Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อินเดียซึ่งมีประชากร 1,300 ล้านคน เริ่มเข้าสู่ภาวะล็อกดาวน์ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. โดยมีผลบังคับเป็นเวลา 21 วัน เพื่อไม่ให้ประชาชนออกนอกบ้าน เพื่อชะลอการระบาดของโควิด-19 หลังจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม มันกลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนที่มีฐานะยากจนหลายล้านคนทั่วประเทศ หลายคนประสบกับความหิวโหย เนื่องจากไม่มีงานทำ และทำให้แรงงานอพยพที่ต้องตกงานหลายหมื่นเดินทางกลับบ้าน หลายคนต้องเดินเท้าเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร เนื่องจากบริการขนส่ง เช่นรถไฟ หยุดให้บริการทั้งหมด ทำให้นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ต้องกล่าวขอโทษประชาชน

เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็น ได้สัมภาษณ์ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นแรงงานที่มีรายได้น้อย ซึ่งต้องทำงานแบบหาเช้ากินค่ำ ที่ต้องอาศัยอยู่ในสลัมที่มีความแออัดและขาดสุขลักษณะ

 

 

จีเทนดีร์ มเหนดีร์ วัย 36 ปี พนักงานทำความสะอาด จะไม่ออกจากบ้านที่ตั้งอยู่ในสลัมแห่งหนึ่งในเมืองมุมไบของอินเดียได้ ยกเว้นแต่จะไปเข้าห้องน้ำ สภาพความเป็นอยู่ของเขาจัดว่าอยู่ในสภาพย่ำแย่ บ้านของเขาไม่มีน้ำประปาหรือห้องน้ำ และแทบไม่มีอาหารเหลือ เมื่อไหร่ที่เขาไม่ทำงาน วันนั้นเขาก็จะไม่มีรายได้

มเหนดีร์ พยายามปฏิบัติตามมาตรการล็อคดาวน์ทั่วประเทศ 21 วัน ของนายกรัฐมนตรีมเหนทรา โมดี ที่มีเป้าหมายเพื่อยับยั้งการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ปัจจุบัน อินเดียมีผู้ติดเชื้อไวรัสรวมแล้ว 1,071 คน และเสียชีวิต 29 ราย

นายโมดีกล่าวในระหว่างประกาศมาตรการดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ไม่ใช่แค่สำหรับผู้ป่วยเท่านั้น แต่เพื่อเราทุกคน ถึงรวมถึงคุณและคนในครอบครัว”

Social distancing อาจได้ผลกับชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในอินเดีย ที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติในบ้านหรือคอนโดมีเนียม มีเงินสำหรับการซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นและอาหารในช่วง 21 ของมาตรการล็อคดาวน์ หรือแม้แต่การทำงานจากบ้าน โดยใช้เครื่อมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

แต่สภาพความโกลาหลที่เกิดขึ้นในอินเดียในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นถึงความยากลำบากของประชากรกว่า 74 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 6 ของชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในสลัม Social distancing จึงทำให้คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญความทุกข์ทั้งในด้านร่างกายและการเงิน

“ทางเดินในสลัมคับแคบ เมื่อเราเดินสวนกันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการสัมผัสร่างกายกัน ทุกคนจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านเพื่อเข้าห้องน้ำ และแถวๆ บ้านของเขา ก็มีครอบครัวอาศัยอยู่อีกกว่า 20 ครอบครัว ก็เหมือนว่าเราทุกคนอาศัยอยู่ด้วยกัน หากมีใครคนใดคนหนึ่งล้มป่วย เราทุกคนก็จะล้มป่วยกันหมด”

ทั้งนี้ มีผู้ที่อาศัยอยู่ในสลัมในมุมไบอย่างน้อยหนึ่งคนที่ติดเชื้อไวรัสแล้ว และในขณะที่เชื้อไวรัสได้ก่อให้เกิดกระแสความตื่นกลัวในหมู่ชาวสลัม บรรดาแรงงานอพยพนับหมื่นๆ คนที่กำลังเดินทางกลับบ้านในชนบท ทั้งด้วยรถโดยสารและด้วยการเดินเท้า ซึ่งยิ่งก่อให้เกิดความกังวลว่าพวกเขาจะนำเชื้อไวรัสไปแพร่ระบาดในพื้นที่ชนบท

เมื่อวานนี้ (29 มี.ค.) นายโมดีได้กล่าวขอโทษต่อประชาชน และกล่าวว่าเขาทราบดีว่ามาตรการล็อคดาวน์ได้ก่อให้เกิดเหตุความโกลาหลต่อกลุ่มผู้มีฐานะยากจน แต่ยืนยันว่าเขาไม่มีทางเลือกอื่น

 

1 ห้องน้ำต่อประชากร 1,440 คน

น้ำคือหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้คนยากจนในอินเดียต้องออกจากบ้านทุกๆ วัน

