Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 15 พ.ค. พรรคประชาธิปัตย์ได้หัวหน้าพรรคคนใหม่ คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ภายหลังได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกพรรค เหนือคู่ชิง ทั้ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค , นายกรณ์ จาติกวณิช และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน โดยเป็นการชนะทั้ง 2 สัดส่วนคะแนน คือ ส.ส.ชุดปัจจุบัน ที่มีน้ำหนักคะแนน 70% และ ส่วนอื่นๆ เช่น อดีต ส.ส., อดีตกรรมการบริหารพรรค, สาขาพรรค ที่มีน้ำหนักคะแนน 30%

เดิมคาดกันว่า จุรินทร์ น่าจะได้คะแนนหลักจาก สัดส่วน 30% ที่ยังมีอิทธิพลของ อดีตหัวหน้าพรรคทั้ง นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่คุมได้และให้การสนับสนุนอยู่ แต่ต้องไปลุ้นในกลุ่ม ส.ส.ชุดใหม่ของพรรค สัดส่วนคะแนน 70% ที่ยังมีความเห็นไปคนละทาง แต่ที่สุดเขาก็ได้คะแนนชนะในกลุ่มนี้ด้วย จึงก้าวขึ้นสู่หัวหน้าพรรคคนที่ 8 ได้อย่างสง่างาม ด้วยคะแนน ดังนี้

คะแนนจาก ส.ส. ของพรรคทั้ง 52 คน (คิดเป็น 70%)
เบอร์ 1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ 2 เสียง
เบอร์ 2 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้ 25 เสียง
เบอร์ 3 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้ 20 เสียง
เบอร์ 4 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ 5 เสียง
.
คะแนนจากสมาชิกพรรคส่วนอื่นๆ (คิดเป็น 30%)
เบอร์ 1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ 8 เสียง
เบอร์ 2 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้ 135 เสียง
เบอร์ 3 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้ 82 เสียง
เบอร์ 4 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ 14 เสียง

ต่อจากนี้ คำถามที่หลายคนรอคำตอบคือ ประชาธิปัตย์ในยุคของ “จุรินทร์” จะเดินหน้าไปทางใด

จุรินทร์ วัย 63 ปี ถือเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ของประชาธิปัตย์ เขาเป็นสมาชิกของพรรคมาอย่างยาวนานเกินครึ่งชีวิต บนเวทีประชันวิสัยทัศน์ก่อนสมาชิกจะลงคะแนนเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขาลำดับเส้นทางการเมืองของตนเอง ตั้งแต่เป็น ส.ส.ครั้งแรกในปี 2529 โดยก่อนหน้านั้นก็ร่วมงานกับพรรคตั้งแต่เรียนที่ ม.ธรรมศาสตร์

รับตำแหน่งการเมืองจากการเป็นเลขานุการรัฐมนตรี ให้กับนายชวน หลีกภัย จึงถือเป็นอีกหนึ่งลูกศิษย์คนสำคัญของ “นายหัวชวน” ก่อนก้าวขึ้นเป็นรัฐมนตรีครั้งแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตอนอายุ 36 ปี และเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนมาเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในยุค รัฐบาลชวน หลีกภัย

ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “จุรินทร์” ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและสาธารณสุข

เขากล่าวถึงแนวทางถ้าเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยน แต่ต้องเปลี่ยนอย่างมีวุฒิภาวะ อะไรดีต้องรักษา อะไรสมควรเปลี่ยนต้องเปลี่ยน เรื่องอุดมการณ์ต้องไม่เปลี่ยน คือ รักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและซื่อสัตย์สุจริต ส่วนที่ต้องเปลี่ยน คือ นโยบายกับวิสัยทัศน์ให้ทันกับโลกและสถานการณ์ รวมทั้งระบบบริหารจัดการ ต้องทำงานเป็นทีม หมดยุคซูเปอร์แมนต้องเป็นยุคอเวนเจอร์ส ทุกคนต้องจับมือร่วมกันรวมทั้งผู้ชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคทั้ง 3 คนด้วย

