SHARE

คัดลอกแล้ว

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์กรณีคําสั่งไม่ฟ้องคดีอาญานายวรยุทธ อยู่วิทยา จี้อัยการสูงสุด – สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงขั้นตอนและเหตุผลที่ ต่อสาธารณชน ตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจหากไม่สุจริตให้ใช้ดุลยพินิจใหม่

วันที่ 27 ก.ค. 2553 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์ กรณีคําสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา นายวรยุทธ อยู่วิทยา ระบุว่า

ตามที่ได้มีการนําเสนอข่าวเกี่ยวกับการยุติการดําเนินคดีอาญากับนายวรยุทธ อยู่วิทยา ซึ่งถูกตั้งข้อหาเป็นคดีอาญา 5 ข้อหา รวมถึงข้อหาขับรถโดยประมาททําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยที่ทั้ง 5 ข้อหานี้ หากมีการดําเนินคดีอาญาและต่อสู้คดีกันตามปกติ แม้พิสูจน์ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดจริง ก็มีโอกาสที่ศาลจะพิพากษารอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ อย่างไรก็ตามปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีความพยายามในการช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาซึ่งมีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ดียิ่งให้รอดพ้นจากการถูกดําเนินคดีมาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนที่ให้การช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษทางวินัย ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเองได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศและไม่ได้กลับมาต่อสู้คดีตามปกติเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานหลายปีข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเหตุให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความโปร่งใสและประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และคอยติดตามความคืบหน้าของการดําเนินคดีด้วยความวิตกกังวลอย่างยิ่ง

แม้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการดําเนินคดีและผลของคดีอาญาในคดีจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของประเทศในภาพรวม การดําเนินคดีอาญาในคดีนี้ กลับเป็นไปด้วยความล่าช้าจนทําให้คดีขาดอายุความไป 3 ข้อหา ในขณะที่ข้อหาขับรถโดยประมาททําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นข้อหาที่

อุกฉกรรจ์ที่สุดในบรรดาข้อหาทั้งหมดและเจ้าพนักงานยังมีโอกาสพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหาไปจนถึงปี 2570 สํานักงานอัยการสูงสุดกลับมีคําสั่งไม่ฟ้อง และสํานักงานตํารวจแห่งชาติไม่แย้งคําสั่งไม่ฟ้องดังกล่าว ทั้งที่ได้เคยมีการออกหมายจับไปแล้วก่อนหน้าและมีการแจ้งให้สาธารณชนทราบเมื่อไม่นานมานี้ว่าอยู่ระหว่างการดําเนินคดีโดยไม่ได้ชี้แจงเหตุผลให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงคําสั่งและดุลยพินิจซ้ำร้ายสังคมกลับทราบข่าวการสั่งไม่ฟ้องจากสื่อต่างประเทศ นอกจากนี้รายงานการตรวจพบสารเสพติดในตัวผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ทําให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัยการใช้ดุลยพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาขับรถขณะเมาสุราที่ได้ยุติไปก่อนหน้าและการไม่ดําเนินคดีอาญาใดๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย

แม้ว่าตามกฎหมาย พนักงานอัยการจะมีดุลยพินิจในการสั่งคดีไม่ว่าจะเป็นการสั่งฟ้องหรือการสั่งไม่ฟ้องบนพื้นฐานของ “พยานหลักฐาน” ว่าพอเพียงที่จะดําเนินคดีหรือไม่และรับฟังได้เพียงใด หรือบนพื้นฐานของ “ประโยชน์สาธารณะ” แต่การใช้ดุลยพินิจดังกล่าวจะต้องมี “เหตุผล” ที่หนักแน่น โดยเฉพาะคดีที่มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศอย่างเช่นคดีนี้ยิ่งต้องแสดงเหตุผลที่หนักแน่นมากเป็นพิเศษ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดําเนินคดีอาญาที่โปร่งใส เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติซึ่งจะช่วยคลายความวิตกกังวลของสาธารณชน อย่างไรก็ตามตั้งแต่เริ่มมีการดําเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาเมื่อปี 2555 จวบจนปัจจุบัน ความเคลือบแคลงสงสัยของสังคมมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คําชี้แจงหรือคําอธิบายต่อการดําเนินการและผลทางคดีกลับไม่ชัดเจน ไม่มีเหตุผลหนักแน่นเพียงพอ และบางครั้งมีความขัดแย้งกันเอง สร้างความไม่พอใจและเสื่อมศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประชาชนจํานวนมากตั้งคําถามเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่เหลื่อมล้ำและเลือกปฏิบัติเพราะเหตุของความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสถานะทางสังคม จนเกิดวาทกรรม “คุกมีไว้ขังคนจน” ในขณะที่บุคลากรส่วนใหญ่ในกระบวนการยุติธรรมและผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายพยายามอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและพยายามกอบกู้ศรัทธาของประชาชนที’มีต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมถึงการดําเนินคดีอาญาต่อนายวรยุทธ อยู่วิทยา ทําให้ความพยายามดังกล่าวไร้ความหมายในสายตาของประชาชาชน และการวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมที่มีต่อองค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมบั่นทอนกําลังใจของผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม

เพื่อธํารงไว้ซึ่งหลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมายและหลักนิติรัฐ เพื่อกอบกู้ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย และเพื่อรักษากําลังใจของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรมและด้วยความภาคภูมิใจ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามข้างท้าย ขอเรียกร้องให้สํานักงานอัยการสูงสุดและสํานักงานตํารวจแห่งชาติดําเนินการดังต่อไปนี้โดยเร็ว 1.ชี้แจงขั้นตอนการดําเนินการคดีอาญากับนายวรยุทธ อยู่วิทยา โดยละเอียดและอธิบายเหตุผลอย่างชัดเจนถึงผลของคดีที่ขาดอายุความและการใช้ดุลยพินิจไม่ฟ้องคดีอาญา และ 2. ตรวจสอบว่าการดําเนินการและการใช้ดุลยพินิจดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย สุจริตและโปร่งใสหรือไม่ และหากพบว่า มีการดําเนินการหรือการใช้ดุลยพินิจในขั้นตอนใดไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่สุจริต หรือไม่โปร่งใส ให้พิจารณาดําเนินการและใช้ดุลยพินิจใหม่ให้ถูกต้อง

รายชื่ออาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์ จำนวน 31 คน ที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ฉบับนี้

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.มุนินทร์ พงศาปาน
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.สุปรียา แก้วละเอียด
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณกรณ์ บุญมี
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมัย พิศแข มั่นจิตร
  6. รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตราสายสุนทร
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพร โพธิ์พัฒนชัย
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอมผกา เตชะอภัยคุณ
  11. อาจารย์ปวีร์ เจนวีระนนท์
  12. อาจารย์เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์
  13. อาจารย์เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม
  14. อาจารย์ภัทรพงษ์แสงไกร
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
  17. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต
  18. ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ
  19. อาจารย์ปทิตตา ไชยปาน
  20. อาจารย์อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ
  21. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล
  22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง
  23. อาจารย์ สุรศักดิ์ บุญุญานุกูลกิจ
  24. อาจารย์พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์
  25. อาจารย์ ดร.นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล
  26. อาจารย์จุฑามาศ ถิระวัฒน์
  27. อาจารย์ปรียาภรณ์ อุบลสวัสดิ์
  28. อาจารย์กรกนก บัววิเชียร
  29. อาจารย์กีระเกียรติ พระทัย
  30. อาจารย์เมษปิติ พลูสวัสดิ์
  31. อาจารย์กิตติภพ วังคํา

ขอบคุณภาพ FB : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า