Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ลงมาอยู่ที่ 2.8% จากเดิม 3.1% ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีหน้าว่ามีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3.0% จากหลายปัจจัยลบ

 นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยการประมาณการอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศหรือจีดีพี ในปี 2562 โดยปรับลดลงมาที่ 2.8% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.1% ซึ่งการปรับลดประมาณการครั้งนี้เป็นนับเป็นครั้งที่ 2 นับจากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ซึ่งการปรับลดการประมาณการครั้งนี้สาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้ตัวเลขส่งออกของไทยในช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมา หดตัวมากกว่าคาด โดยหดตัวในหลายกลุ่มสินค้าและเกือบทุกตลาดหลัก ซึ่งส่งผลให้ปรับลดประมาณการการส่งออกลงเหลือ -2.0% ถึง 0.0% จากเดิมที่ 0.0%ขณะที่มาตรการ “ชิม ช้อป ใช้” จะช่วยหนุนจีดีพีราว 0.02% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรวม 3.1 แสนล้านบาทที่คาดว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประมาณ 0.3%

สำหรับในปี 2563 ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอยู่มาก ทำให้การส่งออกยังคงหดตัว ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้จีดีพีมีโอกาสต่ำกว่า 3.0% หากพิจารณาจากพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่รวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ  ซึ่งปีหน้าต้องรอติดตามว่าจะมีมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งหากมี ก็ควรเน้นไปที่การดูแลแรงงานที่ไม่มีหลักประกันทางสังคมรองรับ อย่างเช่นกลุ่มอาชีพอิสระ รวมถึงเอสเอ็มอีที่ยอดขายชะลอตัวลง หลังผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย

“หากอยากให้เศรษฐกิจเติบโตกว่า 3%ภาครัฐต้องออกมาตรการกระตุ้นช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เช่น การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม  เพราะตอนนี้เริ่มมีการหยุดโอทีและลดการจ้างงาน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ผู้ประกอบการหยุดธุรกิจ จนไปสู่ผลกระทบที่เป็นวงกว้างมากขึ้น” ณัฐพรกล่าว

ขณะที่มาตรการทางการเงินนั้น คาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้งในปีนี้ และอีก 1 ครั้งในต้นปีหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยอีกครั้งใน 1 ปีนี้ และต้นปีหน้าอีก 1 ครั้ง แต่หากสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯชะลอตัวกว่าที่คาดเฟดมีสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดไว้ ก็อาจจะกดดันดอลลาร์สหรัฐฯให้อ่อน และทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯได้ จาก ณ ปัจจุบันจนถึงไตรมาสแรกปีหน้าคาดการณ์เงินบาทที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ด้าน ดร.ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าปัจจัยหลักที่ยังกดดันเศรษฐกิจไทยก็ยังคงเป็นปัจจัยต่างประเทศ ทั้งในส่วนของสงครามการค้าที่คาดว่าจะยืดเยื้อต่อไปถึงปีหน้า แต่ความรุนแรงไม่น่าจะเพิ่มขึ้นแล้วหากสิ้นปีนี้มีการเก็บภาษีเพิ่มอีก 3 แสนล้านบาท แต่ก็ยังมีผลกระทบต่อเนื่องถึงการส่งออกของไทยไปจนถึงปีหน้า

“ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ จะกระทบการส่งออกของไทยในปี 2563 เพิ่มเติมอีก 1,000-2,500 ล้านดอลลาร์ฯ หลังต้องรับรู้ผลกระทบจากการเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าจีนต่อเนื่อง ขณะที่ในปี 2562 คาดการณ์ผลกระทบไว้ที่ 2,100-3,000 ล้านดอลลาร์ฯ นอกจากนี้ แม้ว่าไทยอาจได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตบ้าง แต่ก็จะเน้นไปที่ธุรกิจที่ไทยเป็นฐานการผลิตเดิม”

ส่วนสถานการณ์ Brexit คาดว่า มีความเป็นไปได้สูงที่สหราชอาณาจักรคงต้องออกจากสหภาพยุโรปแบบ No Deal โดยขั้นตอนต่อไปคือการตกลงกันเรื่องรูปแบบและข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน รวมถึงประเด็นพรมแดนไอร์แลนด์เหนือซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อตลาดเงิน แต่ว่าผลกระทบของ Brexit ต่อเศรษฐกิจไทยจะมีไม่มากนักเพียงแค่ 2 % เท่านั้น

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า