SHARE

คัดลอกแล้ว

เวิร์คพอยท์ เปิดเวทีดีเบตกลางคลองเตย 6 ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ หาทางออกกรุงเทพ 

วันที่ 26 เม.ย. 2565 ช่องเวิร์คพอยท์ 23 เปิดเวทีดีเบตชิงกรุงเทพฯ 2565 “6 ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม.” ตอบคำถามคนคลองเตย  โดยมีผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ประกอบด้วย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร หมายเลข 1, นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หมายเลข 4, พล.ต.อ.อัศวิน ชวัญเมือง หมายเลข 6, นางรสนา โตสิตระกูล หมายเลข 7, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หมายเลข 8, น.ต.ศิธา ทิวารี หมายเลข 11 ร่วมเวทีดีเบต ตอบคำถามจาก 6 ตัวแทนคนคลองเตย ย่านที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนของคนรากหญ้าของกรุงเทพฯ โดยผู้สมัครแต่ละคนจะได้ตอบคำถาม (จากการจับสลากของพิธีกร) และให้สิทธิ์เลือกผู้สมัครคนอื่นใช้สิทธิ์ตอบคำถามของคนอื่นได้อีกคนละ 2 ข้อ

ตัวอย่างคำถาม-คำตอบ โดยสรุปดังนี้

คำถาม : เรื่องที่อยู่อาศัยของคนจนในเมืองและภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร

นายชัชชาติ เป็นผู้ได้ตอบคำถามนี้ว่า เรื่องที่อาศัยสำคัญ หน้าที่ของกทม. ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรง แต่กทม.ต้องส่งคนมาดูแลทางเลือกของประชาชน เชื่อมั่น “บ้านใกล้งาน งานใกล้บ้าน” ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะหาที่ดินตาบอด ทำโครงการบ้านมั่นคง, การออม และระหว่างรอการเปลี่ยนถ่าย กทม. ต้องมาดูแลไม่ใช่ปล่อยให้คนคลองเตยอยู่กันแบบไม่มีคุณภาพ

นางรสนา ใช้สิทธิ์ตอบคำถามนี้ด้วยว่า คลองเตยเป็นปีระมิดใหญ่สุดในการสร้างเศรษฐกิจ รัฐไม่ควรจะเอาแต่แรงงาน แต่ควรจัดที่อยู่ในชาวคลองเคย เพื่อสร้างบ้านอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ ถ้าได้มีโอกาสเป็นผู้ว่าฯ กทม. จะเข้ามาช่วยประสานและพูดคุย กทม.ต้องจัดสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่นเ แสงสว่างให้คนคลองเตย

น.ต.ศิธา ใช้สิทธิ์ตอบคำถามนี้ด้วยว่า ต้องให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาที่ย้ายให้คนคลองเตยไปหนองจอกไม่สามารถอยู่ได้ ทำให้ต้องย้ายกลับมาอยู่ในชุมชนแออัด ต้องพัฒนาสาธารณูปโภคให้ดี ถ้าอยากจะทำต้องมาถามศิธา เพราะเคยเป็น ส.ส. ในพื้นที่

คำถาม : การแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็นแอ่งกระทะซ้ำซากในชุมชน จัดการปัญหาขยะที่ตกค้างในชุมชนมากกว่าแสนตัน และปัญหามลพิษ

พล.ต.อ.อัศวิน เป็นผู้ได้ตอบคำถามนี้ว่า ขยะเป็นปัญหาใหญ่หลวงของกทม. ไม่ใช่แค่ที่คลองเตย ต้องแก้ปัญหาต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยต้องช่วยให้ประชาชนคัดแยก ต้องเพิ่มวงรอบการจัดเก็บของรถขยะ ใช้รถขยะเป็น รถ EV หรือรถไฟฟ้า ซึ่งในสมัยที่ตนเป็นผู้ว่าฯ ได้ทำไปบางส่วน ส่วนปลายเชิญชวนประชาชนแปรขยะเปียกไปเป็นปุ๋ย ส่วนเรื่องน้ำท่วม เคยเรื่องทำน้ำหมุนเวียนเพื่อแยกน้ำดี-น้ำเสีย ทำไปบ้างแล้วแต่ยังไม่ครบ สำหรับฝุ่นที่ชุมชนคลองเตยได้รับผิดชอบกระทบจากการท่าเรือ กทม.ต้องเข้าไปคุยให้มีการป้องกัน เช่นมีฉากกั้น

