SHARE

คัดลอกแล้ว

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC THAI ว่าหลังจากป็นรัฐบาลครบวาระ 4 ปี หนึ่งในประเทศที่อยากเห็นไทยเจริญตามรอยไปถึงคือ ‘ญี่ปุ่น’ เพราะต้องการเป็น “ประเทศที่กระจายอำนาจ ไม่รวมศูนย์ ประเทศที่กรุงเทพฯ ไม่ใช่ประเทศไทย ประเทศไทยไม่ได้มีแค่กรุงเทพฯ”

คีย์เวิร์ดหนึ่งที่นำมาสู่ความสำเร็จของญี่ปุ่นคือ ‘การกระจายอำนาจ’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่พรรคก้าวไกลผลักดันมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคอนาคตใหม่ จนบรรลุเป้าหมายได้คะแนนมาโหวตเป็นอันดับหนึ่ง ในฐานะพรรคก้าวไกล ทิม พิธาก็ยังให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ และยังเป็นหนึ่งใน MOU ของพรรคร่วมรัฐบาล

[รากฐานการกระจายอำนาจ]

ญี่ปุ่น เริ่มต้นกระบวนการกระจายอำนาจ ด้วยแนวคิดคล้ายๆ กับพรรคก้าวไกลคือ ต้องการให้หน่วยงานในพื้นที่มีอิสระในการบริหารและจัดการพื้นที่ของตัวเอง ก่อนหน้านี้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่นทำหน้าที่เหมือนสาขาของกระทรวงต่างๆ ซึ่งญี่ปุ่นได้ผลักดันการแก้กฎหมายกระจายอำนาจกว่า 400 ฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายให้อิสระแก่ท้องถิ่น 

จนกระทั่งในปี 2000 ยุคใหม่ของการกระจายอำนาจในญี่ปุ่นถือกำเนิดขึ้น ซึ่งนำมาสู่บทบาทที่มากขึ้นของผู้ว่าฯ และนายกเทศมนตรี ที่จะมีอำนาจในการตัดสินเรื่องในพื้นที่ของตัวเอง

ว่าแต่การแก้กฎหมายยกชุดนี้มันช่วยให้คนญี่ปุ่นแต่ละจังหวัดสามารถเลือกตั้งผู้ว่าฯ และนายกเทศมนตรี (ซึ่งล้วนเป็นการปกครองท้องถิ่น) ได้เองหรือเปล่า คำตอบคือ ‘ไม่’ เพราะคนญี่ปุ่นเลือกผู้นำส่วนท้องถิ่นได้ตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1947

ถัดจากกระบวนการต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ถอยกลับมาดูภาพการปกครองของญี่ปุ่นแบบกว้างๆ ในปัจจุบัน ในส่วนของการบริหารญี่ปุ่นจะแบ่งเป็น คือส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับไทย มีระบบรัฐสภา และมีนายกรัฐมนตรี 

อีกส่วนคือท้องถิ่น ซึ่งจะแบ่งเป็นระดับจังหวัด (ผู้ว่าฯ จากการเลือกตั้ง) และเทศบาล (นายกเทศมนตรีจากการเลือกตั้ง) 

แตกต่างจากไทยที่มีการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งนโยบายผู้ที่ทำหน้าส่วนภูมิภาค จะได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางโดยตรง

ผู้ว่าฯ ญี่ปุ่นจะมีอำนาจเต็มเม็ดเต็มหน่วยในการดูแลจังหวัดของตัวเอง อย่างเช่น หน้าที่สำคัญๆ อย่างการเก็บ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับต่างๆ ภาษีเพื่อการอยู่อาศัย (รัฐบาลกลางจะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก) 

เงินทั้งหมดทั้งมวลที่เก็บมาก็จะถือเป็นรายได้ สิ่งนี้เรียกว่า ระบบการคลังท้องถิ่น โดยเงินจะเข้าท้องถิ่นประมาณ 60% และส่งส่วนกลาง 40%

เท่ากับว่า แต่ละจังหวัดก็จะมีรายได้เข้ามาแตกต่างกัน แต่ก็เข้ามาในจำนวนที่เหมาะสมกับการบริหารในแต่ละพื้นที่ แล้วแต่ละพื้นที่ก็จะนำเงินที่ได้มาพัฒนาเรื่องการศึกษา ความปลอดภัย ขนส่งสาธารณะ 

เพราะกิจการหลายๆ อย่าง เช่น  กิจการตำรวจ (จริงๆ มีทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น) การดูแลโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข สวัสดิการเด็กและผู้สูงอายุ ล้วนอยู่ในอำนาจของจังหวัด ทำให้จังหวัดสามารถบริหารจัดการหน่วยงานได้ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของคนพื้นที่ 

การกระจายอำนาจของญี่ปุ่นเป็นไปด้วยดีไหม เราสามารถวัดที่ ‘รายจ่าย’ ของหน่วยงานท้องถิ่น ที่มากกว่าส่วนกลาง รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศของญี่ปุ่นมีมากกว่ารายจ่ายของรัฐบาลกลาง เพราะมีงานและรายละเอียดให้ทำมาก แต่ส่วนกลาง จะเน้นไปที่งานที่มาจากส่วนกลางโดยตรง อย่างเช่นที่พูดถึงเมื่อครู่ กิจการตำรวจส่วนกลาง ซึ่งมีสมาชิกน้อยกว่าส่วนท้องถิ่นรวมกัน

