Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โลกดิจิทัลมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ รายได้ อาชีพ สวัสดิการและสุขภาพ การเรียนรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการผสมผสานชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยเข้ากับพลังและสีสันใหม่ๆ ในการร่วมสร้างความสุขและโอกาสบนโลกดิจิทัล ให้ผู้สูงวัยเป็นยังคงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่มีคุณค่าและแข็งแกร่งในการพัฒนาสังคมไทย

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) จัดงาน “Inspired Research Talk” ในหัวข้อ “ยังโอลด์ (Young-Old)…โอกาสบนโลกดิจิทัล” เป้าหมายเพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจสู่การสร้างสังคมสูงวัยบนโลกดิจิทัลให้กับผู้สูงวัยและเจนเนอเรชันเอ็กซ์ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงวัย รวมทั้งเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงวัยฐานวิถีชีวิตใหม่ที่มีโอกาสมากมายรอให้ทุกคนได้ไขว่คว้าบนโลกดิจิทัลโดยไม่มีขีดจำกัดด้านอายุ โดยมี อาจารย์ไศลทิพย์ จารุภูมิ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน จากนั้นมีการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ภาพรวมของสังคมสูงวัยกับเทคโนโลยีดิจิทัล” โดย ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “แรงบันดาลใจจากวิจัยสู่โอกาสผู้สูงวัยในสังคมดิจิทัล” โดย รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ 

ไศลทิพย์ จารุภูมิ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

“การเปลี่ยนมุมคิดผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสู่ Active Aging หรือผู้สูงอายุที่มีพลังและยังกระปรี้กระเปร่า ช่วยให้ผู้สูงอายุเห็นโอกาสของตนเองที่จะใช้เทคโนโลยีสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัล และช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถสร้างสังคมสูงวัยดิจิทัลอย่างยั่งยืน” รศ.ดร.พนม กล่าว

รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา หัวหน้าโครงการวิจัย และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภายในงานมีกิจกรรม Inspired Research Talk หัวข้อ “ยังโอลด์ (Young-Old) …โอกาสบนโลกดิจิทัล” โดยวิทยากรต่างรุ่นวัยจากหลายแพลตฟอร์มผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้สูงวัยที่ยังคงเปี่ยมล้นด้วยศักยภาพให้ยังคงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่มีคุณค่าและแข็งแกร่งในการพัฒนาและขับเคลื่อนสังคมไทยบนโลกดิจิทัล โดยมีหัวข้อการพูดคุย ดังนี้

เกรียงไกร ช่วยดำรงสกุล วิศวกรโยธาและยูทูบเบอร์ คุยกับลุงช่าง

[คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) กับรายได้หลังเกษียณ โดย วิศวกรโยธาและยูทูบเบอร์ล้านวิว ช่อง “คุยกับลุงช่าง”]

นายเกรียงไกร ช่วยดำรงสกุล วิศวกรโยธา เจ้าของยูทูบช่อง “คุยกับลุงช่าง” ได้พูดคุยบอกเล่าประสบการณ์ จากสายงานอาชีพวิศวกร สู่การสร้างคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับผู้คนบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับงานวิศวกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองถนัด

“ตอนแรกได้อ่านคอมเมนต์คนในอินเทอร์เน็ต แล้วรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง เราก็เลยเขียนอธิบายไปยืดยาว แต่ก็ยังมีคนเถียง เลยเกิดความคิดว่าจะเอาอย่างไรดี จะทำอย่างไรให้คนได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ก็เลยอัดคลิปนั่งถ่ายกันเองตรงหน้าบันได คลิปแรก ที่ลงยูทูบไปแสงมืดมาก นั่งย้อนแสง จากนั้นก็เริ่มพัฒนามาเรื่อยๆ และมีการตั้งเป้ากับน้องในทีมว่าจะพยายามทำให้ได้มากที่สุดเพื่อลงยูทูบ จนกระทั่งวันหนึ่งมีการแจ้งมาว่า ช่องของเราสามารถทำรายได้จากการเข้ารับชมได้แล้ว ทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจขึ้น ถึงเงินจะไม่เยอะเท่างานหลักที่ทำ แต่พบว่าเดือนต่อๆ มามันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำไปทำมาก็มีคนติดต่อเข้ามาขอสปอนเซอร์ มีลูกค้าเข้ามา งานแรกขายได้ที่ราคา 15,000 บาท แล้วจากนั้นลองเสนอราคาแพงขึ้น ก็มีคนซื้อ และได้มากสุดถึงราคาหลักแสนเลยทีเดียว” นายเกรียงไกร กล่าว

