Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในขวบปีที่ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ฉลองครบรอบ 25 ปี ท่ามกลางบรรยากาศปลายปีที่มีการจัดกิจกรรมดูหนัง 25 บาท วิชา พูลวรลักษณ์ ยังคงทำงานอย่างหนัก ใส่ใจทุกรายละเอียด ในทุกวัน เพื่อธุรกิจที่สรรค์สร้างความสุขให้กับผู้คน ท่ามกลางการเปลี่ยนอย่างไม่หยุดหย่อนของวงการสื่อ

วิชาให้สัมภาษณ์กับรายการ Workpoint Today ย้อนถึงวันแรกในการทำโรงหนัง จากเบื้องหลังครอบครัวที่ใกล้ชิดกับภาพยนตร์ สู่การตัดสินใจครั้งสำคัญๆ หลายครั้ง ที่นำมาสู่การเติบโตของเมเจอร์

ธุรกิจโรงหนังในยุคเปลี่ยนผ่าน จากโรงหนัง Stand Alone สู่ โรงหนัง Multiplex

ผมเกิดมาในตระกูลทำโรงหนัง คุณพ่อผมทำโรงหนังตั้งแต่ก่อนผมเกิดเสียอีก สมัยนั้นเราทำโรงหนังเยอะมาก ในสมัยก่อนโรงหนังทั้งหมดจะเป็นแบบโรงเดี่ยว ฉายหนังเรื่องเดียว จนในยุคที่ผมเริ่มเข้ามาดูแลกิจการ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เริ่มมีโรงหนังแบบ Multiplex ของต่างชาติเข้ามา ซึ่งคอนเซ็ปต์ของ Multiplex คือเป็นมากกว่า 1 โรง จากเดิมที่เป็นโรงเดียว Stand Alone ก็จะเป็น 6 โรง 7 โรง 14 โรง ซึ่งมันก็เหมือนกับสึนามิเลย โรงหนัง Stand Alone ในเมืองไทยก็สู้ฝรั่งไม่ได้ เงินก็สู้ไม่ได้ เทคโนโลยีก็สู้ไม่ได้ โรงหนังก็ปิดหมด

การทำโรงหนัง คือความสุข เป็นพาสชั่นที่ได้รับมาจากครอบครัว

ด้วยพื้นฐานที่เติบโตมากับครอบครัวคนทำโรงหนังมาตั้งแต่เกิด เรียกได้ว่าเกิดมาไม่เคยเสียเงินดูหนังเลย เรียกได้ว่าเป็นคนที่มี Passion เกี่ยวกับการทำโรงหนังมาตลอด แล้วผมเข้าใจธุรกิจดี จนเราได้เริ่มมาจับธุรกิจโรงหนังด้วยตัวเอง ตัวเราเองมีความรู้เรื่องโรงหนังอยู่แล้ว แต่ไม่อยากสู้กับฝรั่งด้วยวิธีการเดิมๆ เราเลยมองว่าอยากทำโรงหนังให้มีคอนเซ็ปต์ของความเป็นโรงแรม ดีไซน์ก็ให้หรูหราแบบโรงแรม มีเลาจน์ มีคอนเซ็ปต์เซอร์วิสลูกค้าแบบโรงแรม มาตรฐานความสะอาด-บริการ ต้องแบบโรงแรม 5 ดาว นี้คือปรัชญาที่ผมตั้งขึ้นมาตั้งแต่วันแรกที่ทำธุรกิจ

