SHARE

คัดลอกแล้ว

ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานกลับมาตึงเครียดอีกครั้งในรอบหลาย 10 ปี ล่าสุดเพิ่งมีรายงานว่า ทหารของทั้งสองฝ่ายเริ่มเปิดฉากยิงปะทะกันตามแนวเส้นควบคุมแบ่งเขตแดนสองประเทศ (LOC) ตั้งแต่เมื่อคืนนี้

แม้ว่านี่จะไม่ใช่การปะทะกันเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ประเทศในเอเชียใต้ที่มีความสัมพันธ์เปราะบางมาตั้งแต่อดีต แต่ความตึงเครียดที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้ มีเรื่องราวซับซ้อนกันหลายมิติที่จะต้องทำความเข้าใจ

1) จุดเริ่มต้นของความตึงเครียดระลอกล่าสุด มาจากเหตุการณ์กราดยิงที่เมืองพาฮาลแกมในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน และได้รับบาดเจ็บ 17 คน

2) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร (22 เม..) โดยผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวเมืองพาฮาลแกม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ที่ได้รับสมญานามว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งอินเดีย

3) นับเป็นการสังหารพลเรือนครั้งเลวร้ายสุดในรอบเกือบ 20 ปี ที่เกิดขึ้นกับอินเดีย ตั้งแต่เกิดเหตุกราดยิงที่มุมไบเมื่อปี 2008 ซึ่งทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตไปมากกว่า 160 คน และได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน

4) การโจมตีพลเรือนครั้งล่าสุดนี้ เป็นฝีมือของกลุ่มติดอาวุธที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มต่อต้านแห่งแคชเมียร์’ (Kashmir Resistance) ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าไหร่นักกลุ่มนี้เคลื่อนไหวอยู่บริเวณชายแดนอินเดียกับปากีสถาน

5) หลังเกิดเหตุนายกรัฐมนตรีนาเรนทราโมดีซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติที่ซาอุดีอาระเบียได้ยกเลิกภารกิจทั้งหมดและบินกลับอินเดียทันทีเพื่อมาบัญชาการดูแลสถานการณ์ด้วยตัวเองพร้อมทั้งสั่งการให้ทหารอินเดียปิดล้อมเทือกเขาหิมาลัยไล่ล่าตัวคนร้ายมาให้ได้ท่ามกลางความเศร้าสลดของประชาชนทั่วประเทศ

6) แต่ที่น่าตกใจกว่านั้นคือจากคำบอกเล่าของพยานที่อยู่ในเหตุการณ์ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าคนร้ายดูเหมือนจะมุ่งเป้าโจมตีเฉพาะนักท่องเที่ยวชายที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม

7) พยานหลายคนยืนยันตรงกันว่า ก่อนลงมือ คนร้ายมีพฤติกรรมเหมือนต้องการตรวจเช็คให้แน่ใจก่อน ด้วยการถามชื่อ ให้ท่องคัมภีร์ หรือถามตรงๆ เลยว่าเป็นชาวมุสลิมหรือไม่ เมื่อแน่ใจแล้วว่าไม่ใช่ ถึงสังหารเหยื่อ

8 ) Kashmir Resistance อ้างว่า ที่พวกเขาตัดสินใจโจมตีนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย เพราะไม่พอใจที่มีคนนอกกว่า 85,000 คน เข้าไปตั้งถิ่นฐานในจัมมูและแคชเมียร์

9) การเปิดเผยดังกล่าวส่งผลให้ความโกรธแค้นในอินเดียยิ่งปะทุหนักขึ้นและถูกโยงเข้ากับประเด็นเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาและการเมืองที่เป็นปัญหาคาราคาซังในจัมมูและแคชเมียร์มานานหลายทศวรรษ

10) ไม่นานหลังเกิดเหตุ รัฐบาลอินเดียได้ออกมากล่าวโทษปากีสถานว่าอยู่เบื้องหลัง และให้การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธที่ก่อเหตุสังหารพลเมืองในดินแดนของอินเดีย พร้อมกับบอกให้ปากีสถานรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าปากีสถานปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวอย่างหนักแน่น

