SHARE

คัดลอกแล้ว

ซัมซุง (Samsung) เปิดตัว Samsung Galaxy S23 Ultra กล้องละเอียด 200 ล้านพิกเซล ซูมไกล ซูมชัด ซูมไปถึงดวงจันทร์, ฝั่งเสี่ยวมี่ (Xiaomi) ก็เปิดตัวคอนเซปต์มือถือแนวใหม่ ที่เสียบเลนส์กล้องเข้ากับมือถือได้ ภาพและวิดีโอที่ได้ยังกับถ่ายจากกล้องใหญ่

นอกจากสองแบรนด์ที่พูดถึงข้างต้นแล้ว แต่ละแบรนด์มือถืออย่าง แอปเปิล (Apple) ออปโป (Oppo) โซนี่ (Sony) กูเกิล พิกเซล (Google Pixel) หัวเว่ย (Huawei) ต่างก็พัฒนากล้องให้มีคุณภาพสูงสุด ใช้พลังทั้งเซนเซอร์ และซอฟต์แวร์ ให้กล้องมือถือมันครบเครื่องมากขึ้น

กล้องมือถือเดี๋ยวนี้ ก็เลยทำได้มากกว่าถ่ายรูปสวยๆ แต่ยังถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงได้สูงสุด 8K บล็อกเกอร์ ยูทูเบอร์ ไปจนถึงคนทำหนังสั้นหลายราย ก็ใช้มือถือถ่ายคอนเทนต์แทนกล้องใหญ่แล้ว 

ในบทความนี้จึงมาชวนคุยว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่กล้องมือถือ จะพัฒนาไปถึงขีดสุด จนแทนที่กล้องใหญ่หรือกล้อง DSLR ได้ในอนาคต 

[ กล้องมือถือพัฒนาไปไวกว่ากล้องใหญ่ ]

สาเหตุที่มาชวนคุย เพราะผู้เขียนไปเจอบทความน่าสนใจจากเว็บไซต์ Tech Radar เผยว่า Terushi Shimizu ประธานและซีอีโอของ Sony Semiconductor Solutions (SSS) คาดการณ์ว่า ภาพนิ่งจากกล้องสมาร์ทโฟน จะมีคุณภาพเกินกว่าภาพที่ถ่ายจากกล้องใหญ่ที่เปลี่ยนเลนส์ได้ (ILC- interchangeable lens camera) ภายในปีหน้า หรือปี 2024 นี้

ซึ่งกล้อง ILC นี้ มีความหมายรวมถึงกล้อง mirrorless และ DSLR แล้วด้วย 

แต่ ณ โมเมนท์นี้ ภาพนิ่งจากสมาร์ทโฟน ยังแทนที่กล้องใหญ่ที่มาพร้อมเลนส์เฉพาะไม่ได้ เพราะต้องยอมรับว่า รูปหรือวิดีโอ จะสวยหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกล้องอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับเลนส์ด้วย แต่ละเลนส์ก็ให้อารมณ์ภาพต่างกัน ซึ่งมืออาชีพจะรู้ดี ถึงความจำเป็นของเลนส์กล้อง

 

แต่ถ้ามองในมุมการพัฒนานวัตกรรมแล้ว เทคโนโลยีกล้อง ILC กับเทคโนโลยีกล้องสมาร์ทโฟน สวนทางกัน กล่าวคือ กล้องสมาร์ทโฟน มีอะไรใหม่ออกมาเรื่อยๆ ส่วนกล้องใหญ่ การพัฒนาเริ่มหยุดนิ่ง และเริ่มจะซ้ำซ้อนแล้ว 

เนื่องจากกล้องและคุณภาพของภาพ กลายเป็นจุดขายหลักของสมาร์ทโฟน ผู้ผลิตจึงเริ่มลงทุนอย่างมากเพื่อลดช่องว่าง ใช้เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูงขึ้น และปรับปรุงการจับภาพและการประมวลผล เราจึงเห็นการขิงกันระหว่างแบรนด์มือถือ กลายเป็น “สงคราม resolution” 

