SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนอาจจะคิดว่าคนไทยทุกวันนี้ทาน ‘บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป’ เยอะมากแล้วใช่หรือไม่? แต่รู้ไหมว่า สัดส่วนการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหากคิดเป็นจำนวนห่อหรือซองต่อปี รวมๆ กันทั่งโลกแล้วมากถึง 120,000 ล้านห่อ

ซึ่งเป็น ‘ประเทศไทย’ เพียง 4 ล้านห่อต่อปี และอยู่ในอันดับ 9 ของผลสำรวจจากทั่วโลก จากตัวเลขประมาณการของ World Instant Noodles Association (WINA) ที่เปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา

 

[ ญี่ปุ่นคิดค้น แต่คนจีนทานเยอะสุด ]

จะพูดว่าการเติบโตของบะหมี่กึ่งสำเร้จรุปขึ้นอยู่กับแง่ ‘ประชากร’ อย่างเดียวก็คงไม่ถูกทั้งหมด เพราะข้อมูลของ WINA ระบุว่า ประเทศจีนร่วมกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มีอัตราการทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเป็นอันดับ 1 ประมาณ 42,000 ล้านห่อต่อปี อย่างไรก็ตาม จีน ไม่ใช่ประเทศทีมีประชากรมากที่สุดในโลก แต่เป็น ‘อินเดีย’

ขณะที่อันดับ 2 รองลงมา ได้แก่ ‘อินโดนีเซีย’ ซึ่งมีจำนวนการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปราวๆ 14,500 ล้านห่อต่อปี

ส่วนอันดับ 3, 4 และ 5 ได้แก่ อินเดีย ราวๆ 8,700 ล้านห่อ, เวียดนาม ประมาณ 8,100 ล้านห่อ และอันดับ 5 คือ ญี่ปุ่น การบริโภคอยู่ที่ 5,800 ล้านห่อ (แชมป์เก่าหลายปีก่อน และยังเป็นประเทศต้นกำเนิดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วย)

อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะมีคนแย้งว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลายๆ ข้อมูลบอกว่าต้นกำเนิดมาจาก ‘จีน’ ซึ่งก็มีส่วนถูก แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นห่อแบบสมัยใหม่พบว่า ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกโดยคนญี่ปุ่น

นามว่า โมโมะฟูกุ อันโดะ (Momofuku Ando) เขาได้ฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ซึ่งแบรนด์ในเวลานั้นที่เขาคิดค้นขึ้นก็คือ นิชชิน (Nissin) วางขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 1958 ภายใต้บริษัทของเขาเองในชื่อ Nissin

โดยไอเดียเริ่มต้นของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็มาจาก ‘ความขาดแคลนอาหารแห้ง’ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในญี่ปุ่น การขาดอาหารทำให้คนญี่ปุ่นล้มตายกันไปเยอะ ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลแก้ปัญหาด้วยการนำเข้า ‘ขนมปัง – บิสกิต’ จากสหรัฐอเมริกา แต่สำหรับ ‘อันโดะ’ เขากลับครุ่นคิดว่า ทำไมรัฐบาลไม่สนับสนุนให้คนญี่ปุ่นผลิตอาหารแห้งเป็นของตัวเอง ทั้งที่คนญี่ปุ่นชอบทาน ‘ราเมน’ แต่ก็ต้องทานขนมปัง และบิสกิตในชีวิตประจำวันแทน

จนเกิดเป็นไอเดียให้เขาทดลองทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือราเมน จุดสำคัญคือ ต้องสามารถทำกินเองได้ที่บ้านแค่เติมน้ำร้อน และต้องใช้เวลาไม่นาน ซึ่งมีจุดประสงค์คือ เก็บได้นาน, รสชาติดี, ถูกสุขอนามัย และสะดวกสบายสำหรับคนญี่ปุ่น (เพระาไม่รู้ว่าสงครามจะลากยาวมากแค่ไหน)

แต่แล้วปี 2023 บะหมี่กึงสำเร็จรูปของอินโดนีเซียที่ชื่อว่า ‘Indomie’ กลายมาเป็นสินค้าที่ต้องมีติดทุกบ้าน หลายเป็นสินค้ายอดฮิตที่ทั้งคนในประเทศ และนอกประเทศชื่นชอบ และในที่้สุดยอดขายก็แซงหน้า Nissin

[ รู้จัก Indomie ของอินโดนีเซีย ]

เชื่อว่าน่าจะมีคนไทยหลายคนที่อาจจะยังไม่รู้จัก Indomie บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเจ้าดังของอินโดนีเซีย และเป็นผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน บทความนี้เราจะมาขยายความพาไปรู้จักกับแบรนด์นี้มากขึ้น และไขข้อสงสัยว่าทำไมใครๆ เริ่มนิยมทานมากขึ้น

Indomie บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อายุอานามน้อยว่า Nissin ของญี่ปุ่น โดยก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มซาลิม (Salim) บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ตระกูลซาลิม ได้เปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชื่อแบรนด์ว่า ‘Indomie’ ซึ่งตอนนั้นมีเพียงรสชาติเดียวที่เปิดตัวก็คือ ‘Kaldu Ayam’ หรือ รสไก่

สมัยนั้นต้องพูดว่า ยังไม่มีใครในอินโดนีเซียคาดหวังว่า Indomie จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากชาวอินโดนีเซียไม่ใช่ประเทศที่กินข้าวสาลี หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่เป็นประเทศที่กินข้าวเป็นหลัก แต่ด้วยความที่การเปิดตัวของ Indomie ด้วยราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับอาหารหลักของชาวอินโดฯ จึงทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้คนกล้าที่จะเปิดใจลอง Indomie มากขึ้น

จากนั้นประมาณ 10 ปีได้ Indomie ตัดสินใจเปิดตัวรสชาติใหม่อีกครั้ง คือ ‘Mi Goreng’ (หรือรสบะหมี่ผัด) ทำให้ตลาด Indomie คึกคักมากกว่าเดิม เหตุผลแรกคือ แบรนด์ใช้เวลานานมากๆ ในการเปิดตัวรสชาติใหม่ และ 2 ก็คือเป็นรสชาติที่เข้าถึงผู้บริโภคทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลายเป็นสินค้าที่ขายดีในหลายประเทศอาเซียนตั้งแต่วันแรกๆ ที่เปิดตัว

ความนิยมของ Indomie เห็นได้ชัดจากปริมาณ ‘การส่งออก’ กว่า 15,000 ล้านห่อสู่ 60 ประเทศทั่วโลก

แม้แต่ชาวอินโดนีเซียเองก็ยังบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากจีน+ฮ่องกง) โดยยอดบริโภคทั้งประเทศรวมกันอยู่ที่ 14,500 ล้านห่อต่อปี 

ซึ่งแน่นอนว่า Indomie เป็นแบรนด์ที่ติดลิสต์ความนิยมสูงสุดในประเทศนั่นเอง

Indomie มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ในอินโดนีเซีย อยู่ที่ 72% และมียอดขายที่น่าประทับใจในปี 2020 อยู่ที่ 2,340 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 9 เดือนแรก ซึ่งรายงานผลประกอบการของ Indomie พบว่า มียอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศด้วย

สำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกในปี 2024 มีมูลค่ามากถึง 61,080 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตแตะ 98,260 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2032 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 6.12% โดยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะครองส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดราวๆ 85.81% จากนั้นเดาว่าตลาดของ Indomie อยู่ที่ ‘ไนจีเรียและประเทศในยุโรป’

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า