SHARE

คัดลอกแล้ว

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน Netflix เป็นแพลตฟอร์มสตรีมวิดีโอที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดรายหนึ่งของโลก

ด้วยจำนวนยอดผู้ใช้งานปัจจุบันที่ราว 213.6 ล้านราย และมูลค่ากิจการ (ตามราคาตลาด) อยู่ที่ประมาณ 9.93 ล้านล้านบาท

ความสำเร็จของ Netflix ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากไอเดียอันแสนบรรเจิดของผู้ร่วมก่อตั้งที่มองเห็นเพนพอยต์และความต้องการของคนอเมริกัน

และไอเดียนั้นก็แหลมเข้าตามหาเศรษฐีอย่าง ‘เจฟฟ์ เบซอส’ จนเขาเคยขอซื้อบริษัทเน็ตฟลิกซ์มาแล้วด้วย!

ย้อนไปในฤดูร้อนของปี 1998 เพียง 2 เดือนหลังจากที่ Netflix เปิดตัวอย่างเป็นทางการ (ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นเพียงบริการให้เช่าวิดีโอหนังแก่สมาชิกผ่านไปรษณีย์) ผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพสตรีมมิงหนังรายนี้อย่าง ‘รีด แฮสติงส์’ และ ‘มาร์ค แรนดอล์ฟ’ กลับได้รับโทรศัพท์จากบริษัท Amazon

“เจฟฟ์ เบซอส ต้องการมาพบพวกเรา” แรนดอล์ฟ กล่าวกับ CNBC

ทั้งนี้ แรนดอล์ฟที่ในตอนนั้นดำรงตำแหน่งซีอีโอของบริษัท บอกว่า เขาจำได้ว่าตอนนั้นเขาและแฮสติงส์รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้พบกับผู้ก่อตั้ง Amazon ที่ตอนนั้นเพิ่งเริ่มขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเขาให้ไปไกลมากกว่าหนังสือ

ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในตอนนั้น Amazon ยังเป็นบริษัทเด็กน้อยที่เพิ่งมีอายุได้ 4 ปี และหนึ่งปีก่อนหน้านั้นก็เพิ่งเปิดตัวในตลาดหุ้นด้วยมูลค่า 54 ล้านดอลลาร์

สถานการณ์ตอนนั้นเรียกได้ว่าเบซอสอยู่ภายใต้แรงกดดันจากนักลงทุน เขาจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีการเข้าซื้อกิจการแบบเชิงรุก เพื่อขยายธุรกิจของบริษัท

แรนดอล์ฟระบุไว้ในไดอารี่ว่า “เขา (เบซอส) ต้องการเป็นร้านค้าที่ขายทุกอย่าง แต่นั่นจะไม่มีวันเวิร์กได้หรอก”

“ณ จุดนั้น Amazon มีรายได้เกือบ 100 ล้านดอลลาร์จากการขายหนังสือ และมีพนักงานประมาณ 600 คน” แรนดอล์ฟเขียนไว้ในหนังสือของเขา

โดยแรนดอล์ฟและแฮสติงส์รู้ว่าพวกเขาต้องเข้าร่วมประชุมจึงบินไปซีแอตเทิลเพื่อพบกับเบซอสและทีมงานของ Amazon

แต่พวกเขาประหลาดใจกับสิ่งที่พบในออฟฟิศของบริษัทอย่าง Amazon คือแทนที่จะสวยงามแบบที่จินตนาการไว้ แต่สำนักงานของ Amazon กลับมีสภาพเหมือน ‘เล้าหมู’ ผู้คนทำงานกันอย่างแออัด โต๊ะทำงานก็ดูเหมือนทำมาจากประตูไม้เก่าๆ หรือเสาไม้

“และเจฟฟ์ก็อยู่ในออฟฟิศนั้นกับคนอีก 4 คน”

แรนดอล์ฟกล่าวว่า การพูดคุยระหว่างพวกเขาและเบซอสใช้เวลาไม่นาน โดยเบซอสต้องการซื้อ Netflix เพื่อต้องการพา Amazon กระโดดเข้าสู่ตลาดวิดีโอ