เราต้องสร้างโรงภาพยนตร์ด้วยวิธีคิดแบบโรงหนัง อย่าไปคิดแต่แค่ว่าเราทำโรงหนัง เมื่อเราสู้กับฝรั่ง เราก็ต้องดีกว่าฝรั่ง แล้วก็ต้องมีความแตกต่าง ฝรั่งทำโรงหนังทุกที่เหมือนกันหมดเลย พรมเดียวใช้ 20 ที่ ของเราพรม 20 ที่ ไม่เหมือนกันสักที่ ฉะนั้นวิธีคิดมันก็จะกลับหัวตั้งแต่ตอนนั้น เราก็สร้างธุรกิจภายใต้แนวคิดดังกล่าวมาเรื่อยๆ จนจากที่เคยได้มาร์เก็ตแชร์ 3% ไปเป็น 5%, 10% จนเราเข้าตลาดหลักทรัพย์ จนฝรั่งเขาเลิกสู้กับผมแล้ว เขาก็ขายให้ผม ผมก็ซื้อเขาไปหมดแล้ว จนปัจจุบันเรามีมาร์เก็ตแชร์ 70% เราสนุกกับโรงหนัง เรามี Passion กับโรงหนัง เราเลยอยากจะทำให้มันดี

2540 ธุรกิจเกือบเจ๊ง เพราะวิกฤตต้มยำกุ้ง

ช่วงหลังจากปี 1997 (2540) เมืองไทยเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง ธุรกิจหลายอย่างประสบความลำบาก ตอนนั้นก็ถือเป็นพายุลูกใหญ่ที่ทำให้เมเจอร์เองก็เซเหมือนกัน เรียกว่าเราจะเจ๊งตอนนั้นเลยก็ว่าได้ เพราะว่าแบงค์ที่ปล่อยกู้เราเจ๊ง แล้วช่วงนั้นเรากำลังทำโรงหนัง Stand Alone อยู่ จนพอปี 1998-1999 เราก็เริ่มฟื้นตัวและขยายสาขาไปยังเอกมัย กับรัชโยธิน

ผมเคยเล่าให้เพื่อนๆ และทีมงานฟังตลอด มีอยู่ครั้งหนึ่งเรามีโปสเตอร์ติดอยู่แถวรัชโยธิน แล้วคืนหนึ่งไฟป้ายโปสเตอร์ดับเพราะสปอตไลท์เสีย จนหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวเลยว่าเมเจอร์เจ๊งแล้ว ยุติโครงการ (หัวเราะ) อย่างที่บอกว่าตอนนั้นแบงค์ที่เรากู้เงินเขาเจ๊งไปก่อนเรา ซึ่งตั้งแต่ผมทำธุรกิจมาก็ยงไม่เคยเจอ (หัวเราะ) เพราะมันมีแต่กิจการที่เจ๊งก่อนแบงค์ ซึ่งในช่วงเวลานี้ผมถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญ จากนั้นธุรกิจเราก็เริ่มขยับขายเรื่อยมา จนกระทั่งมาเข้าตลาดหลักทรัพย์ ผมจำได้ว่าก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ผมมีอยู่ 50 จอ แต่หลังจากเข้าไปแล้ว 1 ปี ก็ขยายเพิ่มเป็น 100 จอ

โรงหนังเดินหน้าสู่ต่อไปในยุคสตรีมมิ่งเติบโต

เราเป็น Out of Home Entertainment ลูกค้าของเราต้องออกมาจากบ้าน ต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ซึ่งคำถามที่คนถามเราเยอะที่สุดในช่วงหลายปีหลังก็คือบรรดาธุรกิจ Streaming Business อย่าง Netflix, iflix จะมีผลกระทบกับเมเจอร์มั้ย ยอดตั๋วคุณจะตกมั้ย ซึ่งผมคิดว่าจริงๆ เราต้องแข่งกับไลฟ์สไตล์ลูกค้าอยู่แล้ว อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ คือคนเรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แบ่งเป็นนอน 8 ชั่วโมง ทำงาน 8 ชั่วโมง ก็จะเหลืออีก 8 ชั่วโมง ธุรกิจผมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง บวกกับเดินทางอีกชั่วโมง อย่างต่ำก็ต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมง ผมจะต้องไปแย่งเวลาตรงนี้

