SHARE

คัดลอกแล้ว

ทำไมคนเราถึงโกหก  — ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์  จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต  อธิบายว่าการโกหกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ 

  • หนึ่ง  คือโกหกเพื่อผลประโยชน์ เช่น ได้รับชื่อเสียง เงินทอง ความเชื่อใจ ความเห็นอกเห็นใจ 
  • สอง  คือโกหกโดยไม่ได้รับประโยชน์อะไร  แต่ก็ยังโกหกอยู่เรื่อยๆ  แบบนี้คนๆ นั้นอาจจะมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น ป่วยเป็นโรคจิตเภท โรคหลงผิด เป็นต้น

 

 

แยกอย่างไร ระหว่างคนที่โกหกเพื่อผลประโยชน์กับผู้ป่วย

สามารถดูได้จากสิ่งที่คนๆ นั้นพูดครับ  ถ้าสิ่งที่เขาพูดมาดูไม่มีความเป็นจริงเลย  แต่ผู้พูดดูมีความเชื่อปักใจ  เชื่อมั่นว่าสิ่งที่เขาพูดเป็นเรื่องจริง  ขัดแย้งไม่ได้  เปลี่ยนแปลงไม่ได้  ตรงนี้ถ้าเกิดเราเห็นแล้วว่าเขามีความเชื่อฝังหัวแน่น  เราต้องพิจารณาแล้วว่ากลไกความคิดบางอย่างของเขาอาจมีความผิดปกติ  แต่ถ้าเกิดว่าเราขัดแย้งแล้ว  เขาดูไม่ได้ปักใจเชื่อนักหรืออาจยอมรับว่าความเป็นจริงมันเป็นไปได้อีกหลายอย่าง  ตรงนี้ก็อาจจะเป็นการโกหกเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง

 

การโกหกทำลายบุคลิกภาพและตัวตน

ไม่ว่าโรคอะไรก็ตาม  ถ้าเกิดมีอาการที่เป็นลักษณะการโกหกแล้ว  ส่วนมากก็ส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรง  ตั้งแต่เรื่องเกี่ยวกับบุคลิกภาพส่วนตัว  เพราะการโกหกเนี่ยวันหนึ่งเราจะต้องถูกจับได้แน่นอน  ไม่มีการโกหกไหนที่จีรังยั่งยืน  การโกหกที่ถูกจับได้  แน่นอนว่าคนอื่นก็จะมองบุคลิกภาพเราไปในทางเหมือนเป็นคนขี้โกหก  คนที่พูดไม่จริง  ความเชื่อถือก็น้อยลง  เมื่อความเชื่อถือน้อยลงตัวตนก็แย่ลง  ความมั่นใจในตัวเองก็ต่ำลง  ขณะเดียวกันถ้าเกิดอาการรุนแรงมากขึ้นนะครับ  เริ่มโกหกมากขึ้นจนไม่สามารถหยุดได้  คนรอบข้างก็จะเริ่มหนีหาย  ไม่มีใครให้การยอมรับเรา สังคมก็จะเริ่มรู้สึกว่าคนนี้ไม่น่าคบหา  ไม่น่าทำความรู้จัก  หนักยิ่งกว่านั้น  ถ้าเกิดการโกหกนั้นส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านกฎหมาย  การโกหกที่เราอาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ  แต่ไปก่อความผิดทางกฎหมาย  เราเองก็อาจจะได้รับผลกระทบหรือบทลงโทษทางกฎหมายด้วย

 

ผู้ใหญ่ที่เสพติดการโกหกรักษายาก แต่รักษาได้

พอโตเป็นผู้ใหญ่แล้วการพัฒนาบุคลิกภาพมันถึงจุดอิ่มตัวแล้ว  เขาพัฒนาบุคลิกภาพที่จะหลีกเลี่ยงการเผญิชหน้ากับจากความเป็นจริง  โดยใช้การโกหกแทนหรือหนีปัญหาแทน  ตรงนี้ก็ได้แต่ภาวนาครับว่าคนที่มีการโกหกมากๆ จะพิจารณาตนเองว่า ขณะนั้นตนเองมีปัญหาด้านสุขภาจิตหรือเปล่า  มีปัญหาด้านซึมเศร้า  โรควิตกกังวลหรือเปล่า  ที่ทำให้ตนเองต้องโกหกมากขึ้น  ถ้าไม่มีก็อาจจะต้องดูว่าคนรอบข้างเขาจะช่วยเหลือเขาอย่างไร  ในเมื่อตัวเขาเองไม่เห็นทางออกว่าการใช้ความเป็นจริงจะช่วยให้เขาเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร

 

คนรอบข้างมีบทบาทสำคัญในการรักษา

คนรอบข้างมีบทบาทอย่างมาก  ในกรณีที่คนๆ หนึ่งใช้การโกหกบ่อยๆ  ตั้งแต่การชี้ให้เขาเห็นว่าการโกหกไม่ใช่ทางออกเดียว  การพูดความจริงได้รับการยอมรับ  ถ้าเกิดเขาเห็นว่าการโกหกนั้นเป็นเรื่องจริงสำหรับเขา  มีความเชื่อปักใจ  ตรงนี้คนรอบข้างก็จะมีบทบาทหน้าที่ในการพาไปรักษา  ให้ความเข้าใจให้การช่วยเหลือนะครับ  ให้เขาพ้นจากความคิดที่มันผิดปกติตรงนี้ไปได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า