SHARE

คัดลอกแล้ว

ประธานาธิบดีอิหร่านกล่าวโทษผู้ประท้วงที่ออกมารวมตัวในวันครบรอบ 40 วัน การเสียชีวิตของ ‘มาห์ซา อามินี’ ทำให้เกิดความชุลมุนทั่วประเทศ จนเป็นเหตุให้ผู้ก่อการร้ายสบโอกาส ก่อเหตุโจมตีมัสยิดในวันเดียวกัน 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีอิบราฮิม ไรซี ของอิหร่าน แถลงถึงเหตุการณ์กราดยิงที่ มัสยิดชาห์ ชีรักห์ (Shah Cheragh) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ในเมืองชีราซ ทางใต้ของประเทศ เมื่อเย็นวันพุธที่ผ่านมา (26 ต.ค.) ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 40 ราย และเสียชีวิตอย่างน้อย 15 ราย ในจำนวนนี้มีเด็กและผู้หญิงรวมอยู่ด้วย  

ประธานาธิบดีไรซีระบุในการแถลงข่าววันนี้ (27 ต.ค.) ว่า “เจตนาของศัตรูคือการขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศ และการจลาจลก็ปูทางไปสู่การก่อการร้าย”

เหตุกราดยิงมัสยิดชาห์ ชีรักห์ เกิดขึ้นในขณะที่ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์กำลังทำพิธีละหมาดอยู่ภายในมัสยิด โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า ในตอนแรกผู้ก่อเหตุได้ยิงปืนเข้าใส่ผู้ดูแลมัสยิด เพื่อเปิดทางเข้าไปภายในมัสยิด แต่ลำกล้องปืนขัดข้องทำให้ถูกพลเมืองดีรวบตัวไว้ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ผู้ร้ายสามารถแก้ไขปืนได้พอดี ก่อนที่จะสาดกระสุนเข้าไปยังประชาชนโดยไม่เลือกหน้า 

ในเวลาต่อมา กลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอเอส (IS) ได้ออกมาแถลงว่า ทางกลุ่มเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีนองเลือดในครั้งนี้ โดยมุ่งเป้าไปที่ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ที่ปฏิเสธศรัทธาของนิกายซุนนี

การโจมตีมัสยิดเมื่อวันพุธ ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ชาวอิหร่านกำลังร่วมไว้อาลัยในวันครบรอบ 40 วัน การเสียชีวิตของ มาห์ซา อามินี หญิงชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมในข้อหาสวมฮิญาบไม่เหมาะสม จนเป็นชนวนเหตุให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องเสรีภาพและขับไล่รัฐบาลอิหร่านชุดปัจจุบัน 

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ในระหว่างพิธีไว้อาลัยได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับฝูงชนในเมืองในเมืองซัคเคซ (Suqqez) ซึ่งถูกระบุว่ามีผู้เดินทางมาร่วมพิธีมากกว่า 10,000 คน โดยตำรวจได้ใช้กระสุนจริง-ใช้แก๊สน้ำตายิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม ขณะที่เมืองอื่นๆ รวมถึงกรุงเตหะราน เมืองหลวงของประเทศ ก็มีผู้ออกมาร่วมไว้อาลัยจำนวนมากจนเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอิหร่านเสริมกำลังในหลายจุด

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์โจมตีมัสยิดในเมืองชีราซ ไม่มีการเปิดเผยว่าเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ มาห์ซา อามินี หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเชื่อว่าไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด 

 

ที่มา CNN, AFP

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า