ฉนั้นหลักง่ายๆ ที่เราคิดเลยคือ ลูกค้าไม่อยู่บ้าน โดยจากข้อมูลที่เราได้บอกว่าลูกค้าส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่บ้านไม่เกิน 10 ชั่วโมง ซึ่งอันนี้ตรงกับธุรกิจของผมที่เป็น Out of Home Entertainment แล้ว แต่เมื่อลูกค้าออกมาแล้วจะทำยังไงให้ลูกค้าเลือกเรา อันนี้เราใช้คำว่า Movies Culture หรือ Movies Experience ทำยังไงให้คนที่เข้ามาดูหนังในโรงหนังแล้วรู้สึกมีความสุข เพราะธุรกิจเราคือขายความสุข เพราะถ้าเขามาแล้วไม่มีความสุขเขาก็ไม่มา

โดยจุดแข็งอีกอย่างของธุรกิจโรงหนังคือ โรงหนังมันเป็น Fresh Business คือหนังเนี่ยทุกคนต้องดูในโรง ดูช้าไม่ได้ เพราะทุกคนอยากดูหนังก่อนคนอื่น อยากดูหนังสดๆ ซึ่ง Streaming เนี่ยมันเป็นของไม่สด เพราะฉะนั้นคนยังเข้าโรงหนังอยู่ ดูได้จากโรงหนังทั่วโลกมีอัตตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในประเทศจีนมีการสร้างโรงหนัง 3-4 พันโรง จนตอนนี้จีนมีโรงหนังมากกว่าอเมริกาเท่าตัว อเมริกามี 3 หมื่นกว่าโรง เมืองจีนมี 7 หมื่นกว่าโรง ฉะนั้นในโซนเอเชียธุรกิจโรงหนังกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเข้ามาของดิจิทัลหรือออนไลน์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเราในแง่ของผลประกอบการ กลับกันเรายังได้ทำสื่อดิจิตัลมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจเราอีกด้วย

Bring the Best Experience ให้กับลูกค้าและผู้ด้อยโอกาส

เราอยากจะ Bring the Best Experience ให้กับลูกค้าเราเสมอ คืออะไรที่เป็นสุดยอดเทคโนโลยี การออกแบบที่ดี ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เราก็จะรีบเอามาบริการลูกค้าของเรา เรามี iMax ที่แรกในเอเชีย เราเอา 4DX เข้ามาที่ 3 ของโลก ผมคิดว่าเรามี Passion ตรงนี้ แต่พอมาถึงอายุขนาดนี้แล้วและตัวผมเองก็ออกไปต่างจังหวัดเยอะเนี่ย เราก็อยากมี Passion เพิ่มอีกอย่างคือ การให้ เราอยากทำอะไรตอบแทนสังคม เพราะเรามองว่าหนังเนี่ยเปลียนชีวิตคนได้ มันไม่ใช่แค่เรื่องบินเทิง แต่มันเป็นเรื่องของการศึกษาได้ เป็นแรงบัลดาลใจได้ หนังหลายเปลี่ยนชีวิตผมและอีกหลายๆ คนได้ ฉนั้นเราจึงอยากให้ผู้ที่ด้อยโอกาสได้มีโอกาสได้มาดูหนัง

สิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ที่อยากเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนต์ควรต้องมีคืออะไร?

Passion นะ ผมว่าจะทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ มันต้องเริ่มจากเรารู้สึกกับมันยังไง ยกตัวอย่างจะเล่นกีฬาอะไร ก็ต้องชอบกีฬานั้นนะ ถึงจะเล่นได้ดี ผมคิดว่าเรื่องการแสดง เรื่องความบันเทิง เรื่องงานศิลป์ คนไทยเก่งอยู่แล้ว แต่ต้องเพิ่ม Passion ในการที่จะทำอะไรต้องทำให้มันสุดๆ ทำอะไรต้องทำจริงๆ ถ้ามาทำแบบเล่นๆ หรือลองทำ มันก็คงไม่สำเร็จ

