Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังอยู่ในชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การเรียน การทำงาน หรือแม้แต่ในสิ่งของต่างๆ รอบตัวก็มักจะเติม AI ลงไปเพื่อช่วยเหลือให้มนุษย์เราใช้ชีวิตง่ายขึ้น

[ AI ทำได้ 300 อย่างในเวลาเดียว ]

แต่ที่น่ากังวลคือ AI กำลังจะเข้ามาทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการทำงานมากขึ้น และที่มนุษย์เรากลัวโดนดิสรัปชันอาจจะเป็นเรื่องจริง อ้างอิงจากรายการของ Goldman Sachs ที่คาดการณ์ไว้ว่า AI สามารถแทนที่งานเต็มเวลา 300 งานไปพร้อมๆ กับการสร้างงานอื่นๆ และเพิ่มผลผลิตให้แต่ละอุตสาหกรรมได้มากขึ้น

หรือทำความเข้าใจง่ายๆ ว่า AI ทำงานได้มากกว่ามนุษย์เรา ฉะนั้นแล้วต้นทุนแรงงานอาจจะโดนตัดทอนในเร็ววัน

[ IMF เตือน AI อาจทำให้คนตกงานมากกว่าที่คิด ]

โดยเรื่องนี้เองก็ถูกเตือนด้วย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ที่มองว่าของแรงงาน AI อาจนำไปสู่การตกงานในอาชีพที่มีทักษะสูง เพราะ AI มีศักยภาพมากพอในการพัฒนาตลาดแรงงาน พัฒนาการให้บริการสาธารณะ 

มากไปกว่านั้นอย่างที่เราทราบกันดีกว่าหลายโรงงานในหลายอุตสาหกรรมหันมาใช้หุ่นยนต์ในการผลิตมากขึ้น แต่ยังคงมีมนุษย์ที่ควบคุมอยู่ ซึ่ง AI ก็สามารถขับเคลื่อนหุ่นยนต์ได้มากกว่าคน และนี่อาจนำไปสู่ระบบอัตโนมัติของงาน blue-collar (พนักงานโรงงาน) ได้เช่นกัน IMF จึงเตือนสิ่งนี้อาจทำให้รายได้และความไม่เท่าเทียมกันทางการเงินรุนแรงขึ้นไปอีก

ขณะเดียวกันเรื่องนี้ก็จะเป็นผลกระทบแบบโดมิโนที่เมื่อเกิดการหยุดชะงักของแรงงานครั้งใหญ่และความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้นมาจาก AI 

IMF จึงเรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ รณรงค์เรื่องของการใช้ AI ให้ถูกวิธีมากขึ้นเน้นใช้แบบสร้างสรรค์ เพื่อป้องกันเศรษฐกิจในประเทศที่อาจเกิดความไม่เท่าเทียมจาก AI ได้ เพราะนี่จะกระทบถึงหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกับภาคการศึกษาที่ต้องปรับให้ AI อยู่ในรูปแบบการใช้เพื่อพัฒนาสกิลคนเตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงานมากกว่าการใช้เพื่อถูกแตะออกจากตลาดแรงงาน

[ สหภาพยุโรปเตรียมรับมือ AI ออกกฎหมายคุมเข้ม ]

ทางด้านสหภาพยุโรปก็เป็นกังวลเรื่องของการใช้ AI จึงได้ออกกฎหมาย AI ฉบับแรกขึ้นมา ที่จะมีผลบังคับใช้ในประเทศสมาชิก 27 ประเทศ ถือเป็น พ.ร.บ.AI ฉบับแรกของโลก เพื่อกำหนดเป้าหมายความเสี่ยงที่เกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีข้อจำกัดในการใช้งาน AI ไปเลย เพราะมีความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ในด้านความปลอดภัย การดำรงชีวิต และสิทธิของพลเมืองในสหภาพยุโรปนั่นเอง โดยกฎหมาย AI เข้ามาช่วยกำกับดูแลเทคโนโลยี AI และความกังวลกับอันตรายจาก AI ที่อาจเกิดขึ้นด้วย 

