SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์ด้านระบบหายใจและวัณโรค ยืนยัน นั่งอยู่ในรถที่มีเครื่องปรับอากาศฝุ่นขนาดเล็กก็เล็ดลอดเข้าไปได้

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สามารถเล็ดลอดเข้าสู่รถยนต์ได้เหมือนกับบ้าน เพราะรถยนต์ต้องมีอากาศภายนอกเข้าไปหมุนเวียน แต่ปริมาณของฝุ่น PM 2.5 ที่เล็ดลอดเข้าไปภายในรถจะมีมากน้อยขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า รถเปิดระบบปรับอากาศที่หมุนเวียนอากาศภายนอกเข้ามามากน้อยขนาดไหน


ถ้าถามว่าจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย N95ขณะอยู่ในรถยนต์ปรับอากาศหรือไม่ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวว่า เป็นคำถามที่ตอบยากมาก ถ้ามีเครื่องวัดในรถแล้วพบว่า ค่า PM2.5 สูงก็คงต้องใส่ แต่ตอบในเชิงวิชาการลำบาก เพราะไม่เคยมีใครพูดถึงประเด็นนี้เลย ถ้าสมมุติว่านั่งรถเมล์ ซึ่งเป็นระบบเปิดอย่างนี้ควรใส่ แต่ถ้าในรถที่ปิดกระจก มีเครื่องปรับอากาศยังไม่มีข้อมูล ยังไม่เคยมีใครพูดถึงอย่างชัดเจน เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเท่านั้นเอง

กรณีขับรถเข้าไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง ประกอบกับช่วงเวลารถติด ความเสี่ยงต่อสุขภาพจะเป็นอย่างไร รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวว่า คงไม่ต่างจากการที่บ้านของเราตั้งอยู่ในที่ที่มีฝุ่นเยอะ ถ้าไม่มีระบบฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพ เราก็จะมีความเสี่ยงในระดับหนึ่ง แต่ถามว่ามากน้อยขนาดไหนไม่มีข้อมูลชัดเจน หากเกิดกรณีแบบนั้น ถ้าการใส่หน้ากากอนามัยในรถไม่ได้ทำให้เราอึดอัดมาก ก็สามารถใส่ได้ (ความเห็นของคุณหมอ) แต่เราคงไม่แนะนำทั่วๆ ไปว่า ถ้าอยู่รถแล้วต้องใส่หน้ากากอนามัยเสมอ
.
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวถึงสถานการณ์ของPM 2.5 ขณะนี้ดีขึ้น หนักที่สุดเมื่อวันที่ 10 ม.ค. แล้วผ่อนลง แต่จะขึ้นลงไปจนถึงการเข้าสู่ฤดูร้อนเต็มตัว ที่ดีขึ้นไม่ใช่เพราะเราสร้างลดลง แต่ดีขึ้นเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ยังไม่มีเห็นมาตรการควบคุมระยะยาว เช่น ประเทศอิตาลี บางเมืองประกาศงดรถยนต์ที่อายุเครื่องเก่าเข้าเมือง เห็นแต่ลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน หรือแม้แต่มาตรการระยะสั้นที่จะได้ผลก็ยังไม่เห็น อย่างไรก็ตามช่วงปลายปีรอยต่อเปลี่ยนฤดูหนาวที่อากาศช่วงกลางวันจะร้อน มีสิทธิ์ที่จะเจอสถานการณ์ฝุ่นPM 2.5 อีกซึ่งอาจจะหนักกว่าเดิมก็ได้

งานวิจัยอินเดียชี้ ขึ้นรถเมล์ร้อนได้รับฝุ่นละอองมากที่สุด-แท็กซี่ฝุ่นเยอะกว่ารถส่วนตัว

งานวิจัยเรื่องการรับฝุ่นละอองผ่านการหายใจในยานพาหนะชนิดต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขสภาพอากาศและฤดูต่าง ๆ (Exposure to in-vehicle respirable particulate matter in passenger vehicles under different ventilation conditions and seasons) โดยสุเรช ฌาอิน (Suresh Jain ) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัย TERI กรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย วัดความหนาแน่นของฝุ่น PM ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ PM1, PM2.5 และ PM10
.
ผลวิจัยพบว่าในกรุงนิวเดลี ยานพาหนะที่ได้รับฝุ่นละอองมากที่สุดคือรถเมล์แบบไม่มีเครื่องปรับอากาศ รองลงมาคือรถสามล้อ โดยมีข้อสังเกตว่ารถยนต์ที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศได้รับปริมาณฝุ่นมากพอ ๆ กัน ส่วนยานพาหนะที่กันฝุ่น PM ได้มากที่สุดคือรถยนต์
.
งานวิจัยนี้ไม่ได้สำรวจกรณีมอเตอร์ไซค์ 2 ล้อ อย่างไรก็ดี งานวิจัยชี้ชัดว่ารถสามล้อและรถยนต์ที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศได้รับปริมาณฝุ่นในระดับสูงใกล้เคียงกัน
.
สิ่งที่น่าสนใจ คือในรถแท็กซี่แม้จะติดเครื่องปรับอากาศก็มีความหนาแน่นของฝุ่นมากกว่ารถยนต์ส่วนตัว ที่ติดเครื่องปรับอากาศเหมือนกัน ถึง 3.5 เท่า ขณะที่รถแท็กซี่ที่ไม่ติดเครื่องปรับอากาศก็ยังมีค่าความหนาแน่นของฝุ่นมากกว่ารถยนต์ส่วนตัวที่ไม่ติดเครื่องปรับอากาศเหมือนกัน 1.5 เท่า
.
งานวิจัยชิ้นนี้ยังทำการทดสอบความหนาแน่นของฝุ่นในยานพาหนะในสภาพอากาศที่แตกต่างกัน โดยพบว่าความหนาแน่นของฝุ่นในยานพาหนะระหว่างฤดูหนาวหนาแน่นกว่าฤดูร้อน
.
อย่างไรก็ตามแม้ไม่ได้วิจัยการรับฝุ่นละอองในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ แต่ก็น่าจะอนุมานได้ว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จะได้รับฝุ่นละอองพอๆ กับรถสามล้อ รถเมล์ รถส่วนตัวที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ


ที่มา: Sustainable Environment Research

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า