Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าพูดถึงซีรีส์เกาหลีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง Reborn Rich ที่มี ‘ซงจุงกิ’ เป็นนักแสดงนำ

[ Spoil Alert ]

[ Spoil Alert ]

[ Spoil Alert ]

บางส่วนของบทความมีการสปอยล์เนื้อหาซีรีส์ดังกล่าว

[ Spoil Alert ]

[ Spoil Alert ]

[ Spoil Alert ]

Reborn Rich เล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ถูกสั่งฆ่าโดยตระกูลที่ตัวเองทำงานรับใช้มานานกว่า 10 ปี ก่อนจะย้อนอดีตไปเกิดใหม่เป็นหลานชายเจ้าของตระกูลดังกล่าว ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม ‘แชโบล’ (Chaebol) หรือกลุ่มธุรกิจที่มีอิทธิพลในเกาหลีใต้

หนึ่งในไทม์ไลน์ที่ตัวเอกในเวอร์ชันเกิดใหม่ต้องรับมือ คือ ช่วงปี 1997-1997 (2540-2541) ที่เกิดวิกฤตการเงินเอเชีย ซึ่งทำให้เกาหลีใต้ ณ ขณะนั้น ต้องหันไปกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ

재벌집 막내아들 Reborn Rich

หลังจากซีรีส์ออนแอร์ไม่นาน มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องที่เล่าย้อนกลับไปช่วงวิกฤตการเงิน จะมีภาพที่คนเกาหลีต้องเอาทองคำออกมาชั่งบริจาคให้รัฐบาลนำเงินไปใช้หนี้ และมีคำถามต่อว่า สำหรับประเทศไทย เราผ่านวิกฤตนั้นมาได้อย่างไร

TODAY Bizview ชวนทุกคนย้อนรอยวิกฤตการเงินเอเชียผ่านบริบทของเกาหลีใต้และไทย ทั้ง 2 ประเทศรอดจากหนี้ IMF มาได้อย่างไร และกว่าจะผ่านมาได้ต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง

IMF ใหญ่แค่ไหน ทำไมปล่อยกู้ประเทศได้

IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นกองทุนที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ประสบปัญหาการเงิน เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1944 (2487) จุดประสงค์หลักตอนนั้นเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าที่เข้าทาง

ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agencies) ของสหประชาชาติ (United Nations: UN)

สำหรับขนาดของกองทุน จากข้อมูลล่าสุดของ IMF ณ 24 มิ.ย. 2565 ทรัพยากรทั้งหมดในปัจจุบันของ IMF อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 35 ล้านล้านบาท) เทียบให้เห็นภาพ คือ ใหญ่กว่าจีดีพีไทยปีล่าสุด (2564) ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เงินทุนของ IMF มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นหลัก แต่ IMF สามารถกู้ยืมเพิ่มเติมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งได้จำนวนหนึ่งภายใต้ความตกลงให้กู้แก่ IMF ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow: NAB)

เกาหลีเอาทองมาชั่งกิโลใช้หนี้ IMF

กลับมาที่เกาหลีใต้ ช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินเอเชีย รัฐบาลเกาหลีจำเป็นต้องกู้ยืมเงินจาก IMF จำนวน 58,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในปัจจุบัน) เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ

ระหว่างที่กู้เงินก็มีการออกนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วย แต่หนึ่งในนโยบายที่คนเกาหลียุคนั้นจำได้ดี คือ ‘แคมเปญบริจาคทองคำ’ (Gold-collecting Campaign) ช่วยรัฐบาลใช้หนี้ IMF ซึ่งก็มีประชาชนกว่า 3.5 ล้านคน บริจาคทองคำกว่า 227 ตันเพื่อช่วยประเทศ

korea-gold-collecting-campaign-during-imf-crisis

ภาพที่คนเกาหลีแห่เอาทองคำออกมาชั่งกิโลบริจาค ไม่ว่าจะเป็นทองคำแท่ง ทองคำแผ่น และทองคำรูปพรรณ ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว สร้างความประหลาดใจให้ชาวโลกเป็นอย่างมาก ท้ายที่สุดเกาหลีใต้ก็สามารถใช้หนี้ IMF หมดในอีก 3 ปีถัดมา

แต่ถ้าถามคนเกาหลีใต้วันนี้ว่า จะยอมบริจาคทองคำเพื่อช่วยประเทศเหมือนในอดีตอีกหรือไม่ พบว่า น้อยกว่า 30% จากผู้ตอบแบบสำรวจ 800 คน บอกว่าจะยอมบริจาคทองของตัวเองวันนี้เพื่อช่วยประเทศจากวิกฤต

ถึงการชั่งทองบริจาคจะเป็นภาพจำของคนเกาหลีเมื่อนึกถึงวิกฤต IMF ก็ตาม แต่การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ทั้งการปฏิรูปภาคการเงิน การปฏิรูปแชโบล การปฏิรูปภาคแรงงาน ปฏิรูปภาครัฐ เหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกาหลีใต้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาได้

