SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปประเด็นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้พิจารณาสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส. บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.หรือไม่

1.ผู้ร้อง (กกต.) ได้ยื่นคำร้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ การยื่นคำร้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

2.บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ยังเป็นสื่อ ที่ยังไม่เลิกกิจการ

โดยช่วงหนึ่งของคำวินิจฉัยระบุว่า ประกอบกับไม่ปรากฏหลักฐานว่า บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ได้จดแจ้งยกเลิกเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการตามพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 18 ก่อนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรคอนาคตใหม่ ได้จัดส่งบัญชีรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้อง โดยมีชื่อผู้ถูกร้องในรายชื่อลำดับที่ 1 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่า บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ได้ปิดกิจการ โดยยุติการผลิตนิตยสาร และเลิกจ้างพนักงาน บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นมา รวมทั้งได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของนายจ้างต่อสำนักงานประกันสังคม เรื่องหยุดกิจการชั่วคราว ในวันที่ 31 มกราคม 2562 ก็ตาม แต่บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ก็ยังสามารถประกอบกิจกรรมเมื่อไหร่ก็ได้ตราบที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท และจดแจ้งยกเลิกเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการ ดังนั้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด จึงยังคงเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการสื่อมวลชน อยู่ในวันที่พรรคอนาคตใหม่ได้จัดส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้อง

3.การโอนหุ้นวันที่ 8 มกราคม 2562 ผิดปกติหลายอย่าง

ตอนหนึ่งของคำวินิจฉัยในส่วนนี้ ระบุว่า ผู้ถูกร้องชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและคำเบิกความของพยานต่อศาล ให้เหตุผลในการไม่ส่งสำนวนบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครทันที ภายหลังจากที่มีการโอนหุ้นดังกล่าว ว่า บริษัทวี-ลัค มีเดียได้เลิกจ้างพนักงานบริษัททั้งหมดไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 จึงไม่มีนักบัญชี ที่คอยดำเนินการติดตามจัดการเอกสารทางทะเบียนดังเช่นตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา ประกอบกับการโอนหุ้น วันที่ 8 มกราคม 2562 เป็นการโอนหุ้นภายในครอบครัว จึงรุ่งเรืองกิจ แต่ขัดแย้งกับคำเบิกความของ น.ส.ลาวัลย์ จันทร์เกษม (พนักงานบริษัทวี-ลัคฯ) พยานบุคคล ที่ว่าตนสามารถทำได้ ถ้ามีคำสั่งให้ทำ ซึ่ง น.ส.ลาวัลย์ จันทร์เกษม เป็นเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแจ้งสำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้น แบบ บอจ.5 และเป็นเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้ดำเนินการเกี่ยวกับสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ด้วย ประกอบกับในทางปฏิบัติการยื่นสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแบบ บอจ.5 นั้น สามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นไปดำเนินการได้ และการยื่นเอกสารดังกล่าว สามารถกระทำได้โดยไม่มีความยุ่งยาก แต่ประการใด เพราะบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ใช้วิธีส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบอบจ.5) งบดุลประจำปี ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกรุงเทพมหานคร ทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2561

ผู้ถูกร้องจึงมีหน้าที่ ที่นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน ภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 แม้ผู้ถูกร้องอ้างว่า มีการนำเช็คเรียกเก็บเงินล่าช้าเช่นนี้ เป็นประจำ แต่เมื่อตรวจสอบรายละเอียดย้อนหลังไป 3 ปี พบว่า การเรียกเก็บเงินตามเช็คจำนวนตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ในระหว่างปี 2560 – 2562 นั้น มีการเรียกเก็บเงินตามเช็ค หลังจากวันที่ ที่ลงในเช็คประมาณ 42 – 45 วัน กล่าวคือเช็คลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 มี 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 จำนวน 3,361,37.50 บาท ฉบับที่ 2 จำนวน 5,246,237.50 บาท และฉบับที่ 3 จำนวน 5,306,237.50 บาท เช็คทั้ง 3 ฉบับ นำไปเรียกเก็บเงินในวันที่ 30 มีนาคม 2560 ส่วนเช็คลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 จำนวน 2,643,750 บาท นำไปเรียกเก็บเงินวันที่ 18 สิงหาคม 2560 ดังนั้นเช็คทั้ง 4 ฉบับ นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีใช้เวลาอย่างมาก 42 วัน และเช็คลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 มี 1 ฉบับ จำนวน 3,326,237.50 บาท นำไปเรียกเก็บเงินวันที่ 30 มีนาคม 2562 ใช้เวลา 45 วัน และเช็คลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 มี 1 ฉบับ จำนวน 2,336,192 บาท นำไปเรียกเก็บเงินวันที่ 4 เมษายน 2561 ใช้เวลา 45 วัน