11) จนความตึงเครียดเข้าสู่จุดเดือด เมื่ออินเดียตัดสินใจลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับปากีสถาน ประกาศปิดพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ขับทูตปากีสถานออกจากอินเดีย และระงับวีซ่าสถานะพิเศษสำหรับชาวปากีสถานในอินเดียทั้งหมด สั่งให้พลเมืองปากีสถานออกจากประเทศภายใน 48 ชั่วโมง

12) ยิ่งไปกว่านั้น จุดที่ให้ปากีสถานไม่พอใจอย่างมาก ก็คือ การที่อินเดียประกาศระงับสนธิสัญญาแบ่งปันน้ำจากแม่น้ำสินธุที่ทั้งสองประเทศลงนามกันมาตั้งแต่ปี 1960

ปากีสถานถึงกับออกมาประณามความเคลื่อนไหวนี้ว่าอินเดียตั้งใจจะทำสงครามน้ำกับปากีสถานซึ่งเป็นการกระทำที่ขี้ขลาดและละเมิดกฎหมายปากีสถานจึงตัดสินใจตอบโต้อินเดียด้วยมาตรการระดับเดียวกันในทันที

13) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถูกตั้งข้อสังเกตว่าสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ยังซุกอยู่ใต้พรมและรอวันปะทุอยู่ตลอดเวลาในดินแดนที่หลายคนขนานว่าเป็นสรวงสรรค์แห่งเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้

14) ต้นตอของปัญหาที่ว่า ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ตอนที่อนุทวีปอินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ในชื่อว่าบริติช ราช’ (British Raj)

ในช่วงเวลานั้น อนุทวีปอินเดียประกอบด้วยดินแดนต่างๆ มากกว่า 200 แคว้น แต่ละแคว้นมีเจ้าผู้ปกครองเป็นของตัวเอง มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างกันไป โดย 2 ศาสนาหลักๆ คือ ฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาหลักของชาวอารยัน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอนุทวีปมาตั้งแต่ดั้งเดิม กับศาสนาอิสลาม ซึ่งมีคนนับถืออยู่ในบริเวณนั้นจำนวนมากเช่นเดียวกัน 

15) จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษคิดจะถอนตัวออกจากอนุทวีปอินเดียจึงเริ่มเตรียมการให้ดินแดนในบริเวณปกครองตนเองแต่ปรากฏว่ามีปัญหาเรื่องความแตกต่างทางศาสนาปรากฏออกมา

ฝ่ายที่นับถือศาสนาฮินดูก็ไม่อยากจะอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองที่เป็นชาวมุสลิมส่วนฝั่งมุสลิมก็ไม่อยากอยู่กับฮินดู

16) สุดท้ายเลยมีการตัดสินใจแยกดินแดนในอนุทวีปอินเดียออกเป็น 2 ส่วนส่วนหนึ่งให้เป็นประเทศอินเดียเพื่อให้คนที่นับถือศาสนาฮินดูไปรวมกันอยู่ตรงนั้นและอีกส่วนก็คือประเทศปากีสถานให้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิม

17) เมื่อตัดสินใจแบบนี้แล้ว อังกฤษก็ให้แคว้นต่างๆ ตัดสินใจกันเองว่าจะไปอยู่กับอินเดียหรือปากีสถาน คือมีให้เลือกแค่ 2 ทางเลือก   

สำหรับแคว้นเล็กๆหรือแคว้นที่มีอัตลักษณ์ของตัวเองชัดเจนว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูหรือมุสลิมการเลือกจะไปขึ้นอยู่กับใครไม่ใช่เรื่องยากอะไร

18) แต่ขณะเดียวกัน ก็มีแคว้นใหญ่ๆ ที่มีอำนาจมากๆ บางแคว้นรู้สึกว่าตัวเอ

งมีศักยภาพพอที่จะมีเอกราชเป็นของตัวเองเหมือนกันไม่จำเป็นจะต้องไปขึ้นอยู่กับใครทำให้มีความวุ่นวายเกิดขึ้นอยู่ระยะหนึ่งจนหลายๆที่ตกลงกันได้เป็นเรียบร้อย

19) แต่ที่แคว้นจัมมูและแคชเมียร์ ยังคงมีปัญหาแก้ไม่ตก เนื่องจากผู้ปกครองแคว้นในขณะนั้น คือ มหาราชาฮารี สิงห์ นับถือศาสนาฮินดู แต่ประชากรส่วนใหญ่ในแคว้นเป็นชาวมุสลิม เลยทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นมาว่าควรจะไปอยู่ฝั่งไหน

