Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์ เตือนภัยกลุ่มวัยรุ่นไทย “ยาเคนมผง” อันตรายเนื่องจากออกฤทธิ์รุนแรง อาจถึงตายได้

วันที่ 11 ม.ค. 2564 นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ปัจจุบันพบกลุ่มวัยรุ่นนำยาเค ผสมกับสารเสพติดอื่นอีกหลายชนิด เช่น  ยาไอซ์ เฮโรอีน ยานอนหลับ (โรเซ่) โดยผสมกันจนมีลักษณะละเอียดคล้ายนมผงแล้วนำมาเสพ จึงถูกเรียกว่า “ยาเคนมผง” ซึ่งลักษณะอาการของผู้เสพ จะมีอาการุนแรง ประสาทหลอน คิดว่าจะถูกทำร้ายเป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาท  และหากมีการเสพ “ยาเคนมผง” ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ผู้เสพเสียชีวิต และสามารถเกิดขึ้นได้แม้จะเสพเป็นครั้งแรก ซึ่งในขณะนี้พบผู้เสียชีวิตที่อาจเกิดจาการเสพยาเคนมผง จำนวนหลายหลาย ในบางรายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

โดยยาเสพติดชนิด เคตามีน (ketamine) เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการมึนเมา เพลิดเพลิน มีความสุข เกิดภาพเหมือนฝัน รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังล่องลอยอยู่ในอากาศหรือหลุดลอยออกจากร่าง ซึ่งฤทธิ์ของยาเคในระยะสั้นจะทำให้เกิดอาการหวาดระแวง จิตหลอน จำอะไรไม่ได้ ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้เหมือนเป็นอัมพาตชั่วขณะ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาทางสมองเกี่ยวกับความทรงจำและสมาธิ มีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และปัญหาทางจิต กลายเป็นคนวิกลจริต

ด้าน นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า ยาเสพติดทุกประเภทส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อร่างกายของผู้เสพ ยิ่งมีการใช้ร่วมกันหลายชนิดก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งใน “ยาเคนมผง” มีสารเสพติดที่ออกฤทธิ์รุนแรงหลายชนิด หนึ่งในส่วนผสมนั้นคือ เฮโรอีน ซึ่งออกฤทธิ์รุนแรงในทางกดประสาท หากเสพเฮโรอีนมากเกินความต้านทานของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขอย้ำเตือนให้กลุ่มวัยรุ่นหรือผู้ที่คิดจะทดลองใช้ “ยาเคนมผง” รวมไปถึงสารเสพติดชนิดอื่น ให้ตระหนักถึงอันตรายต่อตนเองอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต และนึกถึงผลกระทบต่อครอบครัวที่จะตามมา

น.พ.สรายุทธ์ แนะนำให้ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตุพฤติกรรมของบุตรหลานหรือคนในครอบครัว หากพบมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ให้รีบพูดคุยด้วยเหตุผล ไม่ใช้ความรุนแรง บอกกล่าวถึงอันตรายที่อาจจะตามมา ทั้งนี้หากพบว่าบุตรหลายหรือคนใกล้ชิดมีการเสพยา ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการบบัดรักษา และสามารถขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับยาและสารเสพติดได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 และหรือเข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์  จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาค ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmindat.go.th

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า