แต่ในการเรียกเก็บเงินฉบับลงวันที่ 8 มกราคม 2562 กลับใช้เวลาถึง 128 วัน แม้จะมีเช็คฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม 2559 ใช้เวลานำฝากเข้าบัญชี 98 วันก็ตาม แต่เป็นเช็คที่มียอดเงินเพียง 27,000 บาท เท่านั้น จึงแสดงให้เห็นว่า การนำเช็คชำระราคาหุ้น ฉบับลงวันที่ 8 มกราคม 2562 ไปเรียกเก็บเงินจาก ธนาคาร มีความแตกต่างจากที่ผ่านมา ซึ่งนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ภรรยาของผู้ถูกร้องเบิกความว่า ช่วงนั้นตนไม่ประสงค์ ตนไม่สะดวกที่จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน เนื่องจากต้องดูแลบุตร ซึ่งยังเป็นเด็กทารก และเป็นเช็คที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนั้นในช่วงเดือนมีนาคม 2562 มีข่าวว่าผู้ถูกร้อง ถูกกล่าวหาว่าไม่ได้มีการซื้อขายหุ้นกันจริง ทนายความจึงรวบรวมพยานหลักฐาน รวมทั้งเช็คเพื่อนำไปให้ปากคำกับผู้ร้องในเดือนเมษายน และได้รับเช็คกลับคืนมาในเดือนพฤษภาคม ถ้อยคำดังกล่าว มีความขัดแย้งกับหนังสือของผู้ถูกร้อง ลงวันที่ 30 เมษายน 2562 ที่ชี่้แจงต่อเลขาคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องขอชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐาน ซึ่งส่งสำเนาเช็คให้ผู้ร้องเท่านั้น มิได้จัดส่งต้นฉบับให้กับผู้ร้องแต่อย่างใด ดังปรากฏตามเอกสารฯ… ลงวันที่ 30 เมษายน 2562

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ สามารถนำเช็คฝากเข้าบัญชีได้ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 แล้ว ข้ออ้างเรื่องการไม่นำเช็คไปขึ้นตามปกติ จึงไม่มีน้ำหนักให้เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นเช็คชนิดระบุชื่อผู้ถูกร้องเป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อม pay only จึงต้องนำเข้าบัญชีธนาคารเท่านั้น และไม่สามารถสลักหลังโอนกันได้ นอกจากนั้นการนำเช็คไปขึ้นเงินก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการด้วยตนเอง อาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนตนได้ ดังนั้นผู้ถูกร้องซึ่งเป็นผู้เซ็นเช็คในฐานะผู้รับเงินสามารถมอบอำนาจให้บุคคลใดไปดำเนินการแทนได้ มิใช่เฉพาะนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจแต่เพียงผู้เดียว และนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ก็มิใช่ผู้รับเงินตามเช็คนั้นโดยต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกร้องเช่นเดียวกัน นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ จึงไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปเรียกเก็บเงินด้วยตนเองและไม่จำเป็นต้องรอเวลาถึง 4 เดือนเศษ

ส่วนการที่ผู้ถูกร้องชี้แจงข้อกล่าวหาว่า ได้เดินกลับจากปราศรัยที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 กลับมายังบ้านพัก แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบ้านพักของผู้ถูกร้องเพื่อโอนหุ้นของบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ให้แก่นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจนั้น เห็นว่า แม้จะฟังได้ว่าผู้ถูกร้องเดินทางกลับจากจังหวัดบุรีรัมย์ มายังบ้านพักที่กรุงเทพมหานครในวันดังกล่าวจริง ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็รับฟังได้เพียงว่า ผู้ถูกร้องอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 มกราคม 2562 เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า มีการโอนหุ้นบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัดในวันดังกล่าวจริง

การพิจารณาว่ามีการโอนหุ้นในวันที่ 8 มกราคม 2562 จริงหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นๆ ประกอบพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี คดีนี้แม้ผู้ถูกร้องจะมีพยานหลักฐานมาแสดงว่า ผู้ถูกร้องโอนหุ้นให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562

และแม้ผู้ถูกร้องจะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานจากข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรค 3 ที่บัญญัติว่า การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อ และสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

และมาตรา 1141 ที่บัญญัติว่า สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องในข้อกระทงความ เวลาที่กฎหมายบังคับหรือให้อำนาจให้เอาลงในทะเบียนนั้นก็ตาม

แต่เมื่อพิจารณาจากข้อพิรุธหลายจุดหลายประการ ประกอบกับพยานหลักฐาน พฤติเหตุแวดล้อมกรณีที่สอดรับกันอย่างแน่นหนาแล้ว ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่าพยานหลักฐานของผู้ถูกร้อง ข้อเท็จจริงที่ได้จากพฤติการณ์แวดล้อมที่เป็นพิรุธน่าสงสัยหลายประการประกอบกันมีน้ำหนัก หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายและพยานหลักฐานผู้ถูกร้องได้

ดังนั้นข้อพิรุธที่น่าสงสัยหลายประการดังกล่าว ประกอบกับพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี จึงฟังได้ว่าผู้ถูกร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชน อยู่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรคอนาคตใหม่ ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกภาพสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้อง อันเป็นลักษณะต้องห้าม มิให้ผู้ถูกร้องใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 อนุ 3 ทำให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 อนุ 6 ประกอบมาตรา 98 อนุ 3

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. จากการถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ทำให้มี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อว่างลง ต้องประกาศให้ผู้มีชื่อลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมา ประกาศในราชกิจจาภายใน 7 วัน จึงให้ถือว่า วันที่ตำแหน่ง ส.ส.ว่างลงในวันที่อ่านคำวินิจฉัย คือ 20 พฤศจิกายน 2562

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า