SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งเพิกถอนระเบียบ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการแนะนำต้ว ผู้สมัคร สว. ข้อ 7, 8 และ 11 (2)

– ให้แนะนำตัวได้ไม่เกิน 2 หน้า A 4

– การแนะนำตัวทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง

– ห้ามผู้สมัคร ศิลปิน-สื่อ ใช้ความสามารถเพื่อเอื้อประโยชน์ในการแนะนำตัว

คำพิพากษาข้างต้น เป็นคดีที่ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวประชาไท ยื่นฟ้อง ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนระเบียบ กกต. ก่อนระบุรายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังว่าให้เพิกถอน 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 7, 8, 11 (2) และ 11 (5)

และอีกสำนวนที่ศาลฯ จะพิพากษาในวันนี้เช่นกัน คือ คดีที่ นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับพวก อีก 5 คน ยื่นฟ้องเพิกถอนระเบียบ กกต. รวม 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ 5, 7, 8, 11 (2) และ 11 (5) ก่อนมาเพิ่มข้อ 11 (3) ในภายหลัง

คำพิพากษาฉบับเต็ม

จากกรณีที่ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการประชาไท ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ออกระเบียบด้วยการแนะนำตัวผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ให้สามารถแนะนำตัวกับเอกสารไม่เกินกระดาษ A4 ในข้อ 7 และ ข้อ 8

วันนี้ศาลปกครองได้พิเคราะห์ว่า ระเบียบข้อ 7 ไม่ชอบด้วยกฎหมายพิจารณาตามมาตรา 78 ประกอบกะบมมาตรา 107 ของรัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณ์ให้เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งสว.มีหน้าที่ออกกฎหมายที่บังคับกับประชาชนคนไทย การทำหน้าที่ของสว.ย่อมมีผลกระทบต่อประชาชน จึงควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. 2561 กำหนดให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเอง ไม่ได้ให้ประชาชนมีสิทธิเลือกสว.ด้วย แต่เมื่อเทียบสัดส่วนสว.กับประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก ดังนั้นระเบียนข้อ 7 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ,3 ,26 ที่บัญญัติถึงการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ต้องไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล และต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยศาลระบุว่าระเบียบการแนะนำตัวผู้สมัครสว. มีสถานะเป็นกฎ ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การออกกฎย่อมไม่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติกฎหมาย เพราะตัวกฎหมายไม่อาจขัดต่อหลักนิติธรรม และจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยไม่มีเหตุ

นอกจากนี้ ศาลมองว่า ระเบียบ กกต. ข้อ 7 ที่กำหนดเนื้อหาที่ระบุในเอกสารแนะนำตัวได้เฉพาะข้อมูลส่วนตัว และรูปถ่ายของผู้สมัคร ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ในการทำงานเท่านั้น โดยกกต.อ้างเหตุผลว่าเพื่อความเท่าเทียมระหว่างผู้สมัคร แต่ข้อเท็จจริงประวัติประสบการณ์ของผู้สมัครแต่ละคนไม่เท่ากัน มีความรู้ความสามารถในหน้าที่แตกต่างกัน การกำหนดปริมาณเนื้อหา และเอกสาร จึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้สมัครสว.เกินกว่าเหตุ และถือว่าไม่เป็นการรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน ระเบียบข้อ 7 นี้ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญในมาตรา 26 ,34

ส่วนที่ กกต. ได้ออกระเบียบข้อ 7 ฉบับที่ 2 มีการแก้ไขเนื้อหาสาระสำคัญในการกำหนดข้อความของผู้สมัคร ให้ผู้สมัครแนะนำตัวได้ตามเอกสาร 2 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายกับฉบับที่ 1 ศาลพิเคราะห์ว่า ระเบียบข้อ 7ในประกาศฉบับที่ 2 ไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายด้วยเช่นกัน

ส่วนระเบียบข้อที่ 8 ที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้สมัครสว. ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของทั้งประเทศ ไม่ทราบข้อมูลของผู้สมัครสว.ได้ ศาลพิเคราะห์ว่า ระเบียบข้อ 8 ไม่บรรลุถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเช่นกัน ทั้งที่สว.เป็นผู้แทนประชาชน มีบทบาทในการออกกฎหมายที่กระทบกับประชาชน แต่ระเบียบนี้ ไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมือง รวมถึงมีส่วนร่วมในการเลือกสว. การที่ประกาศกำหนดให้แนะนำตัวกับผู้สมัครสว.ด้วยกันเท่านั้น เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลในการแสดงความคิดเห็น ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 26,34 แม้ต่อมาจะมีการแก้ไข ให้ผู้สมัครแนะนำตัวผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ศาลพิเคราะห์ว่าประชาชนบางส่วนเข้าถึงข้อมูลได้ ทั้งนี้ศาลวินิจฉัย เพิกถอนเฉพาะข้อ 8 เฉพาะฉบับที่ 1 ที่ประกาศบังคับใช้ในวันที่ 27 เม.ย. – 15 พ.ค. 67

ส่วนข้อ 11 (2) ที่กำหนดถึงการห้ามกลุ่มอาชีพเฉพาะกลุ่ม เข้าร่วมรับสมัคร ส.ว. ทำให้ผู้สมัครกลุ่มอื่นแนะนำตัวมากกว่า เป็นการจำกัดสิทธิเฉพาะกลุ่มอาชีพ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้สมัครสว. ศาลพิเคราะห์ว่าข้อนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน

ส่วนระเบียบข้อ 11 (5) ที่กำหนดให้สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ศาลพิเคราะห์ว่าระเบียบห้ามเฉพาะผู้สมัครสว. ไม่ได้ห้ามสื่อมวลชน จึงไม่ถือว่าจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ

