SHARE

คัดลอกแล้ว

นวัตกรรมสุดล้ำจำนวนมากจากหลากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและนานาชาติ  ที่พร้อมใจกันส่งมาสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการช่วย 13 ชีวิต นักฟุตบอลและผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ทีมหมูป่าอะคาเดมี่ ณ วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ดำน้ำ ROV โดรนติดกล้องตรวจจับความร้อน จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.), ทีวีบอลโฮ จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล, “WMApp” แอปพลิเคชั่นตรวจสอบสภาพอากาศ โดยทีมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.), เครื่องไดโว, เครื่องสูบท่อซิ่งหัวพญานาค, อุโมงค์ผ้าใบ, กล้องสแกนถ้ำ RSK Rescue, Heyphone ของนักดำน้ำชาวอังกฤษ, ถังอากาศวนอากาศ Rebreather หรือแม้แต่นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐี เจ้าของธุรกิจผลิตจรวด SpaceX ยังเดินทางมาเสนอประดิษฐ์ “เรือดำน้ำจิ๋ว Mini-sub” ให้ใช้ในการกู้ภัยครั้งนี้ด้วยตัวเอง ยังไม่นับรวมผ้าห่มฉุกเฉิน และพาวเวอร์เจลที่ใช้สำหรับฟื้นฟูร่างทั้ง 13 คน ณ เนินนมสาว

แม้ว่าสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีบางอย่างจะไม่ได้ถูกนำมาใช้ในภารกิจครั้งนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า น้ำใจจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามายังถ้ำหลวง จ.เชียงราย นี้ มหาศาลอย่างยิ่ง

นาวาเอก อนันต์ สุราวรรณ์ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ

  • คิดแบบไทยประดิษฐ์ สู้วิกฤตถ้ำหลวง

อุปกรณ์ช่วยชีวิตสุดไฮเทคจำนวนมาก แต่ก็ไม่อาจเทียบเท่าความรู้ความสามารถของกำลังพลที่เดิมพันด้วยชีวิตในการรับหน้าที่อย่างสุดความสามารถ นาวาเอก อนันต์ สุราวรรณ์ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ผู้ได้รับมอบหมายจาก พล.ร.ต.อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ หรือ ผบ.หน่วยซีล ให้ดำน้ำเข้าถ้ำนำมนุษย์กบ 17 นายพร้อมช่วยเหลือทั้ง 13 ชีวิต รับช่วงการบัญชาการอยู่แนวหน้าโถง 3 เผยว่า จากข้อสันนิษฐานแรกตอนได้รับคำสั่ง ไม่คาดคิดว่าจะเป็นงานยากขนาดนี้ อุปกรณ์ที่ใช้เวลาเตรียมการแค่ 3 ชั่วโมงก่อนบินมาจากสนามบินอู่ตะเภา จึงเป็นอุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำเบื้องต้น ไม่คิดว่าจะต้องดำน้ำแล้วจะต้องใช้ขวดอากาศประกอบตัวเองไปด้วย ซึ่งมนุษย์กบแต่ละนายต้องดำน้ำพร้อมลากขวดอากาศไปด้วย รวมของตัวเองแล้ว บางนายต้องรับผิดชอบมากถึง 6 ถัง

“ เราได้เห็นนักดำน้ำต่างชาติมีสายฮาร์เนส ที่สามารถเกี่ยวขวดไปได้หลายขวด แต่ของเราไม่มี เราก็ได้เอาเชือกมาถัก เป็นห่วงเป็นอะไรไป ที่สามารถเอาขวดมาเกี่ยวได้ นี่ก็เป็นการดัดแปลง โชคดีที่ว่าทีมงานของเรามีไอเดียและถักเชือกเก่ง โดยนำสายเชือกที่ใช้วางแนวเชือกในถ้ำเอามาดัดแปลงผูกเงื่อนเอา ให้สามารถเกี่ยวขวดได้ไป 3 – 4 ขวด เหมือนต่างชาติ ”  น.อ. อนันต์ สุราวรรณ์ กล่าว

