SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่ได้มีแค่ปราสาทหิน! นักธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พบหลักฐานใหม่บนเขาพนมรุ้ง ยืนยันมีสิ่งปลูกสร้างโบราณซ่อนอยู่

ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนักวิจัย ผู้สนใจศึกษาด้านโบราณคดีผ่านข้อมูลโทรสัมผัส (Remote Sensing) และภูมิสารสนเทศ (GIS) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ค้นพบร่องรอยสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เขาพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี ให้ข้อมูลว่า ในทางธรณีวิทยา เขาพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟยุคใหม่ (ยุคควอเทอร์นารี) ที่เกิดจากลาวาปะทุเมื่อประมาณ 1 ล้านปีก่อน ซึ่งจากการสำรวจชนิดหินของนักธรณีวิทยาได้ข้อสรุปว่า เขาพนมรุ้งเกิดขึ้น เนื่องมาจากการไหลหลากทับถมกันของลาวาที่มาจากแมกมาสีเข้ม (mafic magma) ซึ่งเมื่อลาวาเย็นตัวลง หินที่เป็นไปได้บนเขาลูกนี้จึงควรมีแค่ชนิดเดียวคือ หินบะซอลต์ (basalt)

ศ.ดร.สันติ และทีมนักวิจัย ได้เดินสำรวจป่าบนเขาพนมรุ้งเมื่อเร็วๆ นี้ และพบว่า นอกจากจะพบหินบะซอลต์จำนวนมากแล้ว ยังพบวัสดุแปลกปลอมใหม่ ที่ไม่ใช่หินบะซอลต์ในพื้นที่ แต่มีลักษณะคล้ายปูนซีเมนต์ที่ผุกร่อน เพื่อพิสูจน์ว่า วัสดุดังกล่าวคืออะไร ศ.ดร.สันติ จึงมอบหมายให้ น.ส.นพมาศ ฤทธานนท์ นิสิตภาควิชาธรณีวิทยาจุฬาฯ นำตัวอย่างวัสดุบางส่วนไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray Diffractometer หรือ XRD) ซึ่งสามารถวิเคราะห์สมบัติเชิงโครงสร้างของวัสดุได้ โดยไม่ต้องทำลายตัวอย่าง ผลจากการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า วัสดุดังกล่าวประกอบไปด้วย แร่ควอตซ์ (Quartz) หรือตะกอนทราย และส่วนใหญ่ที่พบคือ แร่ดิน (Clay Mineral) หรือดินเหนียว ที่เชิงอุตสาหกรรม เรียกว่า ดินเกาลิน (Kaolin) ที่ปัจจุบันนำมาใช้ปั้นถ้วยชามเซรามิก

นอกจากนี้ ได้สำรวจพื้นที่ราบโดยรอบเขาพนมรุ้ง พบบ่อน้ำชาวบ้านที่เพิ่งขุดใหม่ แสดงให้เห็นการลำดับชั้นหินในพื้นที่ โดยชั้นล่างสุดคือ หินทรายแป้งสีแดง ถัดขึ้นไปชั้นกลางคือ ดินเกาลินสีขาว และชั้นบนสุดคือดินสีดำ ที่เกิดจากการผุพังของหินบะซอลต์บนเขาพนมรุ้งและไหลมาสะสมตัวปิดทับพื้นที่นี้ในภายหลัง จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่บอกว่า “ดินเกาลินที่ใช้สร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างบนเขาพนมรุ้งสามารถหาได้ง่ายในพื้นที่”

ศ.ดร.สันติ กล่าวด้วยว่า จากการถ่ายภาพเนื้อวัสดุแบบความละเอียดสูงด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง (Scanning Electron Microscope, SEM) ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดของโครงสร้างภายนอกหรือผิวของตัวอย่างแบบ 3 มิติ ได้อย่างชัดเจน พบผลึกควอตซ์เม็ดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยดินเกาลินที่มีพื้นผิวไม่เรียบ เมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยในอดีต ที่รายงานความแตกต่างของเนื้อดินเกาลินที่สัมพันธ์กับอุณหภูมิที่ได้รับ

สรุปได้ว่า ดินเกาลินหรือวัสดุแปลกปลอมบนเขาพนมรุ้ง ได้รับการเผาด้วยอุณหภูมิประมาณ 700 – 800 องศาเซลเซียส หลังจากการศึกษาในรายละเอียดในห้องปฏิบัติการ และผ่านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ทำให้อนุมานได้ว่า วัสดุดังกล่าวน่าจะเป็น “อิฐเผา”

“เมื่อลงพื้นที่สำรวจอีกครั้งในภายหลัง พบหลักฐานชิ้นสำคัญคือ ก้อนวัสดุใหม่แสดงทั้งความผุและไม่ผุอยู่ในก้อนเดียวกัน ส่วนที่ผุมีสีขาว ส่วนที่ยังไม่ผุมีสีส้มอมดิน เหมือนอิฐมอญในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบร่องรอยรูขนาดเล็ก และแนวเส้นใยเล็กๆ ที่ชอนไชอยู่ในเนื้อก้อนดินหรืออิฐดังกล่าว จึงสันนิษฐานว่า ในกระบวนการผลิตวัสดุดังกล่าว น่าจะมีการผสมเศษฟางเศษหญ้าเข้ามาปั้นเป็นก้อนดินนั้นด้วย จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยยืนยันว่า กลางป่าพนมรุ้งมีสิ่งปลูกสร้างโบราณซุกซ่อนอยู่ ไม่ได้มีแค่ปราสาทหิน พนมรุ้งแค่อย่างเดียว” ศ.ดร.สันติ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า