ประกอบการมาร่วมพัฒนา โดยบริษัทที่ยังคงมีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปยังมีหลายแห่ง และอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของการสร้างต้นแบบ นอกจากบริษัทของอีลอน มัสก์ แล้ว ก็ยังมี Hardt Hyperloop , Hyperloop Transportation Technologies และ Swisspod Technologies

ขณะที่ช่วงหลังดูเหมือน อีลอน มัสก์ ให้ความสนใจเรื่องไฮเปอร์ลูปน้อยลง เพราะบริเวณที่ก่อสร้างอุโมงค์รุ่นต้นแบบ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานใหญ่ของ SpaceX มีรายงานว่าถูกถอดออก ปรับเป็นลานจอดรถสำหรับพนักงานแทน

 

อ้างอิง

https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-12-21/hyperloop-one-to-shut-down-after-raising-millions-to-reinvent-transit?sref=LQZclhPm

https://www.theverge.com/2022/11/3/23438755/elon-musk-hyperloop-tunnel-spacex-remove-parking-lot

แถลงข่าวธนาธร ความเป็นไปได้ไฮเปอร์ลูปในอุตสาหกรรมไทย
https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=345689066060960

ภาพจาก https://www.virgin.com/branson-family/richard-branson-blog/introducing-virgin-hyperloop-one-worlds-most-revolutionary-train-service

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า