Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับเป็นประเด็นที่ซับซ้อน และมีชาติมหาอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง

หากจะย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นจริงๆ อาจต้องมีการย้อนประวัติศาสตร์นับพันปี แต่ในที่นี้เราจะมาเริ่มกันที่การก่อตั้งประเทศอิสราเอลอย่างเป็นทางการ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์และชาติอาหรับในยุคใหม่ เพื่อทำความเข้าใจคร่าวๆ ว่าก่อนจะมาถึงจุดนี้ มีเหตุการณ์อะไรในอดีตเกิดขึ้นบ้าง

1. ประเทศอิสราเอล ก่อตั้งเมื่อ 1947 โดยองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เสนอให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งปกครองโดยจักรวรรดิอังกฤษออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ชาวยิวที่ต้องเร่ร่อนไปอยู่ตามประเทศต่างๆ กลับมาตั้งประเทศของตนเองได้ และเหลือดินแดนให้ปาเลสไตน์เพียงฉนวนกาซาและเขตเวสต์แบงก์เท่านั้น

2. แผนดังกล่าวต้องการคะแนนเสียงอย่างน้อย 2 ใน 3 ซึ่งในการโหวตครั้งแรกแม้ฝ่ายที่เห็นด้วยจะมีมากกว่า แต่เมื่อดูทีท่าแล้วหากทำการลงมติอาจได้คะแนนไม่ถึงสัดส่วนที่กำหนด ชาติฝั่งตะวันตกจึงขอมติให้เลื่อนโหวตออกไปอีก 3 วัน ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของชาติอาหรับที่เป็นชาวมุสลิม แต่ก็ไม่สามารถต้านทานเสียงส่วนใหญ่ได้ เพราะการขอเลื่อนลงมติต้องการคะแนนเกินครึ่งก็สามารถเลื่อนได้แล้ว

3. หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันที่ 27 พ.ย. 1947 ตีพิมพ์ว่า เจ้าหน้าที่จากประเทศสยามในวอชิงตันได้ขอถอนสิทธิ์ของตัวแทนสยามในสหประชาชาติ ที่ในตอนแรกลงคะแนนว่า ไม่เห็นด้วย และเมื่อสิทธิ์นั้นโดนยกเลิก ทำให้คะแนนจากฝ่ายคัดค้านถูกลดลงไป 1 เสียง และคะแนนรวมจะเปลี่ยนมาเป็น 25-12 เสียง ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ทันที แต่สุดท้ายแล้วแผนนี้ก็ได้รับการอนุมัติด้วยคะแนน 33-13 เสียง มี 10 ประเทศงดออกเสียง และไม่มีสยามอยู่ในรายชื่อผู้ลงคะแนน

4. หลังจากอิสราเอลประกาศเอกราชในวันที่ 14 พ.ค. 1948 ชาติอาหรับได้แก่อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอิรัก ที่ไม่พอใจกับแผนแบ่งดินแดน ก็ได้เปิดฉากโจมตีอิสราเอลทันที โดยมีซาอุดิอาระเบียกับเยเมนสมทบกำลังตามมา แม้จะโดนรุมกินโต๊ะจากหลายชาติ แต่อิสราเอลเตรียมพร้อมเพื่อการณ์นี้อยู่แล้ว และสามารถตีโต้กลับไปยังดินแดนชาติอาหรับได้อีกด้วย สงครามรอบนี้จบลงที่การทยอยเซ็นสัญญาสงบศึก ระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับแต่ละประเทศในช่วงต้นปี – กลางปี 1949

5. ความขัดแย้งในครั้งนั้นยังคงดำเนินต่อมาเรื่อยๆ มีการทำสงครามกันระหว่างอิสราเอลและชาติอาหรับหลายครั้ง สุดท้ายเริ่มมีการเลิกล้มความพยายามที่จะทำสงครามเต็มรูปแบบระหว่างกัน จนมาถึงการทำข้อตกลงออสโลในปี 1993 และ 1995 ที่มีการแบ่งเขตเวสต์แบงก์ออกเป็นเขต A B และ C

6. แต่ส่วนสำคัญที่เป็นปัญหาคือเยรูซาเล็มตะวันออก ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเวสต์แบงก์ เนื่องจากมีประเด็นเรื่องศาสนาที่เชื่อว่า เยรูซาเล็มคือดินแดนแห่งพันธสัญญา และพยายามจะดำเนินการผนวกดินแดนฝั่งนี้ให้กลายไปเป็นของอิสราเอลให้ได้ ด้วยการให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากนานาชาติและยูเอ็น

7. ฝั่งอิสราเอลเชื่อว่าเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงและไม่อาจแบ่งแยก ถ้าพูดแบบง่ายๆ คือต้องการครอบครองทั้งเมือง จึงเกิดความพยายามที่จะผนวกดินแดนในเขตเวสต์แบงก์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปาเลสไตน์ยกให้เยรูซาเล็มฝั่งตะวันออกเป็นเมืองหลวงของปาเลสไตน์ ก็ไม่ต้องการยกดินแดนฝั่งนี้ให้อิสราเอลง่ายๆ จึงเกิดความรุนแรงเรื่อยมาในดินแดนที่อิสราเอลพยายามเข้าไปครอบครอง โดยเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการปะทะกันระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์แทน

8. ปัจจุบันนานาชาติ (ยกเว้นสหรัฐฯ) ไม่ยอมรับการอ้างเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล และออกมาปรามอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอียิปต์และจอร์แดน ที่เป็นเพียง 2 ประเทศในภูมิภาคที่เซ็นสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล ก็แสดงจุดยืนต่อต้านอย่างชัดเจน

9. จนมาถึงวันที่ 13 ส.ค. 2020 ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้เคยเพิ่มความขัดแย้งในภูมิภาคด้วยการประกาศรับรองให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลเมื่อปี 2017 มาคราวนี้สลับมาเล่นบทเป็นทูตสันติภาพ ที่เจรจาให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอิสราเอลเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพร่วมกัน

10. สัญญาฉบับนี้ระบุว่าทั้งสองประเทศจะเริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตกันอย่างเป็นทางการ และส่วนสำคัญคือการยับยั้งไม่ให้อิสราเอลผนวกเขตเวสต์แบงก์เข้าไปเป็นของตนเอง

11. แม้สนธิสัญญาฉบับเดียวอาจยังไม่ใช่จุดจบของความขัดแย้งที่ดำเนินมากว่าครึ่งศตวรรษ และยูเออีเองก็ไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรงกับอิสราเอล แต่อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นการลดความตึงเครียดของภูมิภาคลงได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การเจรจากับชาติอื่นในอนาคตต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า