SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 22 เม.ย. สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า คณะกรรมการในรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อาจเกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูงถึง 30 เมตร พัดถล่มจังหวัดฮอกไกโด ทางเหนือของประเทศ และจังหวัดอิวาเตะ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 9 ตลอดแนวร่องลึกก้นสมุทรนอกชายฝั่งมหาสุทรแปซิฟิก

 

 

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญออกคำเตือนโดยอ้างอิงมาจาก “กรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้” และกล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางโดยรอบ”ร่องลึกญี่ปุ่น” (Japan Trench) และ “ร่องลึกคูริล” (Kuril Trench) ทางตอนเหนือของประเทศ “อาจใกล้จะเกิดขึ้นแล้ว”

โดยคาดว่า เมืองมิยาโกะ ในจังหวัดอิวาเตะ จะได้รับความเสียหายจากสึนามิที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ถึง 29.7 เมตร ตามมาด้วยเมืองเอริโมะ ในจังหวัดฮอกไกโด ที่ 27.9 เมตร

สึนามิยังอาจสร้างความเสียหายแก่พื้นที่บางส่วนของชายฝั่งจังหวัดอาโอโมริ ที่ติดกับทะเลญี่ปุ่น ที่รวมถึงอ่าวมัตสึ โดยพื้นที่ศาลากลางจังหวัดอาโอโมริ และอาคารสำนักงานท้องถิ่น คาดว่าจะมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร

แม้คณะกรรมการประจำสำนักงานคณะรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะคำนวณความเป็นไปได้ของเหตุแผ่นดินไหวลักษณะดังกล่าว แต่ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า เหตุสึนามิครั้งใหญ่มักเกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวทุกๆ 300-400 ปี โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17

ทั้งนี้ “ร่องลึกญี่ปุ่น” ทอดยาวจากน่านน้ำนอกชายฝั่งเกาะฮอกไกโดไปจนถึงคาบสมุทรโบโสะ ในจังหวัดชิบะ ทางตะวันออกของกรุงโตเกียว ส่วน “ร่องลึกคูริล” ทอดยาวจากน่านน้ำนอกชายฝั่งทะเลของอำเภอโทคาชิ บนเกาะฮอกไกโด ไปยังหมู่เกาะคูริล ของรัสเซีย

แผ่นดินไหวขนาด 9.0 และคลื่นยักษ์สึนามิที่ซัดถล่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 และมีผู้เสียชีวิตถึงกว่า 15,000 คน ยังมีความเกี่ยวข้องกับร่องลึกญี่ปุ่นด้วย อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้คณะกรรมการคาดการณ์ว่า แผ่นดินไหวจะมีจุดศูนย์กลางในแถบน่านน้ำชายฝั่งซานริกุ และเขตฮิดากะของเกาะฮอกไกโด รวมถึงน่านน้ำนอกชายฝั่งทะเลเมืองโทคาชิ และเนมุโระ

นายเคนจิ ซาตาเกะ นักแผ่นดินไหววิทยาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว และหัวหน้าคณะกรรมการ ชี้ว่า แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ แม้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก แต่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคดังกล่าว เนื่องจากแผ่นดินไหวในลักษณะดังกล่าวเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในรอบ 6,000 ปีที่ผ่านมา

นายซาตาเกะ กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เช่นการสร้างเขื่อนตลอดแนวชายฝั่ง อาจรับมือได้ค่อนข้างยากหากเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะนี้ ส่วนการปกป้องชีวิตประชาชน อาจต้องใช้นโยบายพื้นฐานคือการอพยพ

สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดตัวคณะทำงานเมื่อวันอังคาร เพื่อประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชน สิ่งก่อสร้าง และเศรษฐกิจ ด้วยการคาดการณ์เหตุหายนะที่อาจเกิดขึ้น และการศึกษามาตรการป้องกัน โดยมีแผนจะหาข้อสรุปให้ได้ภายในสิ้นเดือนมีนาคมปีหน้า

คณะกรรมการยังได้สร้างแบบจำลองโดยอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดจากสึนามิในช่วง 6,000 ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ฮอกไกโด, อาโอโมริ, อิวาเตะ, มิยางิ, ฟุกูชิมะ, อิบารากิ และชิบะ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า