SHARE

คัดลอกแล้ว
การเดินทางเยือนเวียดนามและอินโดนีเซียของนายโยชิฮิเดะ ซูกะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถูกจับตาขึ้นมาในทันที เพราะถูกมองว่า นี่เป็นความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นที่เลือกให้เวียดนามและอินโดนีเซียเป็นแกนหลักต้านทานการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอาเซียน
วันนี้ workpointTODAY สรุปความเคลื่อนไหวดังกล่าวมาเป็นข้อๆ ดังนี้
1️⃣ นายโยชิฮิเดะ ซูกะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น เข้ามาทำหน้าที่แทนนายชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ขอลาออกเพราะมีปัญหาสุขภาพ
ผู้ติดตามการเมืองญี่ปุ่นมองว่า นายซูกะน่าจะสามารถจัดการกับการเมืองภายในประเทศได้เป็นอย่างดี เพราะที่ผ่านมารับหน้าที่หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นมือขวาทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะอยู่แล้ว แต่ที่หลายฝ่ายกังวลคือการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ที่นายซูกะถูกวิจารณ์ว่า ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เท่าไหร่นัก
2️⃣ การดำเนินนโยบายต่างประเทศภายใต้รัฐบาลนายซูกะเป็นที่สนใจในทันทีเมื่อต้นเดือนตุลาคม เมื่อสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า นายซูกะจะประเดิมการเดินทางเยือนต่างประเทศในฐานะผู้นำญี่ปุ่น ด้วยการไปเวียดนามและอินโดนีเซีย สองชาติสมาชิกอาเซียน ก่อนจะมีการยืนยันกำหนดการเยือนสองชาติอาเซียนทั้ง 4 วันในสัปดาห์นี้
3️⃣ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเดินทางถึงกรุงฮานอยของเวียดนามเมื่อวันอาทิตย์ (18 ต.ค.) จากการพูดคุยกันระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ รัฐบาลญี่ปุ่นยินดีที่จะช่วยเวียดนามเสริมกำลังทางการทหารผ่านการส่งออกยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นให้เวียดนาม โดยผู้นำทั้งสองชาติเห็นพ้องจะร่วมรักษาสันติภาพ ความมั่นคงและเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลจีนใต้
รายงานข่าวระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะสนับสนุนเครื่องบินลาดตระเวน และระบบเรดาร์ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการเหนือทะเลจีนใต้ของกองทัพเวียดนาม
นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังยินดีให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของเวียดนามจากภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมเปิดพรมแดนให้นักธุรกิจและเที่ยวบินระหว่างประเทศสามารถสัญจรไปมาระหว่างญี่ปุ่นกับเวียดนามได้

โยชิฮิเดะ สึกะ นายกรัฐมนตรี ญี่ปุ่น AFP1063

4️⃣ หลังเสร็จสิ้นภารกิจที่เวียดนาม นายซูกะเดินทางต่อไปยังอินโดนีเซีย เพื่อร่วมหารือกับนายโจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
การเลือกเดินทางเยือนอินโดนีเซียถูกจับตาเป็นพิเศษ เพราะต้องถือว่าอินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 รุนแรง ดังนั้นการตัดสินใจไปเยือนอินโดนีเซียทำให้ถูกมองว่า ผู้นำญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับประเทศอินโดนีเซียมาก
ที่ผ่านมาญี่ปุ่นกับอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น โดยญี่ปุ่นเข้าไปช่วยอินโดนีเซียพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในกรุงจาการ์ตา และยังให้เงินช่วยเหลือสำหรับการปรับปรุงท่าเรือ การสร้างทางด่วนและสาธารณูปโภคต่างๆ ในอินโดนีเซียด้วย
ขณะที่บริษัทเอกชนในญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่า ได้ย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งในอินโดนีเซียมากขึ้น โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ย้ายโรงงานไปอยู่อินโดนีเซีย ก็มีทั้งเดนโซ่ (Denso) พานาโซนิค (Panasonic) และโตโยต้า (Toyota) เป็นไปตามแผนที่รัฐบาลอินโดนีเซียกำหนดยุทธศาสตร์ หวังให้บริษัทเอกชนของญี่ปุ่นและชาติอื่นๆ ย้ายฐานการผลิตจากจีนไปที่อินโดนีเซีย เพื่อลดความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมทั้งการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้หลายบริษัทเริ่มหาทางเลือกสำรองที่ไม่ใช่ประเทศจีนมากขึ้น
5️⃣ ผลการเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและประธานาธิบดีอินโดนีเซีย รัฐบาลญี่ปุ่นยินดีให้อินโดนีเซียกู้เงินเกือบ 15,000 ล้านบาท เพื่อจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มาจากโรคโควิด-19 และจะช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเพื่อช่วยอินโดนีเซียรับมือกับโรคระบาด
แต่ที่น่าจับตาคือการที่ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เห็นชอบในข้อตกลงด้านความมั่นคงที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหารให้กับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นข้อตกลงเดียวกับที่ญี่ปุ่นทำกับเวียดนามเมื่อต้นสัปดาห์
6️⃣ ความตกลงทางการทหารระหว่างญี่ปุ่น กับเวียดนามและอินโดนีเซีย คือเป้าหมายการเดินทางเยือนทั้งสองประเทศของนายกรัฐมนตรีซูกะ ตามแนวทางที่รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกว่า ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี (free and open Indo-Pacific) สวนทางกับความพยายามขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอาเซียน ผ่านการพัฒนาในโครงการ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt One Road) ไปจนถึงการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ซึ่งทำให้เกิดเป็นข้อขัดแย้งระหว่างจีนกับหลายชาติอาเซียน รวมทั้งเวียดนามที่เป็นคู่ขัดแย้งหลักในกรณีนี้ และอินโดนีเซียที่พื้นที่อ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ของจีน ทับซ้อนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษของอินโดนีเซียด้วย
7️⃣ ท่าทีของนายซูกะที่เคลื่อนไหวต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีน ทำให้เกิดเป็นคำถามว่า ผู้นำญี่ปุ่นป้ายแดงที่ถูกวิจารณ์ถึงความไม่เชี่ยวชาญการเมืองระหว่างประเทศ กำลังวางยุทธศาสตร์ต่อจีนอย่างไร และแนวทางต้านจีนของนายซูกะจะไปได้ไกลแค่ไหน เพราะนักการเมืองที่รายล้อมเขาหลายคนมีแนวคิดสนับสนุนรัฐบาลจีน
ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาท่าทีของรัฐบาลจีน ซึ่งตามปกติแล้วจะต้องตอบโต้เกี่ยวกับเรื่องทะเลจีนใต้ทันที แต่ในครั้งนี้ยังไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆ ออกมาอย่างเป็นทางการ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า