SHARE

คัดลอกแล้ว

การตัดสินใจปักหมุดจัด ‘The Eras Tour’ ที่สิงคโปร์ของ Taylor Swift นักร้องชื่อดังชาวอเมริกัน สร้างเม็ดเงินเข้าสิงคโปร์มากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ยอดการจองที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศเพิ่มขึ้น 275% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในสองสัปดาห์ต่อมา เที่ยวบินขาเข้าเพิ่มขึ้น 186% ยอดจองที่พักเพิ่มขึ้น 462% ในช่วงสัปดาห์ของคอนเสิร์ต และกระตุ้น GDP ของประเทศขยายตัวถึง 2.9% ในช่วงม.ค-มี.ค.67 ซึ่งเป็นอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา

ถ้าจะให้อธิบายว่า ‘Festival Economy’ คืออะไร ทำไมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศที่ทรงพลัง ตัวอย่างข้างต้นน่าจะทำให้เห็นภาพชัดเจนที่สุด

[ เศรษฐกิจที่สร้างจากเทศกาล ]

เมื่อกระแสโลกทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในเชิงไลฟ์สไตล์มากขึ้น ก่อให้เกิดเทศกาลรูปแบบใหม่ที่เจาะตามความสนใจเฉพาะกลุ่ม  เช่น เทศกาลดนตรี เทศกาลอาหาร เทศกาลศิลปะป๊อปอาร์ต เทศกาลภาพยนตร์อินดี้ ฯลฯ

ตามมาด้วยโอกาสมากมายในการแสดงศักยภาพของประเทศในการวางกลยุทธ์ เตรียมความพร้อม และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนร่วมกันเตรียมความพร้อมให้ประเทศเป็นหมุดหมายของการจัดกิจกรรมระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการจัดงานเทศกาล

ดูอย่างสิงคโปร์ แม้พลังของ ‘Swiftomics’ หรือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการทัวร์คอนเสิร์ตของ Taylor Swift จะดึงดูดเม็ดเงินมหาศาลเข้าประเทศ แต่การขับเคลื่อน Festival Economy จะไม่สำเร็จหากขาดการสนับสนุนและความร่วมมือของรัฐบาลและภาคเอกชนที่ร่วมกันวางแผนสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางของกาจัดเทศกาลและอีเวนท์อย่างเป็นระบบ

หน่วยงานภาครัฐอย่าง Singapore Tourism Board (STB) ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Trade and Industry) ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดงาน ฮอลล์คอนเสิร์ต สนามกีฬา หรือระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกและเชื่อมต่อถึงกัน อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตจัดงานหรือเปิดฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายระยะยาวที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและผลักดันให้สิงคโปร์เป็น Entertainment Hub ศูนย์กลางแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย

[ ปลุกทุกมิติเศรษฐกิจประเทศ ]

Yun Liu นักเศรษฐศาสตร์ของ HSBC กล่าวถึงผลกระทบเชิงบวกการทัวร์คอนเสิร์ต Taylor Swift ว่า “การจัดคอนเสิร์ตจากบริษัทระดับโลก ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของสิงคโปร์ในฐานะจุดหมายปลายด้านการท่องเที่ยว”

มากไปกว่าการเปลี่ยนภาพลักษณ์ประเทศ ‘เทศกาล’ ยังสร้างแรงกระเพื่อมต่อเนื่องไปสู่อุตสาหกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นแฟ้น ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวและการโรงแรม การเดินทางและการขนส่ง อาหารและเครื่องดื่ม

ดูอย่าง Coachella เทศกาลดนตรีที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นของแคลิฟอร์เนียนับหมื่นล้าน Coachella Valley Economic Partnership เผยว่า ปี 2022 เทศกาลดนตรีระดับโลกนี้อัดฉีดเม็ดเงินให้กับเศรษฐกิจราว 704 ล้านเหรียญหรือราว 2.4 หมื่นล้านบาท โดยสร้างเม็ดเงินในเมืองอินดิโอได้กว่า 106 ล้านเหรียญหรือราว 3.6 พันล้านบาท

