SHARE

คัดลอกแล้ว

‘หมอเลี้ยบ’ ชี้ พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้ทุ่มเทเอาใจใส่อย่างมีความรู้และเอาจริงเอาจัง ในการแก้ปัญหาโควิด – ‘ธนาธร’ แนะ ‘นายกฯ’ ใช้ภาวะผู้นำ ยกหูเจรจาหาวัคซีน คงได้หลากหลายยี่ห้อ

วันที่ 23 มิถุนายน 2564 นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้ใแสดงทรรศนะ ในรายการ workpointTODAY ถึงประเด็นทางออกของวิกฤตโควิด 19 และปัญหาการบริหารจัดการของรัฐบาลในปัจจุบัน

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือการยุบ ศบค. และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการใหม่ทั้งหมด เพราะช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมานั้นพิสูจน์แล้วว่าวิธีนี้ล้มเหลว ปีที่แล้ว ที่ไทยสามารถคุมได้เป็นเพราะฝีมือของกระทรวงสาธารณสุขและอสม. ไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคุมได้แล้ว รัฐก็ยังปิดเศรษฐกิจ ไม่ยอมให้เดินหน้า การท่องเที่ยวก็หยุดชะงัก ทั้งที่ประเทศอื่น หากยอดผู้ป่วยลดเหลือ 3,000 รายจะเริ่มคลี่คลายมาตรการแล้ว โดยแนะว่า จุดเริ่มต้นคือต้องคืนอำนาจการจัดการให้กับคนที่มีภาวะผู้นำและสามารถบริหารจัดการโรคระบาดให้สมดุลกับเศรษฐกิจได้

นอกจากนี้ นพ.สุรพงษ์ มองว่า ไม่ควรทิ้งประเด็นการตรวจหาเชื้อและควรตรวจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากทุกประเทศที่คุมได้ดีก็มีอัตราการตรวจสูง และหากสังเกตสายพันธุ์ใหม่อย่างเดลต้า จะพบว่าอาการไม่เหมือนสายพันธุ์เดิมๆ อาการเหมือนเป็นหวัดธรรมดา ฉะนั้น หากไม่ตรวจก็ไม่มีทางรู้ว่าติดเชื้อหรือไม่ การตรวจให้กว้างขวางที่สุดจึงสำคัญมาก

นพ.สุรพงษ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน กระบวนการติดตามกลุ่มผู้เสี่ยงหรือสัมผัสผู้ติดเชื้อกำลังมีปัญหา ต่างจังหวัดอาจน้อย เพราะถึงจะมีคลัสเตอร์เกิดขึ้นใหม่ก็ควบคุมได้เร็ว แต่ในกทม. การบริหารจัดการนั้นสับสน เป็นสุญญากาศของระบบสาธารณสุขไทย ผอ.ศบค.ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลกทม.ก็ไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรตรวจเชื้อและติดตามผลมากกว่านี้ สำหรับวัคซีน

นพ.สุรพงษ์เผยว่า “วัคซีนที่ไม่ได้ผลก็หยุดสั่งได้แล้ว อย่างโมเดอร์นา ผมก็ตั้งคำถาม ทำไมต้องรอเอกชนสำรวจความต้องการแล้วจ่ายเงินเต็มให้องค์การเภสัชกรรม องค์การเภสัชกรรมถึงจะไปจ่ายให้บริษัทแล้วค่อยนำเข้า ถ้ารัฐบาลไทยบอกจะสั่ง อันนี้ง่ายที่สุด ไม่เห็นจำเป็นต้องรอ ทำไมถึงให้โมเดอร์นาเป็นวัคซีนทางเลือก ทำไมไม่เป็นวัคซีนทางหลัก หลังจากข้อมูลทางวิชาการพิสูจน์มาแล้ว”

ก่อนทิ้งท้ายว่า หากการเมืองดี ไทยจะไม่ตกอยู่ในสถานการณ์อย่างนี้และคงจะควบคุมการระบาดได้ดี

“ปัญหาเรื่องโควิดที่เราคุมไม่ได้ ผมไม่โทษอย่างอื่นเลยครับ ผมโทษว่าการบริหารจัดการมีปัญหามาก เพราะผู้นำประเทศอย่างพล.อ.ประยุทธ์มีปัญหามาก ไม่ได้ทุ่มเทเอาใจใส่อย่างมีความรู้ ขยันเอาจริงเอาจัง และร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน ถ้าหากการเมืองเราดี วันนี้คนที่เป็นผู้นำประเทศคงต้องยุบสภาไปนานแล้ว คงจะมีการเลือกตั้งแล้ว แต่ว่าก็ยังอยู่กันมาถึงวันนี้ได้”

ด้าน นายธนาธร กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ปัญหามีอยู่หลายประการ ได้แก่