ดังนั้น ในวันนี้ ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนระเบียบ กกต.ว่าด้วยการแนะนำตัวของผู้สมัครสว. 2567 ข้อ 7 ในฉบับที่ 1 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในระเบียบกกต.ว่าด้วยการแนะนำตัวผู้สมัครสว.ฉบับที่ 2 ศาลสั่งเพิกถอนให้มีผลย้อนหลัง และศาลพิพากษาให้เพิกถอนระเบียบข้อ 8 เฉพาะระเบียบที่ประกาศในระหว่างวันที่ 27 เม.ย. – 15 พ.ค. 67 และเพิกถอน ข้อ 11 (2) ตามระเบียบฉบับเดียวกัน โดยให้มีผลย้อนหลังเช่นกัน ส่วนข้อ 11 (5) ให้ยกคำฟ้อง

ต่อมา นายชล คีรีกูณฑ์ ทนายความของ นายพนัส ทัศนียานนท์ กล่าวว่า วันนี้ศาลปกครองยืนยันชัดว่าสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยไม่ว่าจะบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญก็ตาม เพราะว่า สว. มีอำนาจในการพิจารณากฏหมายต่างๆ รวมถึงเลือกผู้แทนขององค์กรอิสระ หน้าที่จึงกระทบกับประชาชนทุกคน ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลของ สว. จึงเป็นเรื่องของการเพิกถอนข้อกำหนด ข้อ 3 ที่เป็นเรื่องของการเเนะนำตัวจะเกิดขึ้นได้กับ สว.ด้วยกันเท่านั้น เป็นเรื่องไม่ชอบด้วกฎหมาย รวมถึงข้อกำหนด ข้อ 7 ทั้งฉบับเก่าเเละใหม่ ซึ่งเป็นการจำกัดเสรีภาพเเสดงความคิดเห็น การเขียนโฆษณาในรูปเเบบต่างๆ

ในส่วนข้อ 8 ศาลเพิกถอนเฉพาะฉบับเก่าเพราะฉบับใหม่อนุญาตให้เผยเเพร่ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เเล้ว จึงชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนข้อ 11 ซึ่งเป็นเรื่องของการเพิกถอนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของสื่อมวลชนที่อาจจะให้ประโยชน์เเก่ตนเอง เนื่องจากศาลมองว่า ในโลกความเป็นจริงไม่เฉพาะกลุ่มอาชีพสื่อมวลชนเท่านั้น กลุ่มอาชีพอื่นๆ ก็มีอิทธิพลเเละเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ ส่วนเรื่องการโปรยใบปลิว ศาลก็มองว่า บางคนเข้าถึงสื่อโซเชียลไม่ได้ ก็สามารถใช้โปรยใบปลิวเเทนได้ เป็นเรื่องความเท่าเทียม เเต่ในเรื่องการสัมภาษณ์สื่อมวลชน ศาลยังมองมาตรการที่จำเป็น เพราะผู้สมัครบางคนอาจจะมีอิทธิพลสามารถเข้าถึงสื่อได้มากกว่าผู้สมัครอื่น

ทั้งนี้ ถ้า กกต. อุทธรณ์ กกต. ต้องคิดเรื่องนี้ด้วยว่าสุดท้ายแล้วเราอาจจะต้องเลือกตั้ง สว. ใหม่หรือไม่ หรือเราจะทำอย่างไรกันต่อ

เมื่อถามว่า เป็นความรับผิดชอบของ กกต. ทางกฎหมายหรือไม่ อาจจะไม่ใช่แต่ถ้าเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม กกต. ต้องรับผิดชอบเต็มๆ เราไม่ได้ต้องการล้มการเลือกตั้ง เราต้องการเเค่เรื่องระเบียบกระบวนการในการเเนะนำตัว

แสวง บุญมี เลขาธิกา กกต. แฟ้มภาพ

เลขาฯ กกต. ระบุไม่กระทบกระบวนการเลือก สว. 

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ให้สัมภาษณ์เมื่อสักครู่ว่า ในชั้นสำนักงาน กกต. ถ้าศาลตัดสินใจมา ซึ่งตนยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาจากศาล อะไรที่ศาลตัดสินและเป็นประโยชน์กับประชาชน เราก็จะดำเนินไปตามนั้นเพื่อให้เป็นการให้สิทธิกับประชาชนมากขึ้น ซึ่งสำนักงาน กกต. จะได้เสนอให้ กกต.

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า สิทธิอุทธรณ์ แต่ต้องขึ้นอยู่กับ กกต. แต่โดยหลักการถ้าเป็นประโยชน์กับส่วนร่วม และให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ เป็นไปตามโรดแมป ก็น่าจะเกิดประโยชน์ที่สุดในการทำลักษณะนี้

เมื่อถามว่า คำสั่งศาลปกครองกลาง จะไม่กระทบต่อกระบวนการเลือก สว. ใช่หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ไม่กระทบ เพราะศาลฯ ไม่ได้ยกเลิกทั้งระเบียบ แต่เป็นข้อ

เมื่อถามอีกว่า เป็นการสะท้อนว่า กกต. ทำเกินอำนาจ จำกัดสิทธิหรือไม่ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ตนได้ชี้แจงหลายครั้ง ระเบียบแบบนี้ใช้ในลักษณะนี้มาตลอด แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าควรจะให้สิทธิประชาชนมากกว่านี้ สำนักงานฯ ก็ต้องรับฟัง

เมื่อถามว่า กังวลว่าจะมีคนไปร้องเพิ่มหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า เป็นสิทธิของประชาชน ตนก็ทำงานปกติ

อ้างอิง

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า