SHARE

คัดลอกแล้ว

ในตอนนี้หลายคนอาจกำลังรอติดตามตอนใหม่ของซีรีส์เกาหลี Start-Up ซึ่งกำลังเข้มข้น แต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แวดวงสตาร์ทอัพเพิ่งมีข่าวดีที่มีบริษัทสตาร์ทอัพก้าวเข้าสู่ระดับยูนิคอร์นทะลุ 500 บริษัททั่วโลกแล้ว โดยในจำนวนกว่า 500 บริษัท มีบริษัทที่ตั้งในอาเซียนอยู่ 9 บริษัทด้วยกัน ส่วนใหญ่อยู่ในอินโดนีเซีย

วันนี้ workpointTODAY จะเจาะลึกกันว่า ทำไมอินโดนีเซียถึงกลายเป็นแหล่งเติบโตชั้นดีของสตาร์ทอัพจนก้าวขึ้นสู่ระดับยูนิคอร์นได้

🦄 อันดับแรกทำความเข้าใจถึงคำว่าสตาร์ทอัพและยูนิคอร์นกันก่อน โดยสตาร์ทอัพนั้น ตามความหมายกว้างๆ ก็คือบริษัทที่เริ่มต้นจากคนไม่กี่คน มีโมเดลธุรกิจที่สามารถทำให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จนมีนักลงทุนสนใจร่วมลงทุน ซึ่งแม้จะไม่มีการนิยามว่าธุรกิจประเภทไหนจะเข้าข่ายสตาร์ทอัพ แต่ในยุคนี้ส่วนใหญ่ธุรกิจสตาร์ทอัพมักเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี

🦄 สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมักถูกประเมินจากมูลค่าบริษัท โดยจะมีคำเรียก เช่น ยูนิคอร์น นอกจากนี้ยังมีคำเรียกอื่นๆ ตามมูลค่าบริษัท ดังต่อไปนี้

💰 โพนี คือสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
💰 เซนทอร์ คือสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
💰 ยูนิคอร์น คือสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
💰 เดเคคอร์น คือสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
💰 เฮกโตคอร์น คือสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

🦄 ข้อมูลจาก CB Insights ระบุว่า ในตอนนี้มีสตาร์ทอัพระดับเฮกโตคอร์น หรือมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพียงบริษัทเดียวคือ ByteDance เจ้าของแอปพลิเคชัน TikTok ส่วนสตาร์ทอัพระดับเดเคคอร์น หรือมีมูลค่าเกิน 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีอยู่ 27 บริษัท เช่น SpaceX , Airbnb และ DJI เป็นต้น

🦄 ในจำนวนสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นกว่า 500 บริษัททั่วโลก เกือบครึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐฯ รองลงมาอยู่ในจีน นอกจากนี้ยังมีประเทศอย่างอังกฤษ อินเดีย เยอรมนีและเกาหลีใต้ ที่มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นติดอันดับต้นๆ ของโลก

🦄 แต่ถ้าหากเจาะลึกลงมาอยู่ในระดับอาเซียน พบมี 3 ประเทศเท่านั้นที่มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นตั้งอยู่ ได้แก่ อินโดนีเซีย 🇮🇩 สิงคโปร์ 🇸🇬 และฟิลิปปินส์ 🇵🇭 โดยมีบริษัทที่เข้าเกณฑ์เป็นยูนิคอร์นในอาเซียนทั้งสิ้น 9 บริษัท ได้แก่

1️⃣ Grab 🇸🇬
มีมูลค่า 14,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับแอพฯ ขนส่ง
2️⃣ Gojek 🇮🇩
มีมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับแอพฯ ขนส่ง
3️⃣ Tokopedia 🇮🇩
มีมูลค่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับขายสินค้าออนไลน์
4️⃣ HyalRoute 🇸🇬
มีมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครือข่ายสื่อสาร
5️⃣ Bukalapak 🇮🇩
มีมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับขายสินค้าออนไลน์
6️⃣ Traveloka 🇮🇩
มีมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับจองตั๋ว,ที่พัก
7️⃣ Ovo 🇮🇩
มีมูลค่า 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับรับ-จ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
8️⃣ Trax 🇸🇬
มีมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับ AI
9️⃣ Revolution Precrafted 🇵🇭
มีมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำธุรกิจเกี่ยวกับบ้านสำเร็จรูป

