SHARE

คัดลอกแล้ว

ใครเคยได้ยินประโยคที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” กันมั้ย แต่หลายครั้งหลายคราว (รวมถึงข่าวเมื่อไม่กี่วันมานี้) เรามักจะได้ยินข่าวว่ามีคนตายจากการทำงานหนัก

ไม่ว่าจะเป็นเพราะจากการฆ่าตัวตายเพราะเครียดเรื่องาน หรือเสียชีวิตจากการที่ทำงานหนักจนเสียสุขภาพ

เหตุการณ์เสียชีวิตจากการทำงานหนักเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ที่มีวัฒนธรรมการโหมทำงานอย่างหนัก

เหตุการณ์แนวนี้เกิดขึ้นหลายครั้งหลายคราว จนถึงขั้นที่ญี่ปุ่นเรียกภาวะที่คนทำงานหนักจนตายว่า “โรคคาโรชิ” (Karoshi) ซึ่งเกิดจากการทำงานหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด อ่อนเพลีย จนเกิดความผิดปกติต่อร่างกายและอารมณ์ นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด

โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นข่าวโด่งดังว่ามีคนญี่ปุ่นตายจากการทำงานหนักหลายครั้งหลายคราว

ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ ‘มิวะ ซาโดะ’ นักข่าวช่อง NHK วัย 31 ปี ที่ทำงานล่วงเวลาไป 159 ชั่วโมง ทั้งเดือนหยุดแค่ 2 วัน จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในเดือน ก.ค. 2013

หรือกรณีของ ‘มัตสึริ ทากาฮาชิ’ พนักงาน Dentsu วัย 24 ปี ที่ฆ่าตัวตายในเดือน เม.ย. 2015 หลังทำงานล่วงเวลามากกว่า 100 ชั่วโมง หลายเดือนติดต่อกัน

แต่ถ้าย้อนดูจริงๆ โรคคาโรชิในญี่ปุ่นเกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว โดยหลังจากวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 1973 เกิดการปรับโครงสร้างการทำงานครั้งใหญ่ ธุรกิจในญี่ปุ่นขยายการเติบโต แรงกดดันการทำงานเพิ่มขึ้น ก็เริ่มมีรายงานการเสียชีวิตของพนักงาน

โดยสาเหตุการตายส่วนใหญ่มักมาจากภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง หรือฆ่าตัวตาย โดยคนที่ตายส่วนใหญ่ทำงานเป็นเวลานานติดต่อกัน

คือก่อนตาย บางคนทำงาน 60-70 ชั่วโมง/สัปดาห์ บางคนมากกว่านั้นอีก

สาเหตุที่ทำให้โรคคาโรชิกลายเป็นโศกนาฏกรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นนั้น นอกจากจะมาจากวัฒนธรรมองค์กรบางแห่งที่มีสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ให้ทำโอทีแต่ไม่ให้เงิน บางที่ให้ทำงานล่วงเวลามากถึง 100-150 ชั่วโมง/สัปดาห์ก็มี

นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นเองก็มีทัศนคติที่ฝังรากลึกว่าต้องทำงานหนักเพื่อส่วนรวม ส่งผลให้คนญี่ปุ่นบ้างานและเครียดจากการทำงานนั่นเอง

โดยรัฐบาลยอมรับว่ามีคนญี่ปุ่นตายหรือบาดเจ็บจากโรคคาโรชิประมาณ 200 คน/ปี และในปี 2013 มีคดีฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีที่พนักงานเสียชีวิตจากการทำงานถึง 1,456 คดี

และแม้รัฐบาลจะพยายามหาทางแก้ไข แต่ดูเหมือนว่าเรื่องนี้จะไม่ได้แก้ได้ง่ายๆ

เพราะในปีงบประมาณ 2020 ที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2021 มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโรคคาโรชิมากกว่า 2,800 รายการ เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว

แต่เมื่อเทรนด์ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน เริ่มเป็นที่พูดถึงมากขึ้น ญี่ปุ่นก็เริ่มให้ความสนใจกับเทรนด์นี้เหมือนกัน หลายบริษัทเริ่มทดลองให้พนักงานทำงานแค่ 4 วัน ยืดหยุ่นในการเข้าออฟฟิศ

ซึ่งพบว่านอกจากทำให้พนักงานสุขภาพจิตดีแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิผลการทำงานได้มากกว่าเดิมด้วย

จนช่วงกลางปี 2021 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เผยถึงนโยบายเศรษฐกิจประจำปี แนะนำให้บริษัทเอกชนอนุญาตให้พนักงานเลือกทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ได้ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีเวลาไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ หรือรับงานเสริมอื่นได้

และสิ่งที่สำคัญที่สุด การมีวันหยุดเพิ่มก็จะส่งเสริมให้คนออกไปใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้

นอกจากนี้ การมีวันหยุดเพิ่มยังทำให้หนุ่มสาวได้มีเวลาพบปะ ไปเดต ที่จะนำไปสู่การแต่งงาน มีลูก ซึ่งท้ายที่สุดก็ช่วยแก้ปัญหาอัตราการเกิดลดลงได้นั่นเอง

โดยที่หลายบริษัทเริ่มทดลองให้ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้น เอาเข้าจริงๆ ในทางปฏิบัติก็ยังมีความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

-พนักงานหรือผู้บริหารบางคน มีจำนวนงานลดลงอย่างมาก

-การจัดการเรื่องการเข้างานซับซ้อนกว่าเดิมมาก

-การคำนวณค่าจ้างยากกว่าเดิม

[ เช็กลิสต์ เรากำลังเป็น Karoshi Syndrome อยู่หรือเปล่า? ]

-คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจเก็บไปฝัน

-ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน

-ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน

-ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ทั้งลาป่วย ลาพักผ่อน และลากิจ

-เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน

-แทบไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะลาป่วย หรือลาพักร้อน

-นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ

-แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จำไม่ได้ว่าได้พักผ่อนจริง ๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่

-ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนที่เรารัก

[ วิธีป้องกันคาโรชิซินโดรม ]

ถ้าหากเราเป็นคนหนึ่งที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานมากเกินไป ทำงานล่วงเวลาเป็นเวลายาวนานเกินไปหรือ โหมทำงานอย่างหนักมากเกินไปเพื่อเป้าหมายอะไรบางอย่างในชีวิต

เราควรรู้จักการทำงานให้พอดี ไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป แบ่งเวลาให้สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจอย่างแท้จริงบ้าง

ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและมีความสุข เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ออกไปพบปะเพื่อนฝูงหรือคนที่เรารัก พักผ่อนให้เพียงพอ

หากมีปัญหากับการนอน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ใส่ใจกับการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รู้จักการปล่อยวางความคิด ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน หรือคิดต่อที่บ้านมากจนเกินไป

หากพบว่าเรากำลังรับงานที่มากเกินความพอดี ควรรีบปรึกษาหัวหน้าเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่ารอให้เสียสุขภาพแล้วจึงค่อยคิดหาทางแก้

อ้างอิง:

คาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) งานหนักไม่เคยฆ่าใคร แต่เราอาจตายเพราะบ้างาน

จากประเทศ ‘คนทำงานหนักจนตาย’ ญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ยุคทำงาน 4 วัน/สัปดาห์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า