SHARE

คัดลอกแล้ว

ขอบคุณภาพจาก เพจ Thai NavySEAL

“ความยากน่าจะเป็นความแคบของถ้ำ และความเย็นของน้ำ เพราะว่าเรามองอะไรไม่เห็น ตอนที่เข้าไปก็กังวลเช่นกันแต่ก็พยายามตั้งสติในการทำงาน ไปตามแนวเชือกที่วางไว้”

ความท้าทายที่มาพร้อมกับอุปสรรคที่มนุษย์กบ 1 ใน 4 คน ของชุดปฏิบัติการแรกต้องเผชิญ หลังจากรับหน้าที่ดำน้ำค้นหาช่องทางเข้าถ้ำหลวง เพื่อช่วยชีวิตนักฟุตบอลและผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ทีมหมูป่าอะคาเดมี่ รวม 13 คน ที่ประสบเหตุติดภายในวนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตามคำบอกเล่าของนายเวิร์น อันสเวิร์ธ ผู้สำรวจและทำแผนที่ถ้ำหลวง ชาวอังกฤษ

แม้ว่านักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือ มนุษย์กบ จากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ จะเชี่ยวชาญเรื่องการดำน้ำและมีร่างกายที่แข็งแกร่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การดำน้ำในถ้ำด้วย เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็น 4 คนแรก ในการดำน้ำเข้าถ้ำเพื่อหาช่องทางหรือ ประตูทางเข้าพื้นที่ชั้นใน ก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดตามที่ได้ถูกฝึกมา จุดแรกของสามแยกที่ นายเวิร์น อันสเวิร์ธ มั่นใจว่ามีช่องทางมุดลอดไปได้แล้วเด็กอาจจะอยู่ฝั่งตรงข้าม ณ เวลานั้น กลับไม่มีช่องทางที่ว่านี้แล้ว เพราะถูกปิดทับด้วยตะกอนทราย จากถูกน้ำพัดมาจากฝั่งขวาซึ่งเป็นทางน้ำจากบ้านผาหมี

ลักษณะของจุดสามแยก ระดับน้ำสูงประมาณพ้นศรีษะ หากยกมือก็ปริ่มพอดี สังเกตไม่เห็นช่องทางด้วยตาเปล่า เพราะมีความมืด แม้แต่ดำน้ำลงไปแล้วก็ยังไม่พบช่องทางที่ระบุไว้

  • ถอดถังออกซิเจนออก ใช้ปากลากขวดอากาศดำน้ำลอดช่องแคบ

ภารกิจการหาช่องทางเพื่อมุดลอดเข้าไปให้สำเร็จนี้ เป็นงานที่ไม่ง่ายตามที่คาดคิด ยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร เหมือนถูกปิดตา งมหากุญแจไขประตูเปิดถ้ำ ฉันใดก็ฉันนั้น มนุษย์กบหนุ่มผู้ขอสงวนนามและหน้าตาคนนี้ เล่าต่ออีกว่า กว่าจะหาช่องทางนี้เจอต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายในการควานหา อุปกรณ์ที่ดีที่สุดในเวลานั้น ก็คือเท้า ในการใช้ตะกุยทรายจนพบโพรงได้สำเร็จ เปิดประตูสามแยกเข้าสู่พื้นที่ชั้นในถ้ำหลวง

แน่นอนว่าเมื่อเจอโพรงแล้ว ความพยายามในการทะลวงมุดข้ามไปให้ได้ย่อมมีมากขึ้น เพราะข้อสันนิษฐานมั่นใจว่าเด็กจะยืนรออยู่ฝั่งตรงข้าม

ยุทธวิธีในการลอดช่องแคบนี้ให้ได้ นั่นคือต้องเสี่ยงถอดขวดอากาศออก แล้วใช้เท้าดันเข้าไปแล้วลากขวดอากาศตาม ระยะทางยาวประมาณ 10 -15 เมตร ถึงจะไปโผล่อีกฝั่งนึง แต่เมื่อโผล่ฝั่งตรงข้ามแล้วกลับไม่พบเด็กยืนรอดังหวัง มีเพียงรอยเท้าของเด็กและรอยมือตามผนังถ้ำที่เปื้อนโคลน และเชือกสายเปลตามทางน้ำ

“พอผ่านไปได้ ก็รู้สึกดีใจ ที่ยังหาช่องนี้เจอ เพราะจากที่เล่ามา ไปเจอฝั่งนั้น ก็ติดต่อกับฝั่งสามแยกนี้ไม่ได้ ที่จะไปฝั่งนั้น ก็จะมีพวกผม 3 – 4 คน บรรยากาศช่วง 10 -15 เมตร มันมืดหมดเลย แต่ดีที่มีไฟฉายไปด้วย และน้ำเย็นมาก”