และหลังจากการประชุมสิ้นสุดลง ทีมงานของเบซอสได้เสนอตัวเลขราว 14-18 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อกิจการ Netflix

ซึ่งเมื่อมาลองพิจารณาดูแล้ว นั่นถือเป็นตัวเลขที่น่าสนใจไม่น้อยเลยสำหรับบริษัทที่มีอายุเพียง 2 เดือนอย่าง Netflix

โดยแรนดอล์ฟถือหุ้นอยู่ 30% และรีดถือหุ้นอยู่ 70% หากขายจริง ทั้งคู่ก็เหมือนคนที่ทำงานในระยะเวลาสั้นๆ แล้วหอบเงินหลายล้านแยกย้ายกันกลับบ้านเลยก็ว่าได้

ระหว่างนั่งเครื่องบินกลับบ้าน แรนดอล์ฟบอกว่าพวกเขาคุยกันถึงข้อดี-ข้อเสียของการขายบริษัท

ข้อที่ดีที่สุดคือ บริษัทยังทำเงินไม่ได้, ไม่มีรูปแบบธุรกิจที่ทำซ้ำได้, ยังไม่สามารถสเกลธุรกิจหรือทำกำไรได้ แถมตอนนั้นพวกเขาก็กำลังทำธุรกิจหลายอย่าง (ส่วนใหญ่คือการขายดีวีดี) ค่าใช้จ่ายของพวกเขาก็สูง

นอกจากนี้ พวกเขายังรู้อีกว่า ถ้าหากไม่ขายกิจการให้ Amazon ในตอนนี้ พวกเขาก็ต้องแข่งขันกับ Amazon ในอีกไม่ช้า

ถึงแม้จะอยู่ในสภาวะแบบนั้น แต่ทั้งคู่ก็รู้ว่าพวกเขา “จวนเจียนที่จะใกล้ถึงอะไรบางอย่าง”

เพราะในตอนนั้น Netflix ก็เริ่มมีเว็บไซต์ที่ใช้งานได้, มีทีมงานที่ชาญฉลาด และไปทำข้อตกลงกับผู้ผลิตดีวีดีจำนวนหนึ่งไว้

พวกเขายังค้นพบวิธีการจัดหาดีวีดีแทบทุกรายการที่มีในตลาด และในตอนนั้น Netflix เองก็เป็น ‘แหล่งค้นหาดีวีดีที่ดีที่สุดบนอินเทอร์เน็ตอย่างไม่ต้องสงสัย’

แรนดอล์ฟและแฮสติงส์ตัดสินใจนั่งเครื่องบินกลับไปพบปะกับ Amazon อีกครั้ง และไม่ได้ปฏิเสธทันทีที่เครื่องลงจอด แต่มีการพูดคุยที่จุดประกายให้พวกเขาคิดหาวิธีใหม่ๆ จากการขายดีวีดีไปเป็นการให้เช่าดีวีดีแทน เพราะพวกเขารู้ว่า Amazon จะกลายเป็นคู่แข่งรายใหญ่แน่ๆ

การตัดสินใจของพวกเขาก็สร้างผลตอบแทนให้อย่างงาม เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Netflix กลายเป็นบริษัทระดับโลกที่มีรายได้ในปีที่ผ่านมา 749,000 ล้านบาท เติบโต 24% จากปีก่อนหน้า

และในปีนี้จากกระแสของซีรีส์ Squid Game ก็มีแนวโน้มว่าจะทำให้ Netflix เติบโตได้อย่างแน่นอน

ที่มา : https://www.cnbc.com/2019/09/21/why-netflix-co-founders-turned-down-jeff-bezos-to-buy-it.html?utm_content=Main&utm_medium=Social&utm_source=Facebook&fbclid=IwAR12j6CV2ihLzvkDXkKnljvmnj9PYuwvEbD09HgZCRt5ftQuZIOAho-u2AU#Echobox=1635449067

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า