มะลิ สีดี แม่ค้าผ้าไหม เพจ “ผ้าไหม ป้ามะลิ บุรีรัมย์”

[ขายของออนไลน์…เรียนรู้ง่าย รายได้ปัง โดย แม่ค้าผ้าไหมคนงามถิ่นอีสาน เพจ ผ้าไหม ป้ามะลิ บุรีรัมย์]

นางมะลิ สีดี แม่ค้าผ้าไหมเพจ ผ้าไหม ป้ามะลิ บุรีรัมย์  ที่สร้างรายได้จากการขายผ้าไหมออนไลน์ในเฟซบุ๊ค โดยป้ามะลิ เล่าว่า เธอเริ่มจากการเป็นแม่ค้าผ้าไหมขายริมทาง ซึ่งก็มีลูกค้าบ้างไม่มีบ้าง กระทั่งวันหนึ่งได้เข้าร่วมอบรมการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย จึงเกิดแรงบันดาลใจขึ้นว่าจะใช้ช่องทางเฟซบุ๊กในการขายของ จึงตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนมาหลายเครื่อง เพื่อทำเพจในช่วงแรกๆ ที่เริ่มทำ ก็มีทำผิดๆ ถูกๆ บ้าง ลงรูปกลับหัวบ้าง จนมีลูกค้ามาคอมเมนต์ว่าให้กลับรูปก่อน แล้วก็ค่อยๆ ขยับมาถ่ายเป็นภาพเคลื่อนไหว ปรากฎว่าตั้งแต่ทำเพจมาขายดีมาก มีคนทักเข้ามาขอซื้อผ้าไหม ทั้งปลีกและส่ง จนทุกวันนี้ไม่ต้องมีหน้าร้านก็สามารถขายได้ ซึ่งนับเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงวัยก็สามารถใช้สื่อออนไลน์ได้ และยังสามารถสร้างเป็นอาชีพได้อีกด้วย

[Smart Living…สูงวัย อุ่นใจในบ้าน โดย สถาปนิกสมาร์ตลิฟวิง]

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงประเด็นสังคมผู้สูงวัย ในการออกแบบเพื่อสุขภาวะการอยู่อาศัยของผู้สูงวัย โดยชวนทุกคนร่วมออกแบบพื้นที่เพื่อ กาย ใจ และ สังคม โดยหยิบยกเรื่องการออกแบบเพื่อทุกคน หรือ Universal Design (UD) ที่คำนึงถึงเรื่องความสะดวก สบาย ปลอดภัย ภายในบ้าน ซึ่งเคยนำองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้กับบ้านเพื่อพ่อแม่ ออกแบบจนสร้างเสร็จแล้ว ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวเน้นความสะดวกสบาย ใกล้โรงพยาบาล เดินทางสะดวก

