SHARE

คัดลอกแล้ว

ก่อนหน้านี้หลายๆ คนเห็นว่า เริ่มมีบริษัทระดับโลกอย่าง BYD หรือ Amazon ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น รวมถึงเห็นสัญญาณการกลับเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยกลับเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มากถึงกว่า 1.5 แสนล้านบาท จนทำให้หลายๆ คนเชื่อว่า “เศรษฐกิจไทยกลับมาดีแล้วและอาจจะดีกว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลก” แต่จริงๆ แล้วเป็นแบบนั้นจริงไหม

TODAY Bizview สรุปบทวิเคราะห์ของ KKP Research ที่จะเผยความจริงที่ซ่อนอยู่ของเศรษฐกิจไทยมาให้อ่านกัน

1) หลายคนคิดว่า การกลับเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.5 แสนล้านบาท สะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยกลับมาดี แต่ KKP Research อธิบายว่า จริงๆ แล้วการกลับมาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เกิดจากเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลกและจีนปรับตัวขึ้นไปค่อนข้างมาก ให้ผลตอบแทนน้อยลง ส่วนเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้นไทยแทบยังไม่ฟิ้นตัว ทำให้ตลาดหุ้นไทยดูให้ผลตอบแทนดีกว่า จนนักลงทุนให้ความสนใจมากกว่าตลาดหุ้นจีนและโลก

ดังนั้น เงินทุนที่ไหลเข้ามาในไทยตอนนี้ ไม่ได้บอกว่าปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยดีขึ้น หากตลาดหุ้นจีนและโลกดีขึ้น  เงินก็จะไหลออกจากไทยอย่างรวดเร็ว

2) นอกจากนั้น ถึงจะมี ‘เงินลงทุนทางตรง’ มากขึ้นในปีนี้ แต่สัดส่วนการลงทุนทางตรงของไทย ‘ลดลง’ มาตลอด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน อย่างเวียดนามและอินโดนีเซีย ความน่ากังวล คือ การลงทุนทางตรงสะท้อนพื้นฐานเศรษฐกิจได้ดีกว่าตลาดหุ้น ถ้าการลงทุนทางตรงลดน้อยลงก็หมายถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่น่าสนใจน้อยลง

3) ขณะเดียวกัน ต่างชาติก็ยังมีแนวโน้มเลิกกิจการในไทยเพิ่มขึ้นด้วย โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2010-2022 และในช่วงที่ผ่านมายังเห็นธุรกิจต่างชาติเริ่มถอนทุนออกจากไทย อย่างเช่นธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจรายย่อยของภาคธนาคาร   หรือแม้แต่ข่าวที่โรงงานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เริ่มย้ายออกจากประเทศไทย

4) ไม่ใช่แค่ต่างชาติ แต่คนไทยก็ยังลงทุนในไทยน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งในส่วนของบริษัทไทยที่ออกไปลงทุนในอาเซียนและยุโรป รวมถึง ‘นักลงทุน’ ในตลาดการเงินที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศมากขึ้นและสนใจหุ้นไทยลดลง เพราะผลตอบแทนต่ำมานาน

– คนไทยซื้อกองทุนในกลุ่มหุ้นในประเทศลดลงอย่างมาก จากซื้อสุทธิเฉลี่ย 78,000 ล้านบาทในปี 2013 – 2019 มาเป็นขายสุทธิ 38,000 ล้านบาทในช่วงปี 2020 – 2022

– คนไทยซื้อกองทุนหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 37,000 ล้านบาทในปี 2013-2019 มาเป็นถึง 183,000 ล้านบาทในปี 2020 – 2022

5) นอกจากนั้น ตอนนี้ไทยกำลังเจอกับ ‘ปัญหาเชิงโครงสร้าง’ หลายมิติ

อย่างแรก คือ ‘โครงสร้างประชากรไทย’ กำลังเปลี่ยนแปลงไปมหาศาลในอีก 8 ปีข้างหน้า

กลุ่มผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมากที่สุด 8.5 ล้านคน

กลุ่มวัยเด็กและทำงานจะลดลงกว่า 3.6 ล้านคน

6) ผลกระทบ คือ ความสามารถในการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลง และยังมีผลกระทบอีก 3 ข้อที่ไทยจะเจอแรงกว่าประเทศพัฒนาที่เจอกับโครงสร้างประชากรแบบเดียวกัน

  1. ประเทศไทยเจอปัญหา ‘แก่ก่อนรวย’ และปัญหาความเหลื่อมล้ำจะทวีความรุนแรงขึ้น 
  2. ภาระทางการคลังสำหรับคนสูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 10 ปีข้างหน้า
  3. ความสามารถในการแข่งขันในภาคการผลิตจะปรับตัวแย่ลงอย่างมากจากกำลังแรงงานที่ขาดแคลน