เขายังย้ำด้วยว่า การที่พรรคเหลือ ส.ส.แค่ 52 คน ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ได้ ส.ส.มากขึ้น ไปจนถึงได้มากกว่า 200 ในอนาคต ซึ่งคำตอบของเขาคือคือ พรรคต้องเป็นเอกภาพ

หากย้อนไปดูช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้ง แม้ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จะเป็นตัวหลักเดินสายดีเบต แต่ในเวทีที่ได้รับมอบหมาย “จุรินทร์” ก็ได้ไปทำหน้าที่ถ่ายทอดจุดยืนของพรรคหลายครั้ง ซึ่งน่าจะสนใจว่าสิ่งที่เขาเคยพูดไว้จะผูกพันมาถึงวันนี้หรือไม่

ในเวทีของช่อง 3 โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่เขาขึ้นเวที ร่วมกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคเพื่อไทย และ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เขาพูดถึงเรื่องจุดยืนไว้ว่า ทุกพรรคการเมืองเป็นคู่แข่งขันไม่ใช่คู่ขัดแย้ง และยึดหลักการว่าพรรคการเมืองใดรวมเสียงข้างมากได้พรรคนั้นก็เป็นรัฐบาล เสียงข้างน้อยก็เป็นฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบแทนประชาชน

การโหวตเลือกนายกฯ ชัดเจนว่า ต้องเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค (ในขณะนั้น) ส่วนการจะตั้งรัฐบาลกับใคร ต้องดูทั้งพรรคที่มาร่วมกัน นโยบายต้องรับกันได้ และเงื่อนไขที่ต้องไม่มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม รื้อฟื้นคดีจนทำให้เกิดความขัดแย้ง

“เราจะไปร่วมรัฐบาลกับใคร อย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขเพื่อให้ประชาธิปไตยมันเดินหน้าได้ ถ้าหากการตั้งรัฐบาลมันติดล็อกแล้วมันจะไปอย่างไรต่อครับ เราต้องคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมือง ไม่ใช่คิดแค่ขอเป็นรัฐบาล หรือเป็นแกนตั้งรัฐบาล”

ขณะที่ความเห็นเรื่องวุฒิสภา หรือ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น จุรินทร์ กล่าวว่า เราประกาศตั้งแต่ต้นว่า ถ้าใครรวมเสียงข้างมากได้ ส.ว.ควรลงคะแนนตามเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเคารพเสียงของประชาชน

ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ในเวที “Smart Outlook เศรษฐกิจ การเมืองไทย หลังการเลือกตั้ง” เมื่อ 14 ธ.ค.61 “จุรินทร์” ตอบคำถามเรื่องการเลือกตั้งปี 62 ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ยังถือไม่ได้ว่าเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ประชาธิปไตย
แต่จะเป็นแค่การเปลี่ยนผ่านจากสถานการณ์การยึดอำนาจด้วยกำลังไปสู่การยึดอำนาจด้วยรัฐธรรมนูญ ที่ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่า การสืบทอดอำนาจมากกว่า

เขายังเตือนในตอนนั้นว่า หากผลการเลือกตั้งออกมาฝ่ายที่แพ้ไม่ยอมรับหรือการเลือกตั้งไม่ยุติธรรม มีการโกงเลือกตั้ง ใช้อำนาจรัฐเอื้อบางพรรคการเมืองสู่การสืบทอดอำนาจ อาจทำให้ความขัดแย้งปะทุขึ้นถึงขั้นเกิด ‘พฤษภาทมิฬ ภาค 2’ ได้ ส่วนด้านเศรษฐกิจ เขาวิจารณ์นโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเอื้อทุนใหญ่ไม่กี่รายและเน้นนดยบายประชานิยม นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวมากขึ้นจนติดอันดับประเทศเหลื่อมล้ำที่สุดในโลก

วันนี้เมื่อบทบาทของเขาเปลี่ยนไปจากแถว 2 คือ “รองหัวหน้าพรรค” ขึ้นมายืนเป็นแถวหน้า “หัวหน้าพรรค” เขาจะตัดสินใจก้าวต่อๆ ไปทางการเมืองและพาพรรคประชาธิปัตย์ไปทางไหน

น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง

https://www.youtube.com/watch?v=Yw_V-5lWoPo

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า