Shimizu อธิบายในพรีเซนเทชั่นขององค์กรว่า เทคโนโลยีที่จะมาพัฒนากล้องสมาร์ทโฟน มีหลักๆ คือ quantum saturation และ AI processing 

ตัว quantum saturation นั้น โซนี่ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะหมายถึงเซนเซอร์ที่ใหญ่ขึ้น พิกเซลที่ใหญ่ขึ้น ความอิ่มตัวของสีสูงขึ้น 

ส่วน AI processing นั้นเป็นสิ่งที่แบรนด์มือถือนำมาใช้กับกล้องมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การลบคนออกจากรูปภาพ การตรวจจับวัตถุเพื่อให้สีออกมาสวย การทำหน้าชัดหลังเบลอ การทำบูเก้ เป็นต้น

แต่ที่กล่าวมาทำได้ในระดับภาพนิ่ง ซึ่ง AI processing ในพรีเซนเทชั่นของโซนี่ คาดการณ์ว่ามันจะประมวลผลคุณภาพวิดีโอให้สูงขึ้นได้ด้วย ลดความหน่วงให้อยู่ในระดับ Low Latency ได้ และเมื่อ AI ทำงานร่วมกับ Multi-frame processing (ภาพที่ดีที่สุดจากภาพถ่ายหลายๆ ภาพ มารวมกันเป็นภาพสุดท้ายเพื่อให้ภาพคมชัดขึ้น) ก็จะช่วยให้คุณภาพภาพถ่าย และวิดีโอดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน 

โซนี่ยังคาดการณ์ด้วยว่า ขนาดเซ็นเซอร์ในโทรศัพท์ระดับไฮเอนด์ จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2024 ซึ่งตัวโซนี่เองก็ผลิต Sony Xperia Pro-I โทรศัพท์เครื่องแรกของแบรนด์ที่มีเซ็นเซอร์ขนาด 1 นิ้ว 

ที่สำคัญ โซนี่ ยังเป็นผู้ผลิตเซนเซอร์กล้อง ป้อนบริษัทมือถืออื่นๆด้วย ข้อมูลจาก Statista เผยว่า โซนี่มีส่วนแบ่งในตลาดเซ็นเซอร์ภาพทั่วโลก 42% สำหรับสมาร์ทโฟน และใน iPhone 13 Pro Max ยังมีเซ็นเซอร์ Sony IMX 7-series ถึงสามตัว

[ สมาร์ทโฟน ทำให้คนเข้าถึงการถ่ายรูปมากขึ้น ]

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา กล้องมือถือพัฒนาไปเร็วมากอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ยังมีปัจจัยเรื่องการเข้าถึง คนสามารถเข้าถึงการถ่ายรูปได้มากขึ้น การถ่ายรูปสวยๆ ไม่ใช่เรื่องของมืออาชีพอย่างเดียวแล้ว 

ในยุคก่อนสมาร์ทโฟน เรามีตัวเลือกอย่างเดียว คือกล้องฟิล์ม กล้องดิจิทัล การไปท่องเที่ยว เหตุการณ์สำคัญๆ อย่างงานวันเกิด ต้องมีกล้องคอยเก็บภาพความทรงจำดีๆ 

แต่ตอนนี้ มีมือถือเครื่องเดียวก็ไปถ่ายรูปสวยๆ ที่ญี่ปุ่น เกาหลี หรือ งานวันเกิดของเพื่อนๆ ได้แล้ว สมาร์ทโฟนเดี๋ยวนี้ยังมีพื้นที่เก็บภาพได้เยอะ หรือจะเก็บบนคลาวด์ก็ได้ และยังแชร์รูปให้เพื่อนๆ ได้เร็วกว่าสมัยก่อน 

พัฒนาการของกล้องมือถือ แน่นอนว่ากระทบตลาดล้องดิจิทัล CIPA กลุ่มอุตสาหกรรมกล้องในประเทศญี่ปุ่น เช่น Olympus, Canon และ Nikon ระบุว่ายอดจัดส่งกล้องทั่วโลก ลดลงถึง 93% ในช่วงปี 2010-2021 หรือในรอบทศวรรษ