ทำธุรกิจในทุกวันนี้ลำบากกว่าเมื่อก่อนเยอะ โลกมันเชื่อมโยงถึงกันหมดแล้ว วันนี้ถ้ายังทำอะไรแบบเดิมก็คงไม่ได้แล้ว มันต้องทำแบบบ้าเลือด อย่างในประเทศจีนที่เขาโตมาจนถึงทุกวันนี้ในช่วง 20 ปีเนี่ย ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ แล้วเค้าก็โตนะ เราต้องดูคนหนุ่มสาวว่าเขาทำงานกันยังไง มันยิ่งกว่า Passion นะ เขากะทำ 10 ปี แล้วจบเลย ตั้งตัวได้เลย ดังนั้นเขาจึงทุ่มเทบ้าเลือด คนไทยอาจจะมีคำว่า Work Hard Play Harder แต่ผมว่าไม่ใช่ อย่างคนจีนเขาจะบอกว่า Work Hard Play Later คือทำงานก่อน พอมีเงินแล้วจะทำอะไรมันเป็นเรื่องง่ายแล้ว

แต่สำหรับเด็กรุ่นใหม่ ถ้ามองในมุมฝั่งตะวันตก ก็จะมีแนวคิด Work Life Balance เงินไม่ใช่สิ่งเดียวในชีวิตของเรา ยิ่งในยุโรปทุกวันนี้เริ่มทำงานอาทิตย์ละ 4 วันแล้ว ให้เงินทำงานโอทียังไม่เอาเลย แต่ถ้ามองฝั่งจีนนี้มันกลับกันเลย คนจีนจะทำงานแบบบ้าคลั่ง เพราะเขาต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตเร็ว คือต้องรวยก่อนแล้วค่อยเอาเงินไปใช้อย่างอื่นได้ ฉะนั้นเด็กไทยต้องมาถามตัวเองว่าอยากเป็นแบบไหน อยากลูกผม ผมก็ให้เขาเลือกนะตามใจนะ ว่าเขาอยากได้แบบไหน แต่ถ้าถามผม ผมว่าวันนี้เราต้องทำหนักกว่านี้ เพราะโลกมันเปลี่ยนเร็วมากเลย และมันเชื่อมโยงไปทั่วโลก ทุกวันนี้คู่แข่งไม่ใช่คนไทยด้วยกันแล้ว แต่มันกว้างไปในระดับนานาชาติแล้ว

ถึงวันนี้พูดได้มั้ยว่าเมเจอร์คือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้ว

คือเราดำเนินกิจการมา 25 ปี นะครับ ผมไม่แน่ใจว่าเราถึงครึ่งทางหรือยังนะ เพราะยกตัวอย่างเกาหลีใต้ที่มีจำนวนโรงหนังมากกว่าเราเท่าตัว อีกทั้งยังขายตั๋วหนังมากกว่าเรา 4-5 เท่า เขาขายได้ 200 กว่าล้านใบ เรายังขายได้แค่ 40-50 ล้านใบ ซึ่งผมคิดว่าเรายังได้มาได้ประมาณครึ่งทางมั้ง (หัวเราะ) เพราะเรามีเป้าหมายที่ 1,200 จอ ตอนนี้เรามี 800 กว่าจอ เราอยากจะไปให้ถึงจุดนั้น

ถามว่ามันจะเยอะเกินไปมั้ย ผมคิดว่าสำหรับประเทศไทยเนี่ย 2 พันจอเนี่ยไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ซึ่งหมายถึงเราเองยังมีงานในส่วนการสร้างโรงหนังอีกเยอะ ขณะเดียวกันเราก็มุ่งมั่นในการสร้างคอนเทนต์ด้วย ตอนนี้ทางเมเจอร์ก็ทำหนัง แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคนที่ทำหนังเยอะที่สุดในไทยแล้ว เฉพาะปี 2020 ก็มีไปแล้วกว่า 20 เรื่อง ซึ่งผมก็อยากเห็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเติบโต เข้มแข็ง เพื่อให้บุคลากรในวงการมีรายได้ที่มั่นคงและมีชื่อเสียงในระดับนานาประเทศ เพราะตอนนี้การแข่งขันมันต้องมองในระดับนานาชาติแล้ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า