“พอถึงวันขึ้นบ้านใหม่ กลับตกม้าตาย เพราะว่าพ่อไม่ยอมมาอยู่ เขาบอกว่าบ้านนี้มีแต่ความสบายทางกายภาพ ขออยู่บ้านเดิมดีกว่า อยู่ใกล้ตลาด ใกล้บ้านเพื่อนด้วย ทำให้ต้องยกการออกแบบที่สร้างขึ้นในบ้านหลังใหม่ทั้งหมดนี้ ไปปรับปรุงในบ้านหลังเดิมของพ่อ ทำให้เกิดข้อค้นพบว่า นอกจากความสะดวกสบายทางกายภาพแล้ว ยังมีอีก 2 เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ คือ ความสุขทางใจ ที่ต้องการพบปะผู้คน สังคม มีพื้นที่ของตัวเอง การออกแบบต้องเชื่อมโยงต่อพื้นที่ความสุขทางใจ และความสุขทางสังคม ซึ่งสำคัญกับผู้สูงอายุมากเลย เพราะว่า ผู้สูงอายุต้องการพบปะสังคม เกื้อกูล และยังสามารถเข้ากับสังคมได้ดี หรือเรียกได้ว่าเป็น 3 พื้นที่ความสุขของผู้สูงวัย ใจสมาร์ท….สุขกาย สุขใจ สุขสังคม” รศ.ไตรรัตน์ กล่าว

[เชื่อมสัมพันธ์ต่างรุ่นวัย สไตล์ติ๊กต็อกเกอร์ โดย ติ๊กต็อกเกอร์ต่างรุ่นวัย Rungrangdiary”]

นะโม นางสาวชลิพา ดุลยากร เจ้าของ TikTok Rungrangdiary สาววัย 27 ปี มาในชุดคุณย่าสมัยทำงานเป็นครูใหญ่ ตัวแทนของช่อง ประกอบด้วย คุณย่ากระต่ายวัย 83 ปี, น้องสาวคนรอง ‘นะมามิ’ และ น้องชายคนเล็ก ‘สาธุ’ มาเล่าเรื่องราวของคุณย่ากระต่ายและน้องๆ ที่กลายเป็นดาวติ๊กต็อกในตอนนี้ ว่า ก่อนหน้านี้คุณย่ากระต่าย จะมี ipad ของตัวเองอยู่ 1 เครื่อง นั่งเล่นคนเดียวเหงาๆ คุย Line กับเพื่อนๆ ส่วนหลานๆ ก็จะต่างคนต่างมีกิจกรรมของตัวเอง ทำงาน เล่นโทรศัพท์ อยู่ในบ้านเดียวกัน และจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณย่าได้เข้ามาเล่นติ๊กต็อก คือ คลิปที่คุณย่าเดินทางมาหาหลานที่กรุงเทพฯ แล้วนะโมถ่ายคุณย่า ถามว่า “สาธุหล่อไหม” คุณย่าบอกว่า “ไม่หล่อเลย ไว้ผมแบบนี้ (หน้าม้า) ไม่หล่อ” ทำให้ผู้ติดตามชอบใจคุณย่า ที่ตอบสวนทางกับชาวโซเชียล ที่ต่างเข้ามาชมว่า น้องสาธุหล่อ จากนั้นก็ได้ถ่ายคลิปกิจกรรมต่างๆ ที่ทำกับคุณย่ามากขึ้น จนกลายเป็นกิจกรรมที่เราได้ทำกันในครอบครัว ซึ่งเป็นจุดเชื่อมคนต่างวัยในบ้าน ให้เข้ามาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และคุณย่าชอบเล่นเกม หลานก็จะหาเกมมาเล่นด้วย หรือบางครั้งก็หยิบชุดคุณย่ามาใส่บ้าง ซึ่งทำให้ครอบครัวอบอุ่นมากขึ้น

นะโม เล่าว่า ก่อนที่นะโมมาพูดแทนคุณย่าวันนี้ ก็สัมภาษณ์คุณย่ามาด้วย ถามว่า ก่อน-หลังเล่นติ๊กตอก ความสัมพันธ์ต่างกันอย่างไร คุณย่าบอกว่า  “บรรยากาศแต่ก่อนเงียบเหงามาก ดูชีวิตไม่ค่อยจะสดชื่นนัก ได้ลูกๆ หลานๆ มาช่วยสร้างบรรยากาศ ทำให้มีชีวิตชีวาขึ้น มีความสุข ได้ยิ้มหัวเราะเกือบทุกวัน เป็นยาหอมบำรุงหัวใจขนานเอก” และเมื่อถามว่า ถ้าจะบอกผู้สูงอายุด้วยกันให้เรียนรู้เทคโนโลยีแบบย่าจะพูดว่าอย่างไร ย่าตอบว่า “สนุก เป็นสุขขณะที่เรียนรู้ กำไรชีวิตในช่วงปลายชีวิต สมองโปร่งใส จิตใจแจ่มใส วันเวลาผ่านไปอย่างมีคุณค่า”