“เซีย” เป็นแรงงานก่อสร้างอพยพที่อาศัยอยู่ในสลัมในเมืองกูรูกราม ใกล้กรุงนิวเดลี เธอต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 และยอมไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายโมดี เพื่อเดินไปแทงค์น้ำ สำหรับเก็บน้ำใช้ให้สลัมคนงานก่อสร้างที่มีอยู่กว่า 70 คน

นอกจากเธอแล้ว คนงานก่อสร้างหญิงคนอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในสลัมก็ทำเช่นเดียวกัน ทุกเช้าพวกเธอจะไปที่แทงค์น้ำเพื่อรองน้ำมาใช้ เนื่องจากไม่มีห้องน้ำในที่พัก แทงค์น้ำดังกล่าวจึงเป็นแหล่งน้ำเพียงแหล่งเดียวของชุมชน

 

 

รัฐบาลอินเดียได้เปิดตัวโครงการ “อินเดียสะอาด” เมื่อปี 2014 เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและลดพฤติกรรมการขับถ่ายของเสียกลางแจ้งของชาวอินเดีย โดยอ้างว่าในปัจจุบัน ครัวเรือนกว่า 100% เข้าถึงห้องน้ำแล้ว

อย่างไรก็ตาม นายพูนีต ศรีวาสตาวา ผู้จัดการฝ่ายนโนบายขององค์กร “วอเตอร์เอด อินเดีย” (WaterAid India) องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร กล่าวว่า เป้าหมายหลักของโครงการดังกล่าวเน้นไปที่การสร้างส้วมในบ้าน แต่ไม่ได้รวมถึงห้องส้วมตามพื้นที่สลัมต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น ย่านดาราวี ในนครมุมไบ มีห้องน้ำเฉลี่ยเพียง 1 ห้องต่อประชากร 1,440 คน และจากผลการสำรวจของเทศบาลนครมุมไบ ร้อยละ 78 ของห้องน้ำสาธารณะในย่านสลัมของมุมไบ ไม่มีน้ำสำหรับใช้

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นายดุรกา ชังเกอร์ มิชรา รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะและกิจการเมืองของินเดีย กล่าวว่า อินเดียมีห้องน้ำครอบคลุมแล้ว 100% ไม่ว่าประชาชนจะมีห้องน้ำใช้ในบ้านหรือไม่ก็ตาม พวกเขาสามารถใช้ห้องน้ำสาธารณะได้

ซาเนีย อาชราฟ นักระบาดวิทยาที่ทำงานเกี่ยวกับน้ำ สุขอนามัย และโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ กล่าวว่า แม้โครงการอินเดียสะอาด จะทำให้ห้องน้ำตามบ้านเรือนและห้องน้ำสาธารณะแบบเสียค่าบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงที่เกิดดรคระบาด การใช้ห้องน้ำสาธารณะอาจไม่ใช่เรื่องดี หากมันไม่สะอาด นอกจากนั้น อากาศที่ไม่ระบายยังทำให้ห้องน้ำเต็มไปด้วยละอองลอยในอากาศที่มีเชื้อโรค ที่อาจนำไปสู่การแพร่ระบาดของไวรัส

 

ทุกคนตกอยู่ในความเสี่ยง

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้อาศัยอยู่ในสลัมไม่สามารถกักตัวอยู่บ้านได้ก็เพราะ พวกเขาต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ

ข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่า ค่าแรงต่อวันของแรงงานอพยพที่ต้องหาเช้ากินค่ำในอินเดีย อยู่ที่ราว 138 ถึง 449 รูปี หรือราว 63 ถึง 206 บาทต่อวัน

 

 

อรุณ กุมาร นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า คนเหล่านี้ทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่ขาดการจัดการที่ดี ถ้าพวกเขาไม่ไปทำงาน พวกเขาก็ไม่มีเงิน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ แต่เกิดขึ้นมานานแล้ว เมื่อปราศจากห่วงโซ่อุปทาน การจ้างงานก็ไม่มี พวกเขาไม่มีเงินซื้อสิ่งของที่จำเป็น หรือเงินสำหรับซื้อขอเพื่อกักตุนเช่นเดียวกับคนรวย พวกเขาซื้อของเพราะต้องใช้ แต่ตอนนี้ไม่มีทั้งของและเงิน

ทางเลือกสำหรับคนเหล่านี้จึงมีอยู่เพียงไม่กี่ทาง หนึ่งคือต้องออกไปทำงานหาเงิน แต่ก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อโรค และสอง กักตัวอยู่ในบ้านและไม่มีเงินกินข้าว

ส่วนอาชีพบางอย่างก็เป็นอาชีพที่ไม่มีทางเลือกอื่น เช่นคนกวาดถนน เพราะถูกมองว่าเป็นอาชีพที่มีความจำเป็น ดังนั้นจึงได้รับการยกเว้นจากมาตรการล็อคดาวน์

นายมิลินด์ รานาด จากองค์กร Kachra Vahatuk Shramik Sangh ในนครมุมไบ ที่ทำงานด้านปัญหาแรงงาน กล่าวว่า แรงงานบางคนต้องเก็บขยะจากโรงพยาบาล และต้องกลับมายังบ้านในสลัมที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างแออัด คนเหล่านี้ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่นหน้ากากอนามัยหรือถุงมือ และไม่มีโครงการเพื่อให้ความรู้แก่พวกเขาถึงอันตรายของเชื้อโคโรนาไวรัส และอาจเกิดปีญหาได้ถ้าพวกเขาล้มป่วย

