Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
ศาลอาญาระหว่างประเทศตกลงว่าจะมีการสืบสวนอย่างเป็นทางการว่านโยบาย “สงครามยาเสพติด”ของนายโรดริโก้ ดูเตอร์เต้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ถือเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติหรือไม่ เพื่อแสวงหาความเป็นธรรมให้ครอบครัวและเหยื่อที่ถูกฆ่ากวาดล้างระหว่างดำเนินนโยบายดังกล่าว
เช้าวันพุธนี้ (16 กันยายน 2564) ศาลอาญาระหว่างประเทศออกแถลงการณ์ ชี้มูลความผิดเพียงพอที่จะนำไปสู่การดำเนินการสอบสวน โดยยังระบุว่ามีเงื่อนไขหลายอย่างทำให้กรณีการดำเนินนโยบายสงครามยาเสพติดซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันราย อาจเข้าข่ายข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
องค์คณะตุลาการพิจารณาคดี ระบุว่านโยบายที่เรียกว่าสงครามยาเสพติดและการวิสามัญฆาตกรรมที่เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าการปฏิบัติการบังคับใช้กำหมายที่ถูกต้องชอบธรรมได้ ในกรณีนี้ผู้พิพากษาพิจารณาจากข้อเท็จจริงของเหยื่ออย่างน้อย 204 ราย ทำให้พบว่ามี “การโจมตีพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบและเป็นการปฏิบัติหรือมีการผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐ”
ดูเตอร์เต้ ประธานาธิบดีฟิลลิปปินส์ประกาศทำสงครามยาเสพติดตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2016 ฮิวแมนไรท์วอชระบุมีผู้เสียชีวิตจากนโยบายนี้กว่า 12,000 ราย จากการที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้รับการ “อนุญาตให้ฆ่า” ใครก็ตามที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
เมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา นายฟาเตา เบนซูดา อดีตอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศยื่นคำร้องให้มีการสอบสวนเรื่องนี้โดยคำร้องเขียนว่า ระหว่างที่มีปฏิบัติการนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้สังหารผู้ต้องสงสัยว่าใช้ยาเสพติดและพลเรือนทั่วไปหลายพันราย
หลังมีคำร้องนี้ออกมา ประธานาธิบดีดูเตอร์เต้ โต้กลับว่าข้อกล่าวหาเป็นเรื่องไร้สาระและจะ “ตบ” เหล่าผู้พิพากษาศาลอาญาระหว่างประเทศ และที่ปรึกษาประธานาธิบดีฝ่ายกฎหมายยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ร่วมมือใด ๆ กับการสอบสวนนี้ และผู้สอบสวนที่ศาลอาญาระหว่างประเทศส่งมาจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศ
มีข้อถกเถียงว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจสอบสวนนี้หรือไม่ เนื่องจากทันทีที่ศาลอาญาระหว่างประเทศเริ่มกล่าวถึงเรื่องนี้ในปี 2018 ดูเตอร์เต้ก็ถอนความเป็นสมาชิกออกทันทีและมีผลในปี 2019 ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศยืนยันว่าเรื่องนี้ยังอยู่ในขอบเขตอำนาจศาล เนื่องจากขณะที่เกิดเหตุในปี 2016 นั้นฟิลลิปปินส์ยังมีความเป็นสมาชิกภาพอยู่
ฟิลลิปปินส์ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ เนื่องจากเคยให้สัตญาบรรณธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในปี 2011 ขณะที่ศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งขึ้นในปี 2002 โดยประเทศสมาชิกสหประชาชาติ และเคยตัดสินคดีสำคัญต่าง ๆ เช่น กรณีอดีตผู้นำซูดาน หรือในปี 2019 เคยตัดสินกรณีบอสโค นากันดา ว่าเป็นอาชญากรสงครามที่กระทำอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติในสงครามระหว่างรวันดาและคองโก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า