🦄 จะเห็นได้ว่าสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นส่วนใหญ่ในอาเซียนตั้งอยู่ในอินโดนีเซียมากถึง 5 บริษัท และส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทที่เกิดขึ้นจากคนในประเทศจริงๆ จนกลายเป็นคำถามขึ้นมาว่า ทำไมอินโดนีเซียถึงกลายเป็นฐานการเติบโตของสตาร์ทอัพในอาเซียน

🦄 อินโดนีเซียก็เหมือนกับหลายประเทศที่ธุรกิจเทคโนโลยีค่อยๆ เติบโตขึ้นจากยุคดอทคอม จนกระทั่งในปี 2553 กระแสธุรกิจสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียเริ่มก่อตัวขึ้น ทำให้เกิดบริษัทอย่าง Gojek และ Traveloka ซึ่งมีโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์คนอินโดนีเซีย อีกทั้งยังเป็นโมเดลธุรกิจที่สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่ใช่แค่ในอินโดนีเซีย แต่ยังสามารถขยายตัวไปในภูมิภาคอาเซียนได้ด้วย

🦄 ความสำเร็จของบรรดาสตาร์ทอัพยุคเริ่มต้น ทำให้หนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียมีแรงบันดาลใจ พยายามสร้างสตาร์ทอัพของตัวเองขึ้นมา ขณะเดียวกันความสำเร็จที่สตาร์ทอัพรุ่นพี่ปูทางเอาไว้ให้ ยังเป็นเหมือนการชี้ชวนให้บรรดานักลงทุนต่างชาติสนใจสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียเป็นพิเศษ จนทุ่มเงินเข้าไปในอินโดนีเซียจำนวนมาก

🦄 จากสถิติในปี 2555-2560 พบว่าเม็ดเงินลงทุนสำหรับสตาร์ทอัพในอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นจาก 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

🦄 นอกจากภาคเอกชนแล้ว รัฐบาลอินโดนีเซียยังเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสตาร์ทอัพ โดยเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลอินโดนีเซียพยายามแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทให้ง่ายขึ้น เพื่อเอื้อต่อบรรดาธุรกิจเกิดใหม่ ขณะเดียวกันยังพยายามให้สตาร์ทอัพเข้าถึงงบประมาณของรัฐบาลอินโดนีเซียได้ หากพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เข้าเกณฑ์ เช่นการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา ให้กับสตาร์ทอัพที่พัฒนาแอปฯ เกี่ยวกับการเรียนรู้ เป็นต้น

🦄 แต่เส้นทางสู่ยูนิคอร์นในอินโดนีเซียก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะในตอนนี้เริ่มมีความกังวลถึงเม็ดเงินลงทุนที่ไม่กระจายไปยังสตาร์ทอัพรายใหม่ๆ เนื่องจากในตอนนี้นักลงทุนต่างทุ่มเงินเพื่อสร้างความเติบโตให้กับสตาร์ทที่มีอยู่เดิมมากกว่า ขณะที่นักลงทุนบางรายก็ต้องทบทวนการลงทุนกับสตาร์ทอัพในอินโดนีเซีย หลังลงทุนไปแล้วไม่เห็นผลตามที่คาด

🦄 อัลดี เอเดรียน ผู้จัดการหน่วยลงทุน MDI Ventures เขียนบทความลงในนิคเคอิ เอเชีย เสนอว่า บรรดานักลงทุนควรหันกลับมาสนใจสตาร์ทอัพน้องใหม่ และอาจต้องช่วยผลักดันให้มีนักลงทุนสัญชาติอินโดนีเซียมากขึ้น จากเดิมที่พึ่งพาเงินลงทุนจากต่างชาติเป็นหลัก ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบให้เอื้อต่อการเกิดสตาร์ทอัพรายใหม่ๆ ซึ่งอาจหมายถึงการตั้งกองทุนของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพ เหมือนกับที่สิงคโปร์และมาเลเซียกำลังเริ่มทำแล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า