SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย’ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ได้เล่าให้ฟังถึงแนวทางที่ไทยควรใช้ในการรับมือเหตุการณ์ในครั้งนี้ หลังจากโดนสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีที่ 36 – 37 % ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอัตราภาษีที่สูงมาก คำแนะนำสำหรับประเทศไทยในการรับมือการขึ้นภาษีของทรัมป์ KKP มองว่ามีอยู่ 3 ทางเลือก ได้แก่

ต้อง ‘สู้’ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะไทยพึ่งพาสหรัฐฯ มากกว่าสหรัฐฯ พึ่งพาเราแน่นอน หาก retaliate ก็อาจจะเหนื่อยกว่าเดิม

ต้อง ‘ทน’ อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีหนัก แต่ถ้าหาทางออกไม่ได้ ก็คงต้องทน ซึ่งจะทนได้หรือไม่หากผลกระทบจะทำให้ GDP ไทยลดลงกว่า 1.1 %

ต้อง ‘หมอบ’ เจรจาหาทางลงที่สหรัฐฯ พอใจ อาจจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น การปรับลดภาษีที่ไทยเก็บสหรัฐฯ สูงๆ ลง การลดภาษีศุลกากร เช่น เนื้อสัตว์ อาหาร เกษตรกรรม และอาจจะต้องนำเสนอทางออกให้สหรัฐฯ อีก เช่น การนำเข้าพลังงาน นำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มเติม นำเข้าสินค้าใหญ่ๆ อย่างเครื่องบิน อาวุธ เครื่องจักร

นอกจากนี้ KKP มองว่าสาเหตุที่สหรัฐฯ ใช้นโยบายอัตราภาษีนำเข้า วิเคราะห์ว่ามาจาก 5 เรื่อง คือ

1.ทรัมป์เชื่อว่าทุกปีสหรัฐฯ นำเข้าสินค้าปีละ 3 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ หากเก็บภาษีนำเข้าจะทำให้สหรัฐมีรายได้ปีละ 100-400 พันล้านดอลลาร์ 

2.หากเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจะเป็นการขู่นักลงทุนที่ผลิตสินค้าและย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ จะย้ายกลับมาที่สหรัฐฯ เพื่อเสริมสร้างการลงทุนในภาคการผลิตมากขึ้น 

3.ทรัมป์มองว่าการขาดดุลทางการค้า เป็นการถูกเอาเปรียบจึงพยายามทำให้เกิดสมดุลการค้ามากขึ้น ด้วยการเก็บภาษี

  1. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามการค้ากับจีน 
  1. ใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองและแลกเปลี่ยนผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเจรจาก็จะแตกต่างกันไปแต่ละประเทศ

ในด้านผลกระทบคาดว่าจะกระทบการส่งออกในเอเชียทั้งหมดประมาณ 0.6% ส่วนประเทศไทยผลกระทบจะสูงกว่าประเทศอื่นๆ โดยคาดว่าจะทำให้ GDP ลดลงประมาณ 1.1 % เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกของไทยต่อ GDP ค่อนข้างสูง

อีกหนึ่งศูนย์วิจัยที่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้คือ ‘ศูนย์วิจัยกสิกรไทย’  โดย ‘ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล’  รองกรรมการผู้จัดการ  บอกว่า อัตราภาษีที่สหรัฐฯ ประกาศออกมาสะท้อนว่าทรัมป์ต้องการที่จะให้แต่ละประเทศเข้าไปเจรจา ซึ่งทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้ออกมาพูดแล้วว่าประเทศไทยก็พร้อมที่จะเข้าไปเจรจากับทางสหรัฐฯ 

โดยข้อเสนอที่ไทยจะนำไปเจรจานั้นยังไม่แน่นอนว่าจะมีผลเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาว่าไทยต้องเอาอะไรไปแลกกับการสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะออกมาได้ทั้งบวกและลบสำหรับผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ ประเมินว่าจะทำให้มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) จะล่าช้าออกไป  ยอดการใช้จ่ายครัวเรือนก็จะได้รับผลกระทบจาก Setiment ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในสัปดาห์ก่อนด้วย โดยประเมินว่าผลกระทบโดยรวมจะทำให้ GDP ไทยลดลงราว 1 %

ในส่วนของการประชุมกนง.คาดว่าอาจมีการปรับลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น และอาจมีการปรับลดลง 2 ครั้งในปีนี้  โดยครั้งแรกอาจเกิดขึ้นในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 30 เมษายน และอีกครั้งในช่วงปลายปี

ทั้งนี้ การประเมินนี้เป็นประเมินเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อม เพราะยังไม่รู้ว่าอัตราภาษีที่ระดับ 37% จะอยู่ไปนานไหม ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับผลของการเจรจา

ขณะที่มุมมองด้านผลกระทบ ‘เกวลิน หวังพิชญสุข’  รองกรรมการผู้จัดการ บอกว่า จากมาตรการภาษีที่สหรัฐฯ เก็บไทย เบื้องต้นคาดฉุดมูลค่าการส่งออกราว 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 4 แสนล้านบาทในปี 2568 

ซึ่งในทางตรง คาดการณ์ผลกระทบต่อการส่งออกประมาณ 67%  คือสินค้าที่พึ่งพาสหรัฐฯ มาก และถูกเก็บภาษีที่สูงกว่าคู่แข่ง สินค้าในส่วนนี้ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ยางล้อ ข้าว ปลา กุ้ง อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องประดับ

ขณะที่ ผลทางอ้อม คาดการณ์ผลกระทบต่อการส่งออกประมาณ 33% คือ สินค้าที่ส่งออกไปจีน อาเซียนและอียู ญี่ปุ่น เผชิญการชะลอคำสั่งซื้อจากซัพพลายเชน และการแข่งขันที่สูง รวมถึงสินค้าที่ส่งออกไปตลาดอื่นๆ ที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง สินค้าส่วนนี้คือ  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และชิ้นส่วน ยางล้อ พลาสติกและโพลิเมอร์ เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า ของเล่น เกษตรและอาหาร น้ำมันสำเร็จรูป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า