SHARE

คัดลอกแล้ว

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวโทรศัพท์มือถือโดนติดตั้งแอปพลิเคชัน แฝงมัลแวร์ แฮกข้อมูล ดูดเงินจากมือถือ จำนวนมาก จนหลายหน่วยงานออกมาเตือนให้ระวังการโหลดหรือติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ ล่าสุดตำรวจสอบสวนกลางเผยวิธีเช็กโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบ iOS และ Android

ตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยวิธีเช็กโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบ iOS และ Android หลังจากมีผู้เสียหายโดนมิจฉาชีพแฮกข้อมูล และดูดเงินในบัญชีหลายราย โดยระบุว่า ข่าวการโดนแฮกข้อมูล หรือว่าโดนดูดเงินจากมือถือกำลังมาแรง ไม่ว่าจะเป็นระบบ iOS หรือ Android ถึงแม้จะมีระบบการป้องกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่ระมัดระวัง หรือว่าเผลอไปกดโหลดแอปอะไรมาโดยไม่รู้ตัว 

ตรวจสอบมือถือระบบ iOS 

สำหรับระบบ iOS ตัวระบบเองมีการป้องกันที่ค่อนข้างแน่นหนา แต่ถ้าจะให้ชัวร์ต้องเช็กที่ 

1.การตั้งค่า -> แบตเตอรี่ และดูว่ามีแอปไหนที่ใช้งานหนักเกินการใช้งานจริงบ้าง 

2.เข้าไปดูแอปทั้งหมดบน iPhone ว่ามีแอปไหนแปลกปลอมติดมาหรือเปล่า ถ้ามีให้กดลบทันที 

3.สำคัญคือควรเปิดการเตือนเว็บหลอกลวงบน Safari โดยเข้าไปที่ การตั้งค่า -> Safari จากนั้นให้กดเปิดสวิตช์ “คำเตือนเว็บไซต์หลอกลวง”  รวมไปถึงการลบปฏิทินสแปมบนแอปปฏิทินด้วย

ตรวจสอบมือถือระบบ Android 

สำหรับวิธีการตรวจสอบว่ามือถือระบบ Android ถูกติดตั้งแอปพลิเคชันรีโมทดูดเงินหรือยัง มีดังนี้

1. เข้าไปที่เมนู การตั้งค่า (Settings) และเลือกไปที่เมนู แอป (Apps)

2.กดที่ปุ่มตัวเลือก (จุด 3 จุดมุมขวาบน) เพื่อเลือกเมนูย่อย (มือถือ Android บางรุ่นต้องเข้าไปที่เมนู Apps อีกครั้งก่อนหรือมีอยู่ในเมนู ไม่ต้องกดจุด 3 จุดมุมขวาบน) 

3.เลือกไปที่ การเข้าถึงพิเศษ (Special access) ถ้าหากว่าเข้าได้ปกติก็แสดงว่ามือถือเรายังปกติดีอยู่ แต่ถ้าหากเข้าไม่ได้โดยหน้าจอจะเด้งออกไปที่หน้าหลัก แสดงว่ามือถือเครื่องนั้นถูกฝังแอพรีโมทดูดเงินเรียบร้อยแล้ว

หากว่าเข้าไป Special access แล้วเด้งออก ให้รีบตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทันที แล้วสำรองข้อมูลที่สำคัญ และให้รีบล้างเครื่องโดยรีเซตเครื่องกลับสู่ค่าเริ่มต้นที่มาจากโรงงานทันที

รัฐบาล เตือนดาวน์โหลดแอปฯ ให้ระวัง 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้ร่วมกันดำเนินการตรวจสอบการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตรายที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชันบนมือถืออย่างต่อเนื่อง

เพราะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปฯ ฝังมัลแวร์อันตรายไว้ มีโอกาสที่จะถูกดูดข้อมูลส่วนบุคคลหรือถูกควบคุมมือถือจากระยะไกลทำให้มิจฉาชีพสามารถทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือได้

น.ส.รัชดา กล่าวต่อว่า จากข้อมูลในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตราย  203 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android จึงขอให้ประชาชนทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัปเดตระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ

พร้อมทั้งขอให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปฯ ต่างๆ มาใช้งานลงบนมือถือด้วย ทั้งนี้ กระทรวงดีอีเอส ได้ประสานกับทาง Play Store หรือ App Store ให้นำแอปฯ เหล่านี้ออกจากระบบแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า