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 7 แสนล้านบาทของรัฐบาลอินเดีย ยังครอบคลุมถึงประกันสุขภาพ 5 ล้านรูปี หรือราว 2 ล้าน 3 แสนบาท ต่อคน สำหรับผู้ที่ต้องรับมือกับโรคระบาดในแนวหน้า เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และพนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาลของรัฐ

นายราจู คากาดา หัวหน้าสภาพแรงงานพนักงานทำความสะอาดนครมุมไบ กล่าวว่า มันอาจครอบคลุมเจ้าหน้าที่ก็จริง แต่มันไม่ได้ครอบคลุมถึงคนที่อาศัยอยู่รอบๆ พวกเขาในสลัม หรือคนที่อาจเสี่ยงติดเชื้อจากพวกเขา

อรุณ กุมาร กล่าวว่า การตรวจตรวจคัดกรองเชื้อแบบครอบคลุมอาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยเมื่อนับถึงวันที่ 29 มีค. อินเดียทำการตรวจไปแล้วกว่า 34,930 ครั้ง หรือคิดเป็น 19 ครั้งต่อประชากร 1 ล้านคน การตรวจคัดกรองเชื้อในโรงพยาบาลเอกชนหรือห้องแล็บ มีค่าใช้จ่ายราว 4,500 รูปี หรือราว 2,070 บาท ส่วนตามโรงพยาบาลรัฐค่อนข้างจำกัดมากกว่า

มเหนดีร์ เป็นพนักงานทำความสะอาดของชุมการเคหแห่งหนึ่งของนครมุมไบ มีรายได้ 5,000 รูปีต่อเดือน (ราว 2,300 บาท) เขามีพ่อ ภรรยา และลูกอีก 3 คน ที่ต้องดูแล และหากต้องการหาหมอ มันจะไม่ครอบคลุมตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

เขาบอกว่าหน้าที่เขาคือการทำความสะอาดและเก็บขยะตามบ้านเรือนต่างๆ โดยไม่มีเครื่องมือป้องกันเช่นหน้ากากหรือถุงมือ และไม่ได้แม้แต่ใช้สบู่ล้างมือก่อนที่จะรับประทานอาหาร และถ้าวันไหนไม่ไปทำงาน คนก็อาจไม่จ้างเขาอีก

 

แรงงงานอพยพจำเป็นต้องกลับบ้าน

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แรงงานอพยพหลายหมื่นคน จากจำนวนทั้งหมดราว 46 ล้านคนในอินเดีย ต้องเร่งเดินทางกลับบ้านในชนบท และในขณะที่บริการขนส่งเช่นรถไฟ ยุติการให้บริการ พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเดินเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร

 

 

พวกเขาไม่มีเหตุให้ต้องอยู่ในเมืองใหญ่ เพราะไม่มีงานให้ทำหลังรัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์ และสลัมอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อไวรัส

นักวิจัยจากศูนย์เพื่อความยั่งยืน กล่าวว่า ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐานของโควิด-19 ทั่วโลก อยู่ที่ระหว่าง 2 และ 3 ในสลัมของอินเดียอาจสูงกว่านั้นราวร้อยละ 20 เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด

เมื่อวันเสาร์ หลังเกิดกระแสการหลั่งไหลของแรงงานอพยพในอินเดีย ทางการรัฐอุตตรประเทศ, พิหาร และหรยาณา ได้สั่งให้มีการจัดเตรียมรถบัสหลายร้อยคัน เพื่อส่งพวกเขากลับบ้าน จนตามสถานีขนส่งต่างๆ เต็มไปด้วยสภาพโกลาหล ผู้คนต่างแย่งกันเพื่อขึ้นรถ ทำให้นายโมดีต้องเรียกร้องให้รัฐต่างๆ ปิดพรมแดน เพื่อมิให้ไวรัสแพร่กระจายไปตามพื้นที่ชนบท ตอนนี้ เจ้าหน้าที่ต่างกำลังเร่งหาตัวแรงงานนับล้านคนที่เดินทางกลับถึงบ้านแล้ว เพื่อกักตัวพวกเขาเป็นเวลา 14 วัน

อย่างไรก็ตาม “เซีย” ไม่สามารถหารถบัสกลับบ้านได้ ทางเลือกเดียวของเธอในตอนนี้คือ การต้องอยู่ในสลัมโดยไม่มีรายได้ต่อไป

เธอบอกว่า หลังจากงานทุกอย่างหยุด เราก็จะไม่มีค่าจ้างอีก 20 วัน เธอเคยมีรายได้วันละ 160 บาท ที่เอามาเลี้ยงครอบครัว แต่ตอนนี้ทุกอย่างปิดหมด เธอก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องอยู่กับความยากจนและความสกปรกในเมืองนี้ต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า