20) สุดท้ายมหาราชาฮารีสิงห์ตัดสินใจที่จะไม่ไปอยู่ภายใต้การปกครองของทั้งปากีสถานและอินเดียทำให้ปากีสถานไม่พอใจอย่างมากส่งทหารมาร่วมมือกับพลเมืองที่เป็นชาวมุสลิมในแคว้นเพื่อที่จะยึดไปเป็นดินแดนของตัวเอง

21) ฝั่งของมหาราชาฮารีสิงห์จึงต้องไปขอความช่วยเหลือจากอินเดียและยอมมอบอำนาจบางส่วนของตัวเองให้กับอินเดียกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้จัมมูร์และแคชเมียร์ถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้ง

โดยหนึ่งในเหตุผลสำคัญ เป็นเพราะชาวมุสลิมในแคว้นนี้ก็ไม่ได้พอใจที่ตัวเองต้องไปอยู่กับอินเดีย ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ทำให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันอยู่เป็นระยะๆ

22) ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้มีการร่างมาตรา 370 ในรัฐธรรมนูญอินเดียขึ้นมา หรือที่รู้จักกันในชื่อ article 370 เพื่อให้สิทธิ์ปกครองตนเองแก่จัมมูร์และแคชเมีย

ภายใต้ article 370 รัฐจัมมูร์และแคชเมียจะถือเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีอิสระในการกำหนดกฎหมายมีรัฐธรรมนูญมีธงชาติเป็นของตัวเอง

23) แต่ประเด็นสำคัญ ก็คือใน article 370 มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนไม่ให้บุคคลที่ไม่ใช่ชาวแคชเมียร์ประกอบอาชีพรับราชการหรือครอบครองดินแดนในรัฐนี้โดยจุดประสงค์ที่มีการร่างข้อกำหนดนี้ขึ้นมาเพราะมีความกังวลจากชาวมุสลิมในพื้นที่ว่าดินแดนของพวกเขาจะถูกกลืนโดยชาวฮินดูที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอินเดีย

24) นับตั้งแต่มี article 370 เกิดขึ้นมาในปี 1949 แคว้นจัมมูร์และแคชเมียร์ได้สิทธิในการปกครองตนเองมาโดยตลอดควบคู่ไปกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆจากกลุ่มที่ไม่พอใจที่ต้องอยู่ภายใต้อินเดีย

25) แต่สถานการณ์กลับเลวร้ายลงในปี 2019 เมื่อนายนาเรนทรา โมดี ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีสายชาตินิยมฮินดูสุดโต่งของอินเดีย ใช้อำนาจประกาศยกเลิกสถานะพิเศษของแคว้นจัมมูร์และแคชเมียร์ ภายใต้มาตรา 370 ในรัฐธรรมนูญอินเดีย

ส่งผลให้จัมมูร์และแคชเมียร์กลายมาเป็นรัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางอินเดียอย่างเต็มตัว

26) ผลที่ตามมาคือสิทธิพิเศษเหนือดินแดนของชาวแคชเมียร์ที่เคยได้รับการคุ้มครองไม่ว่าจะเป็นการสงวนอาชีพสำหรับชาวแคชเมียร์หรือสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินที่ไม่อนุญาตให้คนนอกพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องหมดไป

27) หากตั้งข้อสังเกตดีๆ เรื่องนี้สอดคล้องกับคำกล่าวอ้างของกลุ่มติดอาวุธ ที่บอกว่า พวกเขาตัดสินใจโจมตีนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย เพราะไม่พอใจที่คนนอกกว่า 85,000 คน เข้าไปตั้งถิ่นฐานในจัมมูและแคชเมียร์

28) มิติทับซ้อนเหล่านี้จึงทำให้เกิดความกังวลขึ้นมาว่าความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถานระลอกล่าสุดนี้อาจบานปลายกลายเป็นถึงขั้นจะเกิดเป็นสงครามระหว่างสองประเทศในเอเชียใต้

และสิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมคือทั้งอินเดียและปากีสถานต่างก็เป็นประเทศที่มีนิวเคลียร์อยู่ในครอบครองการปะทะกันระหว่างทั้งสองชาติจึงไม่ใช่แค่ความกังวลในระดับภูมิภาคแต่อาจหมายถึงอันตรายต่อความมั่นคงของโลก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า