  1. ด้านการตรวจเชื้อ ซึ่งเห็นด้วยกับนพ.สุรพงษ์ว่า การตรวจเชื้อในไทยยังไม่เพียงพอในภาวะอย่างนี้ ทางคณะก้าวหน้าเองก็มีการร่วมมือกับหน่วยงานอื่นไปตรวจสอบเชิงรุกในชุมชนที่ถูกหลงลืม ที่สาธารณสุขหรือกทม.เข้าไม่ถึง “ทุกที่เราเจอ positive ทุกครั้ง หมายความว่าการตรวจสอบในปัจจุบันเข้าไม่ถึง” หากจะขอตรวจฟรีก็ไม่ได้ ต้องเสียเงิน แม้สมาชิกในครอบครัวจะติดเชื้อก็ตาม ในขณะที่ต่างประเทศ การตรวจฟรีหรือตรวจเชิงรุกเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งตนมองว่า รัฐบาลยังให้ความสำคัญไม่เพียงพอ
  2. การจัดหาวัคซีน ไม่ว่าจะเป็น Pfizer, Moderna, J&J หรือยี่ห้ออะไรก็ตามแต่ คุณธนาธรกล่าวว่า หากรัฐบาลจะตรวจสอบหรือจัดซื้อนั้นง่ายมาก เพียงคุณประยุทธ์ไปเจรจากับซีอีโอ พร้อมถามเขา 3 ข้อ มีวัคซีนที่สามารถจัดส่งได้เท่าไรในปีนี้ จัดส่งได้เดือนใดบ้าง ราคาเท่าไร

“ปัญหาคือเราพูดเรื่องไฟเซอร์มา 2-3 เดือนแล้ว รัฐบาลไม่เคยออกมาชี้แจงว่าตกลงเจรจาแล้วเป็นอย่างไร ทำไมต้องรอให้องค์กรนั้นองค์กรนี้ไปเจรจา นายกรัฐมนตรียกหูหาซีอีโอสิบนาทีก็รู้เรื่องแล้ว เริ่มคุยกันได้แล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องภาวะผู้นำชัดๆ เลย และผมหาตรรกะไม่เจอว่าทำไมไม่ทำแบบนี้”

ก่อนตั้งคำถามถึงรัฐบาลว่า ทำไมจึงต้องรอให้องค์กรอื่นๆ ไปเจรจา “เรื่องนี้แสดงถึงความเป็นผู้นำ ตั้งเป้าว่าจะฉีดได้ 100 ล้านโดสภายในปี 2564 จนถึงวันนี้ฉีดไป 8.14 ล้านโดส เหลือ 91.8 ล้านโดส กับ 190 วัน หมายความว่าต้องฉีดให้ได้วันละ 483,000 โดส ศักยภาพอาจจะฉีดได้ แต่มีวัคซีนฉีดพอเท่านี้ทุกวันหรือเปล่า ปัญหาคือไม่มีวัคซีน”

นอกจากนี้ คุณธนาธร ยังมองว่า การที่ประชาชนไม่เคยเห็นตัวเลขว่ามีวัคซีนอยู่เท่าไรในแต่ละพื้นที่ ฉีดไปเท่าไรแล้ว หรือมีผลอย่างไรบ้าง เป็นหนึ่งในปัญหา เพราะจะบริหารได้ รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใส ทั้งนี้ ในมุมมองของคุณธนาธร มีเหตุผลเดียวที่ตอบคำถามว่าทำไมรัฐบาลถึงไม่เปิดเผยข้อมูล คือ ต้องการที่จะปกป้องบางบริษัท แต่ตนอาจจะเลือกข้างเกินไป อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ภาวะวิกฤตเป็นภาวะที่พิสูจน์ความเป็นผู้นำ เป็นภาวะที่ผู้นำจะต้องมานั่งสั่งการเอง ตัดสินใจรับความเสี่ยงด้วยตนเอง ซึ่งไม่เห็นจากผู้นำคนปัจจุบัน

  1. การดูแลผู้เสี่ยงและผู้ติดเชื้อ ปัจจุบัน โรงพยาบาลหลายแห่งเริ่มออกมาโอดว่า เตียงใกล้เต็มและกำลังจะเกินศักยภาพ อย่างที่นพ.สุรพงษ์กล่าว ต่างจังหวัดสามารถควบคุมได้ง่ายเพราะบ้านติดกันและสภาพเศรษฐกิจไม่ได้เป็นแบบเมือง แต่เป็นแบบเกษตรกรรม ทำให้มีการรวมกลุ่มน้อย แต่ในเมืองใหญ่ๆ อย่างกทม. หรือสมุทรปราการนั้นบานปลายมาก การจัดการการดูแลคนก็ยังไม่ดี อย่างเอกชนบางรายต้องออกมาดูแลกันเอง ฉะนั้นแล้ว “บทบาทรัฐอยู่ตรงไหน”

“ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำตอนนี้ คือต้องตรวจเชิงรุกให้มากกว่านี้ จัดหาวัคซีนให้เยอะกว่านี้ หลากหลายกว่านี้ เร็วกว่านี้ วางแผนจัดฉีดวัคซีนให้มองเห็นตลอดซัพพลายเชน ดูแลคนติดเชื้อและผู้เสี่ยงให้ดีกว่านี้ มันอาจจะฟังดูยากแต่ผมว่ามันทำได้ และผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำเรื่องนี้อย่างเอาใจใส่” นายธนาธรกล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า