SHARE

คัดลอกแล้ว

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2541

…คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่มีในตำรา ไม่เคยมีระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอย่างอื่นแต่ไม่มีคำนี้ ปีที่แล้วพูดเศรษกิจพอเพียง เพราะว่าหาคำอย่างอื่นไม่ได้ และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียวไม่ต้องทำหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ นี้ในคราวนั้นเมื่อปีที่แล้ว นึกว่าเข้าใจกัน แต่เมื่อมีไม่นานเดือนที่แล้วมีผู้ที่ควรจะรู้ เพราะว่า ไปปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการพัฒนามาเวลาช้านาน มาพูด และบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่า ทำ ปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ในพื้นที่ ในประเทศ ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอ

…ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ อันนี้ถึงที่พูดต้องพูดเข้าในเรื่องเลย เพราะว่า หนักใจว่า แม้แต่คนที่เป็นด๊อกเตอร์ ก็ไม่เข้าใจ อาจจะพูดไม่ชัด แต่ก็กลับไปดูที่เขียนที่จากที่พูดมันก็ชัดแล้วว่า ควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด ครึ่งหนึ่งก็ใช้ได้ แม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ หมายความว่า วิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่า ถ้าทำทั้งหมด ทำไม่ได้ ไม่มีทาง (นาทีที่ 12.36 – 15.47)

…แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า self-sufficiency คือ self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง ที่เขาแปลจากภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี้ คนบางคนมีเขาพูดว่า ชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธ แต่ตัวเองยืนบนขาตัวเองก็หกล้ม อันนี้ก็เป็นความคิดที่มันอาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่า ยืนบนขาของตัวเอง หมายความสองขาของเรานี่ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมขาคนอื่น ๆ มาใช้เพื่อที่จะยืนอยู่

แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่า พอก็เพียง พอเพียงเนี่ยก็พอเท่านั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง (นาทีที่ 23.36 – 26.35 )

…ความคิดก็เหมือนกัน ไม่ใช่ร่างกาย ความคิด ถ้ามีใครมีความคิดอย่างหนึ่ง และต้องการให้คนอื่น มีความคิดอย่างเดียวกับตัว ซึ่งอาจจะไม่ถูก อันนี้ก็ไม่พอเพียง การพอเพียงในความคิด ก็คือแสดงความคิดของตัว ความเห็นของตัว และปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง และมาพิจารณาว่า ที่เขาพูด กับที่เราพูดอันไหนพอเพียง อันไหนเข้าเรื่อง ถ้าไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข เพราะว่าถ้าพูดกันโดยที่ไม่รู้เรื่องกัน มันก็เป็นการทะเลาะ จากการทะเลาะด้วยวาจาก็กลายเป็นทะเลาะด้วยกาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ความเสียหาย เสียหายแกคนสองคนที่เป็นตัวการ เป็นตัวละครที่สองคน ถ้าเป็นหมู่ก็เลยเป็นการตีกันอย่างรุนแรงซึ่งจะทำให้คนอื่นอีกมากเดือดร้อน ฉะนั้นความพอเพียงนี้ ก็แปลว่า ความพอประมาณ และความมีเหตุผล (นาทีที่ 27.12 – 29.06)

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2562 เพจเฟซบุ๊ก We love Thai Royal Family ได้เผยข้อมูลว่า วันที่ 4 ธันวาคม ถ้าย้อนอดีตเมื่อหลายปีก่อน ราวประมาณปีพุทธศักราช 2520 เป็นต้นมา จนถึงปี 2550 วันมหามงคลอีกวันหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้พสกนิกรชาวไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชื่นชมพระบารมี และมีพระราชดำรัส เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม

โดยทุกปีประชาชนชาวไทย จะได้รับฟังกระแสพระราชดำรัสในช่วงหัวค่ำ ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม

หลังจากนั้นปี 2551 ก็มิได้เสด็จลง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร) และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เสด็จออกแทนพระองค์ ซึ่งขณะนั้นคำอธิบายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระประชวร เป็นความทรงจำที่ได้ชื่นชมพระบารมี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า