อานิสงฆ์ของคลื่นมหาชนจากทุกมุมโลกที่ต้องการเข้าร่วมเทศกาลดนตรีระดับโลก ทำให้ความต้องการที่พักสูงขึ้น ร้านอาหารถูกจองเต็ม และทำให้จ้างงานในธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมเพิ่มขึ้นสูง อีกทั้งภายในก็มีการเปิดให้ร้านค้าของผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่นเข้ามาขายของสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น

หรือ ‘เทศกาลริโอ คาร์นิวัล’ (Rio Carnival) เทศกาลเฉลิมฉลองวัฒนธรรมของประเทศบราซิลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของเทศกาลที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นของประเทศบราซิลอย่างมหาศาล และยังสามารถเพิ่มการจ้างงานให้กับคนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานโรงแรม พ่อครัว ไกด์นำเที่ยว พ่อค้า-แม่ค้าขายของริมทาง รวมไปถึงนักดนตรีและนักแสดงโชว์

โดยปี 2023 เทศกาลคาร์นิวัลได้ดึงดูดคนจากทั้งในและต่างประเทศได้กว่า 40 ล้านคน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศได้สูงถึง 1.67 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ปี 2024 มีผู้ร่วมงานเพิ่มมากขึ้น 49 ล้านคน แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนแต่สมาพันธ์การค้าสินค้าบริการและการท่องเที่ยวแห่งชาติบราซิลคาดว่า เทศกาลนี้จะฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสําคัญ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวงานเทศกาลได้กว่า 1.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

[ เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แสวงหาประสบการณ์รูปแบบใหม่ ]

ประเด็นที่น่าสนใจคือแนวโน้มการท่องเที่ยวคนยุคใหม่จะเชื่อมโยงกับ ‘เทศกาล’ ทุกรูปแบบมากขึ้น รายงานแนวโน้มการท่องเที่ยวประจำปี 2024 ของ Skyscanner เผยว่า นักเดิยทางวางแผนทริปโดยมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ตนเองสนใจเป็นหลัก เช่น ทริปดูคอนเสิร์ต หรือเข้าร่วมเทศกาลประจำปีของประเทศที่สนใจ สอดคล้องไปกับผลสำรวจล่าสุดของ Agoda พบว่า นักเดินทาง84% วางแผนที่จะเดินทางไปจุดหมายปลายทางใหม่ ๆ ในปี 2025 ซึ่งแรงบันดาลใจในการออกไปท่องเที่ยวสถานที่ใหม่ๆ มากถึง 71% มาจากความสนใจส่วนตัวและงานอดิเรก

‘เทศกาล’ จึงอาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ดึงดูดนักเดินทางที่หลงใหลในวัฒนธรรมต่างถิ่นและชอบแสวงหาประสบการณ์รูปแบบใหม่ รวมถึงนักเดินทางคุณภาพที่มีกำลังซื้อสูงได้

อย่าง ‘เทศกาล Día de los Muertos’ หรือ วันแห่งความตาย ของเม็กซิโกที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อรำลึกถึงและเฉลิมฉลองความทรงจำของผู้ล่วงลับ ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงประเพณีที่กลายมาเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเม็กซิโก แต่ยังเป็นเทศกาลที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเม็กซิโกให้กลับมาคึกคัก สร้างเม็ดเงินได้ถึง 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

และ ‘เทศกาล Oktoberfest’ หรือเทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวเยอรมันที่จะถูกจัดขึ้นทุกปีในช่วงวันอาทิตย์แรกของเดือนตุลาคมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 2 สัปดาห์  ในปี 2022 มีผู้คนทั่วโลกเข้าร่วมเทศกาลกว่า 6 ล้านคน มีเม็ดเงินหมุนเวียนมากถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 42,000 ล้านบาท

[ มองไทยผ่านแนวทางการผลักดัน Festival Economy ]

ประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า Festival ที่สร้างชื่อและดึงดูดเม็ดเงินจากชาวต่างชาติได้อย่างมหาศาล เช่น การจัดงาน Maha Songkran World Water Festival 2024 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานกว่า 7.8 แสนคน สร้างรายได้มากถึง 2,880 ล้านบาท

หรืองาน ‘S2O Songkran Music Festival’ เทศกาลที่นำการละเล่นที่คนไทยชื่นชอบมาเป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียแล้วผสมผสานกับความสนุกของดนตรี EDM ไว้ด้วยกัน เป็นการสร้าง Unique Experience ประสบการณ์แห่งความสุขสุดขีด มันส์สุดขั้ว ที่หาไม่ได้จากเทศกาลดนตรีอื่นๆ ตามมาด้วยเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงาน

นอกจากนี้ การที่ไทยได้เป็นหมุดหมายของการจัดงานเทศกาลดนตรียิ่งใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น ‘SUMMER SONIC BANGKOK 2024’ และมีศิลปินระดับโลกอย่าง Coldplay, Ed Sheeran, Dream Theater และ BLACKPINK เข้ามาจัดคอนเสิร์ตในเมืองไทย สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพเรื่องของสถานที่การจัดงานที่หลากหลาย รองรับการจัดงานทั้งงานคอนเสิร์ต และงานเทศกาล

เทศกาลจึงไม่ได้ทำหน้าที่เพียงสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศเท่านั้น  แต่ยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศภายใต้เครื่องมือที่สร้างสรรค์

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีความพยายามที่จะผลักดันนโยบาย Festival Economy หรือการสร้างมรดกทางเศรษฐกิจด้วยงานเทศกาล โดยหวังจะให้เป็นแรงขับทางเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยในยุคหลัง COVID-19

ด้าน ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จัดให้ Festival เป็น 1 ใน 11 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ที่กำลังถูกจับตาในฐานะอาวุธยุทธศาสตร์ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย และตั้งใจจะดันไทยให้ติด 1 ใน 10 สุดยอดประเทศเฟสติวัลโลก

มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะไปถึงเป้าหมายนั้น จากความได้เปรียบของประเทศไทยเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารที่ไม่สูง อัตลักษณ์และวัฒนธรรมของเมืองท่องเที่ยวอย่าง ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ และกฏกติกาที่ยืดหยุ่นในสายตาชาวต่างชาติ ผสานเข้ากับการออกแบบกิจกรรมที่แปลกใหม่ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยสามารถเป็นจุดหมายปลายทางของการจัดการเทศกาลระดับโลกได้ไม่ยาก

[ จับตา ICONSIAM Amazing Thailand Countdown 2025 บิ๊กอีเวนท์ระดับโลก กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศส่งท้ายปี ]

อีกหนึ่งเทศกาลที่คาดว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยช่วงปลายปีให้คึกคักก็คืองาน “Amazing Thailand Countdown 2025” ปรากฏการณ์เคานต์ดาวน์สุดยิ่งใหญ่ของไทยที่จัดโดย ‘ไอคอนสยาม’ แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ไฮไลท์ของปีนี้นอกจากการจัดแสดงพลุสุดวิจิตรงดงามอลังการยาวที่สุดในประเทศไทย รังสรรค์โดยผู้กำกับพลุมือรางวัลจากประเทศญี่ปุ่น ผสานกับทีมงานสร้างสรรค์ชั้นนำจากประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Celebrating the Everlasting Legacy of Siam เฉลิมฉลองมรดกไทยอันรุ่งโรจน์นิรันดร์” สะท้อนถึงสีสันและความงดงามของมรดกและภูมิปัญญาไทย

ยังเป็นครั้งแรกของไทยที่ ‘ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล’ ศิลปินไอคอนิคระดับโลกสัญชาติไทย จะโชว์เดี่ยวสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ตอกย้ำภาพลักษณ์อันแข็งแกร่งของประเทศไทย ในการเป็น ‘Global Destination’ หนึ่งในใจที่คนทั่วโลกต้องมาเยือน และจะสร้างภาพลักษณ์ให้ไทยเป็น Top 5 Countdown Destination ได้