[ กล้องดิจิทัล ยังเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการเล่าเรื่อง ]

เมื่อสมาร์ทโฟนเริ่มพัฒนาไปไกล จนแทบจะกลายเป็นกล้องที่เล่นโซเชียลและโทรเข้าออกได้ แล้วบทบาทของกล้องดิจิทัลจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต

DXOMARK คือบริษัทอิสระจากฝรั่งเศส ทดสอบคุณภาพของกล้องถ่ายภาพ, เซ็นเซอร์รับภาพ และเลนส์ ที่คนในวงการยึดไว้วัดคุณภาพกล้องมานาน ซึ่ง DXOMARK ก็ติดตามพัฒนาการของกล้องมือถือมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว 

Frederic Guichard ซีอีโอและซีทีโอของ DXOMARK ให้มุมมองเรื่องบทบาทกล้องดิจิทัลว่า กล้องดิจิทัล ยังเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการเล่าเรื่องของช่างภาพ

Guichard บอกว่า ความลับที่ทำให้กล้องดิจิทัลจะยังมีอายุยืนยาวคือความไว้วางใจ เมื่อมันอยู่ในมือของผู้ที่รู้วิธีใช้กล้อง DSLR 

กล้องดิจิทัลและกล้อง DSLR มีเครื่องมือและกลไกที่ทำให้ช่างภาพควบคุมได้ว่าอยากจะเล่าเรื่องไหนผ่านภาพๆ หนึ่ง ช่างภาพที่มีประสบการณ์ยังสามารถเรียนรู้ขีดจำกัดของกล้อง DSLR ของตนได้  ซึ่งกล้องสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะฉลาดแค่ไหน ก็ยังทำผิดพลาดได้เยอะ ทำให้ภาพที่ออกมา ผิดจากเจตนาแรกของช่างภาพ

3D digital camera and lens isolated over white

จริงอยู่ที่ สมาร์ทโฟน มี AI และซอฟต์แวร์ช่วยปรับแต่งรูปได้ แต่ผลลัพธ์ก็ยังอยู่นอกเหนือการจินตนาการของช่างภาพ เราไม่รู้เลยว่าสมาร์ทโฟนจะให้รูปแบบไหนออกมาจนกว่าจะถ่ายเสร็จ ต่างจากกล้อง DSLR ที่มีกลไกควบคุมได้มากกว่า 

นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนยังมีข้อจำกัดเรื่องขนาด การจะถ่ายภาพให้สวย เซนเซอร์เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งขนาดใหญ่ ยิ่งดี ซึ่งกล้องถ่ายรูปมีพื้นที่สำหรับเซนเซอร์ ในขณะที่สมาร์ทโฟนต้องใช้พื้นที่ไปกับฟังก์ชั่นอื่นๆ ด้วย ที่ไม่ใช่แค่ถ่ายรูป

TODAY Bizview เคยพูดคุยกับ Canon ประเทศไทย ระบุว่า ในภาพรวมตลาดกล้องหดตัวลง สาเหตุหลักมาจากยอดขาย ‘กล้องคอมแพค’ ที่ติดลบ แต่กล้องดิจิทัลราคาระดับกลาง-บน เช่น กลุ่มกล้องมิเรอร์เลส และกล้อง DSLR นั้นยังเติบโตอยู่บ้าง

ส่วนหนึ่งที่ช่วยดันให้กล้อง มิเรอร์เลส และกล้อง DSLR โตคือ จำนวนบล็อกเกอร์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทยเติบโตขึ้นมาก และกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่ต้องการภาพที่มีคุณภาพระดับหนึ่ง 

ที่สำคัญ แม้กล้องใหญ่อาจมีบทบาทลดลงไปในภาพนิ่ง แต่ในงานวิดีโอ งานโปรดักชั่น งานสายอาชีพ ยังต้องพึ่งพากล้องใหญ่ไปอีกยาวๆ 

ที่มา : Tech Radar, Sony, Statista, DXOMark, TODAY

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า