นายสุชัชวีร์  ใช้สิทธิ์ตอบคำถามนี้ด้วยว่า กทม. ต้องเปลี่ยนแล้วเราทำได้ ถ้าได้ผู้ว่าฯ กทม. ต้องมีระบบเครื่องสูบน้ำ ปั้มน้ำอัตโนมัติ ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ขี่มอเตอร์ไซค์มาเปิด-ปิด ต้องเปลี่ยนให้มีถังขยะ ที่มีคุณภาพสูงทุกที่ และประกาศสงครามกับฝุ่นพิษ PM 2.5 มีเครื่องวัดค่าฝุ่นออนไลน์ และจัดการกับฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างเด็ดขาด

ขณะที่ คำถามเกี่ยวกับการศึกษาจากครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว. ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา คลองเตย : จะมีเจ้าของภาษามาสอนในโรงเรียนสังกัดกทม.ได้หรือไม่, จะมีครูสอนคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ครบได้หรือไม่, จะบรรจุครูศูนย์เด็กที่เป็นอาสาสมัครเข้าสังกัดเป็นลูกจ้างของกทม.ได้หรือไม่ และเพิ่มค่าอาหารจาก 20 บาทเป็น 50 บาทได้หรือไม่ 

นางรสนา เป็นผู้ได้ตอบคำถามนี้ว่า ต้องยกระดับการศึกษา สิ่งที่ครูประทีปพูดถึงต้องเป็นไปได้ ทั้งภาษา การใช้เทคโนโลยี และครูที่สอน ถ้าได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. อาจจะเรียนแค่บ่าย 2 จากนั้นให้เด็กเรียนรู้วิชาชีพอื่นและได้รับวุฒิบัตร เช่น ครูในชุมชน กทม.สามารถจ้างให้ครูพิเศษ ต้องให้ฟรีแบบ 100 เปอร์เซ็นต์จริงๆ เพื่อไม่ให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา

นายวิโรจน์ ใช้สิทธิ์ตอบคำถามนี้ด้วยว่า การศึกษาในระบบทุกวันนี้ ผลักภาระให้พ่อแม่ ดังนั้นต้องคิดถึงการเปิดเรียนให้โรงเรียนทำหน้าที่ดูแลเด็กเพื่อให้พ่อแม่ไปทำงานได้อย่างมั่นใจ ส่วนคำถามของครูประทีปนั้น กทม. มีโรงเรียน 437 โรง ถ้าแต่ละโรงเรียนจ้างครูต่างประเทศ 1 คน เงินเดือน 50,000 บาท ปีละ 600,000 บาท เราจะใช้งบประมาณปีละ 300 ล้านบาท 6 ปี 1,800 ล้านบาท เชื่อว่าถ้าจ้างครูต่างประเทศ 1 คน กลัวว่าเด็กทั้งโรงเรียนจะทำให้ครูต่างประเทศนั้นพูดภาษาไทยได้มากกว่าครูจะทำให้เด็กพูดภาษาอังกฤษได้ ต้องให้ความไว้วางใจครูและกระจายอำนาจให้กับครู รร. กทม. เอาเงิน 300 ล้านบาทต่อปี จัดสรรมาพัฒนาครู และถ้าครูสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ จะสามารถจัดกิจกรรมที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษกับศิลปะ กับพละ ซึ่งเป็นประโยชน์มากกว่า ส่วนครูศูนย์เด็กเล็กต้องบรรจุให้เป็นลูกจ้างประจำ

นายชัชชาติ ใช้สิทธิ์ตอบคำถามนี้ด้วยว่า การศึกษาเป็นหนึ่งในวิธีลดความเหลื่อมล้ำได้ การลงทุนการศึกษาลงทุนไม่เยอะแต่ได้ผลมาก เด็กในชุมชนคลองเตยไม่ใช่เด็กไม่มีความรู้ ทุกคนเก่งไม่น้อยกว่าเด็กกรุงเทพฯ คนอื่นเพียงแต่ขาดโอกาส หน้าที่ กทม. ต้องให้โอกาส ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงการเรียนสายอาชีพ ที่ถามมา 4 เรื่องเป็นไปได้ทั้งหมด โรงเรียนต้องเป็น 3 ภาษา ภาษาไทยต้องดี  อังกฤษหรือจีน และคอมพิวเตอร์ ต้องมีแท็บเล็ตให้ยืมเรียน ต้องทำให้ครูศูนย์เด็กมีกำลังใจไม่ใช่ปัจจุบันนี้ได้เงินเดือน 15,000 บาทไม่มีปรับขึ้น อาหารกลางวันต้องจัดให้พอกับคุณภาพ ดังนั้น กทม. ต้องทุ่มเงินให้มากกว่าการกำจัดขยะ

ที่มา 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า