ตลอดการจัดงาน 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 29-31 ธันวาคม 2567 ของงาน ‘Amazing Thailand Countdown 2025’ จะได้ดื่มด่ำกับการแสดงและคอนเสิร์ตจากศิลปินไทยและต่างประเทศกว่า 60 ชีวิต นำทัพโดย ATLAS, BUS Because of you I shine, 4EVE, Jeff Satur, MILLI, NONT TANONT, พีพี บิวกิ้น, เป๊ก ผลิตโชค, PROXIE, ZeeNuNew, ทีมนักแสดงจาก PIT BABE The Series และศิลปินจีนชื่อดังระดับโลก “เว่ยเจ๋อหมิง”

นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่นำวัฒนธรรมไทยสู่สายตาชาวโลก จากนักแสดงชั้นนำ ได้แก่ กองทัพ พีค และนก KPN แชมป์โลก solo senior vocalist คนแรกของไทย ที่มาส่งมอบความสุขส่งท้ายปีและพร้อมต้อนรับปีใหม่ด้วยความบันเทิงแบบจัดเต็ม บนเวทีพาโนรามาที่มาพร้อมฉากหลังที่สวยงามที่สุดบนโค้งน้าเจ้าพระยาที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานและชมการถ่ายทอดสดรวมออนไลน์มากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลก สร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมหาศาล

ข้อมูลจากสมาคมการค้าธุรกิจในแม่น้ำเจ้าพระยา เผยว่า การเติบโตทางด้านรายได้ในภาพรวมของกลุ่มธุรกิจในแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเทศกาลนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมากว่า 75% โดยเฉพาะในช่วงวัน countdown คาดว่าจะโตมากกว่า 100%

โดยปกติจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาบริเวณริมแม่น้ำ 5-6 หมื่นคนต่อวัน คาดว่าช่วงเดือนธันวาคม จะมีจำนวนมากถึง 8-9 หมื่นคนต่อวัน ยิ่งคืนวันเคานต์ดาวน์น่าจะมีหลายแสนคน โดยเรือดินเนอร์ครุยส์ที่ปัจจุบันมีอยู่ 30 ลำก็รองรับนักท่องเที่ยวได้ 1.2 หมื่นคน จะเข้ามาล่องแม่น้ำ ชมการแสดงพลุในคืนวันเคานต์ดาวน์ด้วย

ส่วนธุรกิจโดยรอบแม่น้ำเจ้าพระยาในรัศมี 5 กิโลเมตร ซึ่งสามารถมองเห็นพลุเคานต์ดาวน์จากไอคอนสยาม ก็จะได้รับอานิสงส์ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดริมแม่น้ำเจ้าพระยา หรือทราฟฟิกทางเรือคาดเติบโตขึ้นมากกว่า 30% สร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรือโดยสาร และเรือท่องเที่ยวกว่า 40 ล้านบาท

ขณะที่โรงแรมริมน้ำก็มียอดจองสูงถึง 90% สอดคล้องไปกับข้อมูลจาก SiteMinder ผู้นำแพลตฟอร์มระดับโลก เผยว่า ตัวเลขยอดจองห้องพักในไทยช่วงปลายปีพุ่ง 18% สูงสุดในรอบหลายปี โดย 87% ของการจองห้องพักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

จากการคาดการณ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 20% หรือประมาณ 12 ล้านคน และสร้างรายได้ให้กับประเทศถึง 652,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 29%

การจัดงานระดับโลกอย่าง Amazing Thailand Countdown ของ ‘ไอคอนสยาม’ ในฐานะ ‘แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยา’ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของไทยและพลังความร่วมมือ ของพันธมิตรภาครัฐและเอกชนที่จะช่วยกันขับเคลื่อน Festival Economy  ของประเทศ ซึ่งเป็นหมากสำคัญที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า