จังหวะที่มุดลงไปเหมือนดำน้ำในท่อน้ำเย็นขนาดใหญ่ มีกระแสน้ำไหลแรงราวกับเปิดก็อกน้ำมาปะทะร่างกายตลอดเวลา การเข้าไปทำงานครั้งนี้ใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าๆ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วจนแทบมุดลอดกลับมาโถง 3 ไม่ทัน

  • ภารกิจถ้ำหลวง เหมือนถูกปิดตานำไปทิ้งหาวิธีเอาชีวิตรอด

แม้ว่าจะเคยผ่านการฝึกฝนเฉียดตายจนไร้ความกลัว จากหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ของศูนย์การฝึกสงครามพิเศษทางเรือ แต่ก็ล้วนเป็นการทำงานพื้นที่กว้างในทะเล ที่สามารถจะมองเห็นกันได้ หากเปรียบกับภารกิจในถ้ำหลวง ซึ่งน้ำความขุ่นมาก มนุษย์กบหนุ่มคนนี้ กลับยอมรับว่า “เหมือนถูกปิดตาแล้วเอาไปไว้ในที่ที่ไม่เคยไป มันมืดมองอะไรไม่เห็นเลย”

การปฏิบัติภารกิจ แม้ว่าจะมีความกลัว แต่ก็ต้องขจัดออกไปให้ค่อยๆเริ่มชิน เพราะไปช่วงแรกหน่วยซีลมีเพียง 17 นาย จำเป็นต้องขนขวดอากาศเอง จากจุดแรกไปสามแยกประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร จึงค่อนข้างลำบากด้วยอุปสรรคของเส้นทาง

 

  • 18 วันเสี่ยงตาย ไม่ใช่ฮีโร่

ตลอดช่วงระหว่างวันที่ 23 มิ.ย. – 1. ก.ค. 2561 ของภารกิจช่วย 13 ชีวิตทีมหมูป่า จนทำให้ตัวเองต้องบาดเจ็บ แต่ความรู้สึกวันแรกของคนที่อยู่แนวหน้า เมื่อทราบข่าวว่าเด็กออกมาได้อย่างปลอดภัย แน่นอนว่าทุกคนดีใจที่ได้เจอน้อง ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจนี้  พร้อมกับย้ำว่าไม่ใช่ซีลเป็นฮีโร่ แต่คนทั้งประเทศเป็นฮีโร่ เพราะทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดี

นาวาเอก อนันต์ สุราวรรณ์ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ

  • ค้นพบศาสตร์ใหม่ของการกู้ภัยทางน้ำ

นาวาเอก อนันต์ สุราวรรณ์ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ หัวหน้าชุดหน่วยซีล ผู้นำกำลังพลหน่วยซีลและอุปกรณ์เข้าช่วยเหลือทั้ง 13 ชีวิต คอยรับช่วงการบัญชาการอยู่แนวหน้า ในโถง 3 ของถ้ำหลวง ระบุว่า สิ่งที่ได้จากการทำงานครั้งนี้ คือการค้นพบศาสตร์ใหม่ของการกู้ภัยทางน้ำ ที่ไม่ใช่แค่ทางทะเล หรือแค่แม่น้ำ ที่เป็นพื้นที่เปิดเท่านั้น แต่ประสบการณ์ครั้งนี้ ทำให้หน่วยซีลเองต้องพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถตัวเองให้มีความพร้อมที่จะทำงานในลักษณะนี้ทั้งเรื่องบุคคล องค์ความรู้ และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานและแต่ละภารกิจต่อไป

ในอนาคตจะเพิ่มหลักสูตร พัฒนาขีดความสามารถ ไม่ใช่แค่เรื่องดำน้ำในถ้ำ แต่ต้องการปีนป่ายหน้าผา การโรยตัว โดยเป็นการตั้งชมรมใหม่ในหน่วย แล้วส่งตัวแทนไปศึกษาอบรมจากผู้เชี่ยวชาญแล้วนำความรู้นั้นมาถ่ายทอด

“ ถ้าเรามองว่าองค์ความรู้ที่เราได้จากการฝึกในหลักสูตร แล้วเราเอามาใช้ในการปฏิบัติงานที่ถ้ำหลวงนี้ขนาดไหน สิ่งที่เราฝึกคนมาตั้งแต่เป็นนักเรียนจนถึงงานนี้เราเห็นได้ชัด คือ สภาพของจิตใจพร้อมที่จะเสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพราะไม่มีประสบการณ์ดำน้ำในถ้ำ ” น.อ. อนันต์ กล่าว

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม >>>

INSIGHT ใต้น้ำถ้ำหลวง ตอน 1 : นาทีชีวิต กับ 18 วัน ภารกิจเสี่ยงตาย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า