ขอบคุณภาพ จากเพจ Thai NavySEAL

  • “แม้จะอันตรายเท่าชีวิต แต่ภารกิจต้องสำเร็จ” SEAL (Sea Air Land) 

เมื่อได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “นักทำลายใต้น้ำจู่โจม” การทำลายข้อจำกัดเรื่องขาดอุปกรณ์ที่เหมาะสม ในเวลาที่เดิมพันด้วยชีวิต วิธีแบบไทยประดิษฐ์จึงเป็นคำตอบที่ดีและนำมาใช้จริงในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์โลกครั้งนี้ นั่นคือ การถักเชือกผูกเงื่อน ให้คล้ายกับชุดสายรัดตัว (Harness) ที่นักดำน้ำต่างชาติใช้ จนสามารถแขวนขวดอากาศ ดำน้ำลำเลียงเข้าไปวางตาม 3 จุดหลักในถ้ำได้นับร้อยขวด จนช่วยชีวิตทั้ง 13 คน ได้ปลอดภัยลุล่วงไปได้ด้วยดี  

ภารกิจสุดหฤโหดนี้ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก้าวสู่ปากถ้ำ มนุษย์กบ 1 ใน 4 นาย ของชุดที่สองรับหน้าที่ในการค้นหาช่องทางและวางแนวเชือกนำทางตามหาทีมหมูป่าฯ ยอมรับว่า ครั้งแรกคิดว่าการหาเด็กติดถ้ำเป็นงานที่ไม่น่ายาก เพราะงานทางน้ำถือเป็นงานหลักของซีลอยู่แล้ว แต่เมื่อสัมผัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ทุกสิ่งเหมือนกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ

“ เหมือนการเรียนหลักสูตรใหม่ เรียนรู้ใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับศาสตร์ดำน้ำ เราคิดว่าดำลงไปแล้วสามารถใช้อากาศหายใจแล้วสามารถแก้ปัญหาได้ แต่กลับไม่ใช่เลย ” มนุษย์กบ กล่าว

อุปสรรคแรกที่พบ คือ หนึ่งมองไม่เห็น สองน้ำเย็น สามน้ำขึ้นตลอดเวลา อีกทั้งการส่งกำลังบำรุงขวดอากาศ ณ เวลานั้น เป็นไปได้ยากมากเพราะอุปกรณ์ยังไม่พร้อม 100% ทุกอย่างต้องนำมาดัดแปลง ปรับแต่งการโมดิฟายเอง แบบไทยประดิษฐ์ก็ว่าได้ แต่ด้วยหัวใจที่แน่วแน่ภารกิจต้องเดินหน้า มนุษย์กบนายนี้ ย้ำว่าต้องข้ามผ่านข้อจำกัดทุกอย่างให้ได้ เพราะรับคำสั่งมาแล้วว่าต้องไปหาเด็กให้พบ แม้ว่าเวลานั้นจะยากลำบากมากก็ตาม

จุดที่ยากที่สุด เริ่มต้นตั้งแต่ปากถ้ำ นับตั้งแต่วันแรกที่ไปดำน้ำ (24 มิ.ย. 61) เป็นวันที่กระแสน้ำแรงที่สุด ประกอบกับการทำงานในวันนั้น ยังไม่มีการผูกแนวเชือกตั้งแต่ปากถ้ำจนถึงโถง 3 อีกทั้งระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เขายอมรับว่าเกือบเอาชีวิตไม่รอดนับครั้งไม่ถ้วน ใช้เวลาดำน้ำยาวนานที่สุดคือ 12 ชั่วโมง ซึ่งไม่เคยดำน้ำต่อเนื่องนานขนาดนี้มาก่อน สถิติมากสุดแค่ 5 ชั่วโมงซึ่งเป็นการดำน้ำในทะเล จนเมื่อออกจากถ้ำสภาพร่างกายอ่อนล้า จนต้องพักให้น้ำเกลือที่ รพ.สนาม หน้าถ้ำหลวง เพราะวันถัดไปต้องเข้าไปดำน้ำต่อ