คาดว่ากฎหมาย AI ฉบับแรกของโลกจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2025 ในกฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดบทลงโทษทางการเงินกับเอกชนที่ใช้ AI ผิดเงื่อนไข และมีค่าปรับสูงด้วย โดยพิจารณาตามความร้ายแรงของการละเมิดและขนาดของบริษัท

ส่วนกลุ่ม Generative AI เช่น ChatGPT, Bard ที่สร้างข้อมูลรูปภาพ เสียง วิดีโอ กฎหมาย AI ระบุว่าต้องมีการแจ้งให้ชัดเจนว่าเป็นคอนเทนต์ที่สร้างโดย AI

กฎหมาย AI ของยุโรป จะแบน AI ต่อเมื่อสร้างระบบที่เป็นภัยคุกคามต่อผู้คน หลัก ๆ คือ

            • การชักใยทางความคิดของผู้คน หรือกลุ่มเปราะบาง ที่เราอาจนึกไม่ถึง เช่น ของเล่นที่สั่งงานด้วยเสียงที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นอันตรายในเด็ก
            • การนำ AI มาให้คะแนนทางสังคม การใช้ AI จำแนกผู้คนตามพฤติกรรม สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือลักษณะส่วนบุคคล
            • ระบบ AI ที่ระบุตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ตามเวลาจริงและระยะไกล เช่น การจดจำใบหน้า แต่ในรายละเอียดส่วนนี้ยังมีข้อยกเว้นบ้างในกรณีที่ต้องใช้มาช่วยดำเนินคดีกับอาชญากรรมร้ายแรง

นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจ SMEs ในยุโรปที่ต้องการจะพัฒนา AI ขึ้นมาใช้เองก็สามารถพัฒนาโซลูชัน AI ได้โดยไมต้องกังวลการดิสรัปจาก AI ในบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก หรือทำความเข้าใจง่ายๆ ว่า หากจะทำ AI ขึ้นใช้เองในยุโรป รัฐบาลไม่ได้กังวลเท่ากับการใช้ AI จากบริษัทเทครายใหญ่ ขณะที่ถ้าไปดูประเทศใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน และกลุ่มประเทศ G7 ก็กำลังเดินหน้าวางกฎระเบียบและหลักการด้าน AI ของแต่ละประเทศไว้เช่นกัน

[ ประเทศไทย 92% ใช้ AI ทำงาน ]

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยเองก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่นิยมใช้ AI มาช่วยในการทำงานที่หลากหลาย อ้างอิงจาก Work Trend Index 2024 ที่ระบุไว้ว่ากว่า 92% ของคนไทยเอา AI มาช่วยทำงานมากขึ้น ขณะที่ในด้านผู้ว่าจ้างกว่า 74% จะไม่จ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะ AI 

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เล่าว่า ในปัจจุบัน Generative AI เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับ และนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในที่ทำงาน จะเห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่เลือกนำ AI มาช่วยสะสางภาระงานในแต่ละวัน โดยที่ไม่ได้รอดูว่าองค์กรจะมีเครื่องมือ บริการ วิสัยทัศน์หรือแนวทางการใช้งานอย่างไร

ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องเร่งตอบรับความต้องการ AI ในองค์กร เพื่อให้องค์กรและพนักงานได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน AI ทั้งในเชิงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ควบคู่ไปกับความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้นจากแนวทางและนโยบายด้านการใช้ AI ที่ชัดเจน 

จะเห็นได้ว่าตลาดแรงงานในประเทศไทยกำลังปรับตัวเข้าสู่ AI มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในมุมตัวพนักงานและผู้บริหารต่างต้องการพึ่งพา AI กันทั้งนั้น 

และดูเหมือนว่าสำหรับประเทศไทยแล้วการมีอยู่ของ AI มาพร้อมกับความช่วยเหลือ แต่ในมุมมองระดับโลกก็มาพร้อมความเสี่ยงเช่นกัน 

ที่มา 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า