เมื่อจังหวัดมีอำนาจ และมีงบประมาณแบบนี้ เราจึงได้เห็นการกระจายตัวของคน ประชาชนไม่กระจุกตัวอยู่ตามเมืองหลวง แต่คนหนุ่มสาวยังสามารถทำงานในจังหวัดบ้านเกิด ต่อยอดไปถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะไปที่ไหนของญี่ปุ่น เราก็จะเจอมนต์เสน่ห์ที่แตกต่างกันของแต่ละที่ เพราะคนในพื้นที่พัฒนา ย่อมรู้จักพื้นที่ตัวเองดีกว่าการให้คนจากท้องถิ่นอื่นมาเป็นผู้กำหนดชะตา

 

[การทำงานของพรรคที่สอดคล้อง]

เมื่อพูดถึงมุมบริหารแล้วคงเป็นเรื่องยากที่จะไม่พูดถึงการเมืองแบบตรงๆ หลายคนอาจจะพอรู้มาบ้างว่ารัฐสภาญี่ปุ่นแทบจะถูกจับจองด้วยพรรคการเมืองเดียวนานครึ่งศตวรรษ ซึ่งพรรคนั้นคือ พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party – LDP) 

มีแค่ 6 ปีเท่านั้นที่ LDP พ่ายแพ้ให้กับพรรคขั้วตรงข้าม อย่างเช่น พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan – DPJ) 

ในประเทศประชาธิปไตย การสลับสับเปลี่ยนพรรคการเมืองขึ้นมาเป็นรัฐบาลถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นสัญญาณที่ดีของการบริหารที่มีการแข่งขันกันพัฒนาประเทศ ส่วนประเทศที่มีพรรคการเมืองเดียวปกครองยาวนาน ทางรัฐศาสตร์มองว่ายิ่งนานวันยิ่งทำให้เกิดปัญหา ไม่ว่าจะคอร์รัปชั่น ไม่แยแสประชาชน (เพราะเชื่อมั่นในชัยชนะ) 

แต่หนังสือ Japanese Democracy and Lessons for the United States (2020) กลับวิเคราะห์ญี่ปุ่นในอีกมุมหนึ่ง ในฐานะประเทศที่ปกครองด้วยพรรคการเมืองเดียว แต่ยังดำรงประชาธิปไตยไว้ รวมถึงประเทศยังก้าวหน้าเรื่อยๆ 

หนังสือดังกล่าวบอกว่า การมีรัฐบาลที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงพรรคมาเป็นรัฐบาล จะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายค้านหรือคู่แข่งมีความสามารถในการแข่งขันมากพอ ในกรณีของญี่ปุ่น สาเหตุที่ LDP ครองอำนาจยาวนาน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะฝ่ายค้านอ่อนแอ

แต่นั่นเป็นแค่เกร็ดความรู้ และอาจไม่เกี่ยวข้องกับการที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศต้นแบบที่ทิม พิธาอยากเห็นประเทศไทยเดินทางไปถึงตรงๆ พรรค LDP อยู่มาได้นานขนาดนี้เพราะตัวพรรคก้าวไกลเองก็มีนโยบายกระจายอำนาจ เน้นโครงสร้างพื้นฐานตามหัวมุมเมืองต่างๆ เช่น ถนน โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์กลางชุมชนท้องถิ่น ซึ่งกลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญในการดึงดูดการเข้ามาของอุตสาหกรรมและกระจายความเจริญออกนอกเมืองหลวง

แถมยังมีนโยบายทางการเงินเช่น ผ่อนผันภาษี ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ อุดหนุน SME ขนาดย่อม ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนมีโอกาสแข่งขันในตลาดอย่างเท่าเทียมมากขึ้น 

และเพื่อให้แนวทางดังกล่าวดำเนินได้เต็มประสิทธิภาพ พรรค LDP ยังมีนโยบายบางส่วนที่ออกมาเพื่อควบคุมการผูกขาด เช่น ควบคุมการเปิดซูเปอร์มาเก็ต ด้วยขนาดพื้นที่

แม้ส่วนหนึ่งจะมีบทวิเคราะห์ว่าพรรค LDP ออกนโยบายหลายๆ อย่าง รวมถึงที่กล่าวไป เพราะต้องการรักษาฐานคะแนนเลือกตั้งในแต่ละครั้งของตัวเอง แต่นโยบายเหล่านี้ตอบโจทย์ในด้านของการส่งเสริมการกระจายอำนาจ ที่มีรากฐานมาอยู่ก่อนแล้ว

การทำงานที่สอดคล้องกันของรากฐานเดิมที่ถูกวางมากับพรรคที่ครองตำแหน่งรัฐบาลมาตลอดโดยแทบไร้รอยต่อ ทำให้ส่วนกลางไม่ต้องมีภาระในการทำงานยิบย่อยน้อยลง และหันมาให้ความสำคัญกับนโยบายภาพใหญ่ และเรื่องระดับประเทศ 

การกระจายช่วยลดปัญหาการใช้อำนาจทับซ้อนกันในแต่ละพื้นที่ ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างลื่นไหล จึงไม่น่าแปลกใจที่ญี่ปุ่นจะถูกหยิบขึ้นมาพูดถึงประเทศตัวอย่างของการกระจายอำนาจ แถมยังเป็นประเทศที่เติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลดีทั้งในระดับชาติ และประชาชน

 

อ้างอิงจาก

https://www.bbc.com/thai/articles/c2xklgnjldro 

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

https://thevotersthai.com/columnist03/#_ftn4

https://thaipublica.org/2021/10/pridi269/

http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1579

https://ww2.loei.go.th/files/com_news_mission/2019-08_b344231fa6bb794.pdf

https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_621849

https://poonamtongtin.com/a/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

https://www.britannica.com/topic/Liberal-Democratic-Party-of-Japan

https://www.nbr.org/publication/the-2012-japanese-election-paradox-how-the-ldp-lost-voters-and-won-the-election/

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/download/52275/43351

 


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาแบบ 1:1

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite

*คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า