“ เราโดนน้ำไล่มาตั้งแต่สามแยก และเราไม่ได้วางแนวเชือกไว้ เพราะไม่รู้ว่าน้ำจะขึ้นเร็วขนาดนี้  อัตราการขึ้นของน้ำที่ได้วัดตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย การขึ้นของมันเริ่มตั้งแต่ 7 ซ.ม.ต่อชั่วโมง มาเป็น 15 ซ.ม. และ 30 ซ.ม. แรงที่สุดคือ 180 ซ.ม.ต่อชั่วโมง ที่มาทีเดียวจนถอยแทบไม่ทัน เพราะว่าน้ำมาแรงมาก และการดำเข้าไปตั้งแต่ช่องแรกไปน้ำแรงมาก ไม่ได้เดินเข้าไป หรือมุดเข้าไปง่ายๆ การนำแนวเชือกเข้าไปวาง ผมต้องเกาะท่อ เกาะหินย้อยเข้าไป คือ ไม่มีทางที่จะว่ายเข้าไปได้เลยครับ ”

การรบกับธรรมชาติที่ไม่รู้สถานการณ์ข้าศึก บางครั้งที่รู้สึกท้อ แต่หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจมกับความท้อเป็นของคู่กัน ที่ผู้ผ่านการฝึกซีลมาได้จะต้องสามารถขจัดความกลัว ความท้อ ความเหนื่อย ให้หมดไปได้ แม้ว่าการทำงานจะต้องเสียสละในหน้าที่ แต่ทั้งหมดต้องอยู่ในพื้นฐานกฎความปลอดภัยซีลไม่ใช่ทำงานด้วยความบ้าบิ่น

  • มีเพียงทะเลเท่านั้นที่รู้ว่าใครคือ ซีล

ตลอด 18 วันของภารกิจวาระแห่งโลก ระหว่างวันที่ 23 มิ.ย. – 10 ก.ค. 2561 ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย มนุษย์กบนายนี้บอกว่า เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุด แต่ทุกสิ่งจะสำเร็จด้วยดีไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยอื่นๆ เหล่าอื่นๆ ที่เยอะมาก และส่วนหลักสำคัญคือนักดำน้ำอังกฤษที่มาช่วยสนับสนุนทุกอย่าง

“ ถ้าอยากยกย่อง ผมอยากให้ยกย่องทุกหน่วยที่มาช่วย ถ้าจะให้เหรียญกล้าหาญผมอยากให้เหรียญกล้าหาญทุกคน ” มนุษย์กบ นายนี้กล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้มของความภาคภูมิใจ

แม้ว่าภารกิจนี้จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมีหน่วย SEAL เป็นหัวเรือใหญ่ หลายคนอาจได้ชื่นชมเห็นโฉมหน้าฮีโร่ในส่วนอื่น แต่สำหรับซีลแล้วเป็นหน่วยที่ต้องรักษาความลับขั้นสูงสุด เพราะภารกิจส่วนใหญ่เป็นความลับ จึงห้ามเปิดเผยชื่อและหน้าตาเด็ดขาด ดังนั้นจึงไม่มีใครได้เห็น ชื่อเสียงจึงอาจไม่ใช่เป้าหมายของผู้ที่ทำงานหน่วย SEAL หากเน้นไปที่การปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จมากกว่า เรื่องความลับของหน่วยนี้จนมีประโยคที่ว่า “มีเพียงทะเลเท่านั้นที่รู้ว่าใครคือ ซีล” แต่ ณ วันนี้อาจต้องใช้คำว่า “นอกจากทะเลแล้ว ยังมีถ้ำหลวงเท่านั้นที่รู้ว่าใครคือ ซีล”

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม>>>

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า