ประเทศไทยในวันที่ต้องกู้เงิน IMF

ส่วนประเทศไทย ช่วงที่เกิดวิกฤตการต้องขอกู้เงิน IMF จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 6 แสนล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูเศษฐกิจแบบเร่งด่วน ซึ่งการกู้เงินในครั้งนั้นก็ตามมาด้วยเงื่อนไขหลายข้อที่ไทยต้องปฏิบัติตาม

เงื่อนไขสำคัญ เช่น ไทยต้องเปิดเสรีการค้าและการลงทุน ยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ และต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน โดยเงื่อนไขเหล่านี้ถูกออกเป็นกฎหมายรวมทั้งสิ้น 40 ฉบับ

ระหว่างทางที่กู้เงิน IMF มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็เจอกับปัญหาหลายอย่าง เพราะหลายเงื่อนของ IMF เปรียบเสมือน ‘ยาแรง’ ที่ถึงแม้จะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่ก็มีผลกระทบหลายด้านที่ต้องแลก

อาทิ หนี้ต่างประเทศของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเกือบ 40% จาก 24,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.6 แสนล้านบาท) ในปี 2540 เป็น 33,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท) ในปี 2543

นอกจากนี้ การรัดเข็มขัดทางการคลังและการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูง ยังเป็นปัจจัยซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจไทยที่กำลังถดถอย และเป็นต้นเหตุให้หลายธุรกิจต้องล้มลง

สู่วันที่ใช้หนี้ทั้งหมดได้ก่อนกำหนด

แม้จะเป็นช่วงที่ยากลำบาก แต่ในที่สุดประเทศไทยก็สามารถชำระคืนหนี้ IMF ได้ก่อนกำหนดในวันที่ 31 ก.ค. 2546 จากกำหนดการเดิม การชำระคืนเงินกู้คงค้างจาก IMF ครั้งสุดท้ายจะเกิดขึ้นในปี 2547

‘ฮอสท์ เคอเลอร์’ (Horst Köhler) กรรมการผู้จัดการของ IMF ณ ตอนนั้น กล่าวชื่นชมทางการไทยว่า

‘ความสามารถของประเทศไทยในการชำระคืนเงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศก่อนกำหนด สะท้อนถึงเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่งและประสิทธิภาพด้านดุลการชำระเงินในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความสำเร็จนี้ได้รับการสนับสนุนจากกรอบนโยบายที่ดี ซึ่งรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยควรได้รับการแสดงความยินดี’

ย้อนกลับไปในเดือน ก.ค. 2546 เป็นช่วงที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นปีที่ 3 เขาเคยให้ข้อมูลว่า ความสำเร็จในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมาจากการปรับนโยบายเศรษฐกิจครั้งใหญ่ผ่านนโยบายเศรษฐกิจ 2 แนวทาง (Dual Track Policy)

ส่วนนักวิชาการต่างประเทศมองว่า 2 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัว คือ 1. การปรับโครงสร้างทางการเงินที่ส่งเสริมการลดหนี้เสีย (NPL) และทำให้ธนาคารมีความเข้มแข็ง และ 2. การพึ่งพาบริษัทต่างชาติ และการขับเคลื่อนการส่งออก

ครั้งหนึ่งไทยก็เคยรับบริจาคทองใช้หนี้

ในวิกฤตปี 2540 ไทยก็มีการเปิดรับบริจาคทองคำช่วยชาติเหมือนเกาหลีใต้ แต่เป็นการรับบริจาคผ่านโครงการผ้าป่าช่วยชาติของ ‘หลวงตามหาบัว’ (พระธรรมวิสุทธิมงคล) แตกต่างกับเกาหลีใต้ที่เป็นโครงการรับบริจาคโดยรัฐบาล

ถึงปัจจุบันโครงการผ้าป่าช่วยชาติจะปิดตัวลงอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ทุกวันนี้มูลนิธิหลวงตามหาบัวฯ ยังมีการส่งมอบทองคำและทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อสมทบเป็นทุนสำรองของประเทศตามเจตนารมณ์ของหลวงตาฯ เป็นระยะ

ข้อมูลยอดรับบริจาคล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2565 มีเงินที่ได้รับการบริจาคทั้งสิ้น 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.6 ล้านล้านบาท) ทองคำแท่งจำนวน 1,128 แท่ง น้ำหนักรวมกว่า 13,100 กิโลกรัม

โดยแบงก์ชาติระบุว่า ทองคำและเงินที่ประชาชนบริจาค มีการตรวจนับ​และ​เก็บรักษาไว้ในสถานที่มั่นคงปลอดภัย และมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเข้าร่วมในการตรวจสอบเป็นประจำด้วย​

ที่มา:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า