SHARE

คัดลอกแล้ว

นักธรณีวิทยาค้นพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ 4 สายพันธุ์ คือ ไฮยีนาลายจุด-แรดชวา-กวางป่า-เม่นใหญ่แผงคอยาวในจังหวัดกระบี่

วันที่ 20 ก.ย. 2562 นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่าได้รับแจ้งการค้นพบโครงกระดูกในตะกอนดินโบราณ จากองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกเหนือ จ.กระบี่ จึงเชิญ ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมตรวจสอบพบเป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ 4 สายพันธุ์ คือ ไฮยีนาลายจุด แรดชวา กวางป่าและเม่นใหญ่แผงคอยาว ภายในถ้ำยายรวก บ้านถ้ำเพชร ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญของการกระจายตัวของไฮยีนาลายจุดทางตอนใต้สุดเท่าที่เคยพบมา โดยเป็นการค้นพบโครงกระดูกหินขนาดใหญ่ในตะกอนดินโบราณ จากองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกเหนือ จังหวัดกระบี่

กรมทรัพยากรธรณี จึงเข้าตรวจสอบตามขั้นตอน ของพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 พบมีความเป็นไปได้จะเป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมาตรวจสอบซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าว พบเป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ 4 สายพันธุ์ที่สำคัญ จากการคาดคะเนอายุเบื้องต้นน่าจะอยู่ตั้งแต่ช่วงปลายของสมัยไพลสโตซีนตอนล่างไปจนถึงช่วงต้นของสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย หรือประมาณ 200,000 – 80,000 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นหลักฐานสำคัญของการกระจายตัวของไฮยีนาลายจุดลงมาทางตอนใต้สุดเท่าที่เคยพบมาในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรมทรัพยากรธรณี จะพัฒนาแหล่งซากดึกดำบรรพ์ถ้ำยายรวก จังหวัดกระบี่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย ซึ่งในไทยพบไฮยีนาลายจุดกระจายตัวอยู่ 6 พื้นที่ ประกอบด้วย ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุประมาณ 200,000 – 160,000 ปี บ่อทรายบ้านโคกสูง จังหวัดนครราชสีมา อายุประมาณ 200,000 – 160,000 ปี ถ้ำวิมานคินทร์ จังหวัดชัยภูมิ อายุประมาณ 200,000 – 160,000 ปี ถ้ำเพดาน จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุประมาณ 200,000 – 160,000 ปี ถ้ำประกายเพชร จังหวัดชัยภูมิ และถ้ำยายรวก จังหวัดกระบี่ อายุประมาณ 200,000 – 80,000 ปี ปัจจุบันไฮยีนาสายพันธุ์ย่อยนี้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้ว

นายกันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทีมวิจัยได้ทำการศึกษาไอโซโทปเสถียร (Isotope) ของธาตุคาร์บอนและศึกษาไอโซโทปของออกซิเจนจากเคลือบฟันของซากดึกดำบรรพ์ที่พบในถ้ำยายรวก ผลการวิเคราะห์ไอโซโทปยืนยันว่า พื้นที่กระบี่ในสมัยไพลสโตซีนหรือเมื่อประมาณ 200,000 ปีก่อน มีสภาพแวดล้อมเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา สลับป่าทึบเป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับการย้ายถิ่นหรืออพยพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมไปยังหมู่เกาะต่างๆ แล้วยังมีข้อสันนิษฐานว่าการกระจายตัวของไฮยีนาลงมาใต้สุดที่กระบี่เป็นผลมาจากความไม่ต่อเนื่องของเส้นทางสะวันนาที่ถูกคั่นด้วยป่าฝนในบริเวณซุนดาแลน คาดว่า เกิดขึ้นอยู่ทั่วไประหว่างคาบสมุทรไทย-มาเลเซียช่วงยุคน้ำแข็งในสมัยไพลสโตซีน

ข้อมูลจาก สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า