[โซเชียลมีเดีย…ต่างรุ่นต่างวัย แต่ใจแฮปปี้ โดย นักแสดงวัยรุ่นสายรักครอบครัว]

ปิดท้ายด้วยการพูดคุยกับ เบ้นซ์ นายณัฐพงศ์ ผาทอง นักแสดง จาก Series เรื่อง EN Of Love รักวุ่น ๆ ของหนุ่มวิศวะ ตอน เหนือพระราม เกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการสานสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งโดยส่วนตัวจะใช้สื่อออนไลน์ ติดต่อกับครอบครัว ซึ่งปกติพ่อแม่จะชอบติดตามลูกผ่านโซเชียล คอยเช็กตารางงาน ดูผ่านไลฟ์ด้วย

“ผมจะคอยสอนการใช้สมาร์โฟนกับท่านด้วย อย่างเคยได้โทรศัพท์จากผู้สนับสนุนมา ก็จะเอาไปให้ลองใช้ แนะนำว่าหน้าจอสัมผัสนี่ใช้อย่างไร ทำอะไรได้บ้าง ซึ่งจะเห็นว่าท่านดูให้ความสนใจ และสนุกกับการใช้ และได้มีช่องทางในการติดตามเราด้วย รวมทั้งได้มีกิจกรรมบางอย่างที่ทำให้เขาลูกขึ้นมาทำ อย่างบางทีเห็นติ๊กต็อกน่ารัก น่าสนใจ ท่านก้จะส่งคลิปนั้นมาให้ดู ก็เกิดการพูดคุยกัน และที่บ้านก็ขายผ้าอยู่ภาคเหนือ ก็จะเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่ ก็ใช้โซเชียลมีเดีย หาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของตัวเองด้วย และผมจะคอยสอนวิธีการหา เผลอๆ พวกท่านจะเป็นผู้นำเทรนด์ไปแล้วตอนนี้ เพราะล่าสุดเห็นว่ามีแอคเคาท์ทวิตเตอร์ด้วย ผมยังไม่ทันได้สอนเลย ก็เลยคิดว่าท่านก็ชำนวญพอตัวอยู่นะ” เบ้นซ์ เล่า

เบ้นซ์ กล่าวอีกว่า เทคโนโลยีมีข้อดีก็จริง แต่ก็มีข้อเสียอยู่ คือ การที่เป็นนักแสดง ก็จะมีแฟนคลับที่ติดตามชีวิตเรา ชีวิตครอบครัว หรือบางครั้งเราอยากต้องการความเป็นส่วนตัว แล้วท่านก็โพสต์รูปลงบ้าง ลงว่าไปนั่นนี่ ก็จะคอยบอกท่านว่าในพื้นที่ส่วนตัวอาจจะไม่ต้องให้คนรู้ทุกการเคลื่อนไหว เพราะเคยเจอกรณีที่แฟนคลับตามมาพบ ซึ่งเราเข้าใจในความสุขของเขา แต่ว่าก็ต้องพูดสร้างความเข้าใจว่าให้พอประมาณ ก็จะคอยบอกกันเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลอย่างใจเย็น รวมไปถึงเรื่องสุขภาพของพ่อแม่ การเล่นโทรศัพท์เยอะอาจกระทบกับสุขภาพด้วย

โดยงาน Inspired Research Talk เป็น “แรงบันดาลใจจากวิจัยสู่โอกาสผู้สูงวัยในสังคมดิจิทัล” จากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” ซึ่งหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า