SHARE

คัดลอกแล้ว

นั่งเรียนออนไลน์เป็นเวลานานแล้วปวดหลัง จึงอยากสร้างเบาะรองนั่ง เพื่อเป็นตัวช่วยในการนั่งให้ถูกวิธี ช่วยไม่ให้เกิดอาการปวดหลังจากการนั่งผิดท่าหรือนั่งเรียน นั่งทำงานเป็นเวลานาน…

คือจุดเริ่มต้นในการคิดค้นนวัตกรรมของ ด.ช.พิชชากร อรพิมพันธ์, ด.ญ.พัทธ์ธีรา อรพิมพันธ์ และ ด.ญ.พัทธวรรณ พิบูลธรรม นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม รวมกลุ่มเพื่อนๆ ที่ชอบและอยากทำสิ่งประดิษฐ์ ลงมือคิดค้นพัฒนาจนได้ นวัตกรรมเบาะรองนั่ง ‘หลังพร้อม’ ตอบโจทย์ผู้ที่มีปัญหาอาการปวดหลังจากการนั่งผิดท่า หรือนั่งนานๆ

คว้ารางวัล Grand Prize รางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน “Seoul International Invention Fair 2022” (SIIF 2022) จัดโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) เมื่อวันที่ 16-19 พ.ย. 65 ณ Coex Convention & Exhibition Center กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

โดยมี อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ อาจารย์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และรุ่นพี่ของโรงเรียน ซึ่งเป็นนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คอยให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา

สำหรับการทำงานของเบาะรองนั่ง นวัตกรน้อย บอกว่า “จะมีกล่องควบคุมที่ติดตั้งไว้กับเบาะและมีเซนเซอร์ 6 ตัว ที่เบาะนั่ง 2 ตัว บริเวณหลังพิงอีก 4 ตัว เพื่อตรวจจับการนั่งของเรา ถ้านั่งไม่สมดุลเป็นเวลานาน เครื่องจะดังแจ้งเตือนให้เราทราบ ซึ่งตัวเครื่องสามารถบันทึกการใช้งาน เก็บข้อมูลการนั่งในแต่ละวัน ตั้งเวลาการนั่ง บอกน้ำหนักการนั่งแต่ละข้าง โดยใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชัน Oh My Back! ที่สามารถตั้งเป้าหมาย มีการแข่งขันเป็นเกม สะสมคะแนน และแลกของรางวัลได้”

อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ ประธานศูนย์นวัตกรรมแห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม อาจารย์ที่ปรึกษาของน้องๆ กลุ่มนี้ เล่าว่า ทางโรงเรียนได้ส่งผลงานนวัตกรรมของนักเรียน เข้าร่วมการประกวดในต่างประเทศเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ทางโรงเรียนได้ส่งผลงานของนักเรียนเข้าประกวดในงาน SIIF 2022 และได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เป็น 1 ใน 71 ผลงานที่เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปประกวดที่ประเทศเกาหลี ซึ่งนวัตกรรมเบาะรองนั่ง ‘หลังพร้อม’ เป็นผลงานนวัตกรรมของนวัตกรที่อายุน้อยที่สุด คือเป็นนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพียงทีมเดียวที่เข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้

ในการส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ว่า ควรเริ่มจากให้นักเรียนมองปัญหาต่างๆ จากสิ่งรอบตัว และคิดค้นวิธีการในการแก้ปัญหานั้นๆ ทางอาจารย์จะช่วยนักเรียนในการค้นหาวิธีการและกระบวนการต่างๆ เท่านั้น ส่วนเรื่องความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่มีข้อจำกัดทางด้านอายุ ซึ่งนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ ก่อนไปแข่งขันได้ช่วยนักเรียนซักซ้อมการนำเสนอผลงาน ซึ่งนักเรียนทั้งสามนำเสนอผลงานได้ดีเป็นที่ประทับใจของคณะกรรมการอย่างยิ่ง

ที่มา : สาธิตจุฬาฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า