7) ประเทศไทยจะไม่ใช่อันดับ 1 ของภูมิภาคอีกต่อไป เพราะไทยมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ทศวรรษที่หายไป’ หรืออธิบายง่ายๆ คือ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นโยบายในประเทศไทยพัฒนาช้ามาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศและสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

– ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ รายได้ต่อหัวของไทยเติบโตได้ช้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในอาเซียน (เติบโตเฉลี่ยเพียง 1.4% ต่อปีเท่านั้นในช่วงปี 2014 -2021)

– 8 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ‘ความสามารถในการแข่งขัน’ ของไทย ไม่ดีขึ้นและไม่แย่ลง เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอย่างอินโดนีเซียที่มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น

– ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ จากข้อมูลของ World Bank การควบคุม ‘ปัญหาคอร์รัปชั่น’ ที่อินโดนีเซียเคยแย่กว่าไทยมาก สามารถพัฒนาขึ้นมาจนแซงประเทศไทยได้แล้ว และการเตรียมความพร้อมด้านทักษะแรงงานที่เริ่มพัฒนาขึ้นจนดีกว่าประเทศไทย

– พอเทียบระหว่าง ไทย และ อินโดนีเซีย แล้วจะเห็นว่า ไทยพัฒนาล่าช้ายังไง และทำไมต้องรีบแก้

– ยิ่งในช่วงที่โลกเข้าสู่ยุคย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ การลงทุนโดยตรงที่ไทยเคยพึ่งก็จะลดลงไปอีก

8) โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อหลายธุรกิจ

– ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ธุรกิจเกี่ยวกับเด็ก คนวัยทำงาน วัยสร้างครอบครัว และวัยกลางคน อาทิ ยานยนต์ การศึกษา เอนเตอร์เทนเมนท์ ร้านอาหาร

– ธุรกิจที่จะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นมากที่สุด คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ อาทิ สุขภาพ บริการ สาธารณูปโภค

– บางกลุ่มธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ภาคอุตสาหกรรม ธนาคาร สินค้าอุปโภคบริโภค

9) แล้วยังมี 5 การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะส่งผลอย่างมากต่อธุรกิจในประเทศ คือ 

– ธุรกิจสำหรับเด็กสู่ธุรกิจสำหรับคนสูงอายุ : ธุรกิจสำหรับเด็ก เช่น โรงเรียนจะหดตัว ธุรกิจสำหรับคนสูงอายุ เช่น โรงพยาบาลจะขยายตัวอย่างมาก 

– ภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคบริการ : ในปี 2050 แรงงานไทยจะมีจำนวนลดลง 11.5 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้ไทยไม่สามารถเป็นฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ จำเป็นต้องขยับสู่ภาคบริการแทน

– จากนอกเมืองสู่เมืองใหญ่ : ประชากรที่ลดลงจะทำให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยไม่สามารถรักษาความเป็นเมืองไว้ได้และมีโอกาสเกิด oversupply ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ 

– จากกู้เงินเพื่อครอบครัวและธุรกิจสู่ความต้องการบริการด้านการเงินเพื่อจัดการความมั่งคั่งเพื่อเตรียมเกษียณอายุ  

– จากเงินบาทแข็งค่าสู่ความเสี่ยงเงินบาทอ่อนค่า : จากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในภาคการผลิต 

10) KKP Research เชื่อว่าไทยจะต้องหากลยุทธ์ใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว คือ

– รัฐต้องพิจารณาเปิดเสรีนโยบายการย้ายถิ่นฐาน (Immigration Policy)  ชดเชยปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีทักษะ

– เปิดเสรีในภาคบริการ เพื่อชดเชยการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม เพราะในอนาคตภาคอุตสาหกรรมไทยจะชะลอตัวลงจากการเปลี่ยนแปลงในประเทศและโลก การแข่งขันในภาคบริการจะช่วยส่งเสริมการลงทุนและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการไทย 

– ปฏิรูปทางการเมืองเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชั่นและเพิ่มการแข่งขัน การพัฒนาในเรื่องอื่นๆ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีการปฏิรูปสถาบันการเมืองที่นำไปสู่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และการลดการคอร์รัปชัน  จะเป็นทางออกสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

ในท้ายบทวิเคราะห์ KKP Research อธิบายว่า “บทความฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในหลายประเด็นกำลังจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งถูกสะท้อนผ่านข้อมูลจากตลาดการเงิน ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ควรมองข้าม และเป็นเหมือนสัญญาณเตือนล่วงหน้าให้ประเทศไทยต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างอย่างยั่งยืนในระยะยาว”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า