SHARE

คัดลอกแล้ว

จ๊อบส์ดีบี เผยรายงานอัตราเงินเดือนพนักงานไทยปี 2565 สายไอทีปรับขึ้นสูงสุด 41% ส่วนสายงานขายและการตลาดยังเป็นที่ต้องการมากสุด

จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) แพลตฟอร์มหางานชั้นนำ เปิดเผยรายงานอัตราเงินเดือนของพนักงานไทยประจำปี 2565 (Salary Report 2022) โดยพบสถิติน่าสนใจหลายอย่าง คือ

-เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และฮ่องกง ไทยมีการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเดือนค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ที่ 43.1%

-สายคอมพิวเตอร์/ไอที ยังเป็นที่ต้องการ ด้วยประกาศรับสมัครงานบนจ๊อบส์ดีบีในปีที่ผ่านมามากกว่า 12,200 ตำแหน่ง

สาเหตุเป็นเพราะตั้งแต่มีโควิด ทำให้ธุรกิจต่างๆ ทั้งใหญ่และเล็กต่างก็ปรับตัว นำอุปกรณ์และเทคโนโลยีไอทีเข้ามาใช้ทำธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้ขยายตัว คนในสายนี้ก็เป็นที่ต้องการ

แต่ถึงอย่างนั้น สายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในปี 2564 ยังคงเป็นสายงานขายและการตลาด ด้วยจำนวนประกาศรับสมัครงานรวมทุกอุตสาหกรรมมากถึง 26,300 ตำแหน่ง

ปัจจัยหลักๆ มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป เริ่มมีการเปรียบเทียบสินค้ามากขึ้นทั้งในแง่ของคุณภาพ ราคา และประโยชน์ใช้สอยเมื่อซื้อสินค้าออนไลน์

แถมยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง e-Commerce และโลจิสติกส์ รวมถึงระบบจัดส่งมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ สร้าง Brand Loyalty และฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ

ส่วนภาพรวมการปรับเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนในประเทศไทย โดยแบ่งตามสายงาน พบว่า มีหลายสายงานได้รับการปรับเพิ่มอัตราเงินเดือน

ตัวอย่างคือ สายงานไอที ได้รับการปรับเงินเดือนสูงที่สุดถึง 41%, งานขาย งานบริการลูกค้า และงานการตลาด รวมถึงงานการศึกษา และการฝึกอบรม เงินเดือนเพิ่มขึ้น 40% สายงานสุขภาพ และความงาม เงินเดือนเพิ่มขึ้น 39% เป็นต้น

นอกจากนี้ จากผลสำรวจอัตราเงินเดือน หากเปรียบเทียบทุกอุตสาหกรรมและแบ่งตามระดับงาน พบว่าในแต่ละระดับงาน มีอุตสาหกรรมที่เสนออัตราเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับ ดังนี้

ระดับเจ้าหน้าที่ (Entry Level) 

อันดับที่ 1 : อุตสาหกรรมไอที, การธนาคารและการเงิน, โทรคมนาคม เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 32,500 บาท

อันดับที่ 2 : อุตสาหกรรมประกันภัย เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 30,000 บาท

อันดับที่ 3 : อุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 27,500 บาท

ระดับหัวหน้างาน (Manager)

อันดับที่ 1 : อุตสาหกรรมประกันภัย เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 62,500 บาท

อันดับที่ 2 : อุตสาหกรรมไอที, การธนาคารและการเงิน, โทรคมนาคม, น้ำมันและก๊าซ เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 57,500 บาท

อันดับที่ 3 : อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์, Trading และจัดจำหน่าย, อาหารและเครื่องดื่ม เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 50,000 บาท

ระดับผู้จัดการ / อาวุโส (Senior Executive)

อันดับที่ 1 : อุตสาหกรรมโทรคมนาคม เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 82,500 บาท

อันดับที่ 2 : อุตสาหกรรมไอที, ประกันภัย, การธนาคารและการเงิน, โรงแรม บริการจัดเลี้ยง เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 80,000 บาท

อันดับที่ 3 : อุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อสังหาริมทรัพย์, Trading และจัดจำหน่าย, อาหารและเครื่องดื่ม, ขนส่ง เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 72,500 บาท

ระดับผู้บริหารระดับสูง (C-level Management)

อันดับที่ 1 : อุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 125,000 บาท

อันดับที่ 2 : อุตสาหกรรมไอที, ประกันภัย, การผลิต เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 120,000 บาท

อันดับที่ 3 : อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เสนอค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ 117,500 บาท

เมื่อเทียบการปรับตัวของอัตราเงินเดือนปีล่าสุดเป็นเปอร์เซ็นต์ พบว่า อุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีการปรับเงินเดือนเพิ่มสูงสุดแบ่งตามระดับงาน และสายงาน ได้แก่

-อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property & Real Estate) ปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานระดับผู้จัดการ / อาวุโส (Senior Executive) ในสายงานไอที สูงสุดในปี 2564 โดยปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 34.6%

-อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ปรับค่าตอบแทนให้แก่พนักงานระดับหัวหน้างาน (Manager) ในสายงานไอที เช่นเดียวกัน โดยปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 27.8%

-อุตสาหกรรมขนส่ง (Transportation) มีการปรับขึ้นค่าตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 3 ให้แก่พนักงานระดับผู้จัดการ / อาวุโส (Senior Executive) ในสายงานบริการเฉพาะทาง โดยปรับขึ้นจากปีก่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 27.1%

ผลสำรวจในปีนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงนัยสำคัญอีกประเด็นหนึ่งว่า ขนาดขององค์กรอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญที่จะชี้วัดอัตราเงินเดือนอีกต่อไป

คือเมื่อก่อนเราอาจเห็นองค์กรขนาดใหญ่มักจะเสนอเงินเดือนที่สูงกว่า แต่ปัจจุบัน บางสายงานที่เป็นที่ต้องการ หรือต้องการความรู้ ความเชี่ยวชาญ ก็มีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจ SMEs จะเสนอเงินเดือนที่มากกว่าเพื่อให้เกิดการจ้างงาน

โดยจากข้อมูลเชิงลึกของเงินเดือนในธุรกิจ SMEs เมื่อเทียบกับองค์กรขนาดใหญ่ พบว่า อุตสาหกรรม SMEs ที่มีการเติบโตมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมประกันภัย (Insurance) ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนสูงสุดอยู่ที่ 33.3%

และประเภทงานที่มีการเติบโตมากที่สุดคือ งานท่องเที่ยว โรงแรม และ F&B (Hotel/Restaurant) ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนสูงสุดที่ 18.2%

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า