SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก FB Kraisak Choonhavan

 

วันที่ 11 มิ.ย. เฟซบุ๊ก Tisana Choonhavan Marchal ของลูกสาว “อ.โต้ง” ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ โพสต์ข้อความระบุว่า คุณพ่อเสียชีวิตแล้วเมื่อเวลา 19.10 น.

“คุณพ่อได้จากโลกนี้ไปแล้ววันที่ 11 มิถุนายน 2563 เวลา 19:10 น. หนูภูมิใจที่สุดที่ได้เกิดเป็นลูกพ่อ ถ้าชาติหน้ามีจริง ขอให้เกิดเป็นลูกพ่อทุกชาติไป”

ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นลูกชายของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นทั้งนักวิชาการ นักการเมือง ศิลปิน และปัญญาชน ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีโอกาสใช้ชีวิตได้หลายบทบาทเช่นนี้ แต่ถ้ามองย้อนไปที่ชีวิตหนหลังของเขา ก็จะเห็นสิ่งที่หล่อหลอมเป็นตัวเขาในเวลาต่อมา

ไกรศักดิ์ เกิดในตระกูลการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ปู่ของเขา พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ คือหัวหน้าคณะรัฐประหาร ยึดอำนาจ รัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อปี 2490 และเปิดทางให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ในเวลาต่อมา

ลุงเขยของเขา 2 คน คือ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง

ส่วนพ่อของเขา คือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย ผู้มีสีสันมากที่สุดคนหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยฉายา น้าชาติ มาดนักซิ่ง จากภาพที่ขี่มอเตอร์ไซค์ฮาเลย์ หรือ วลีอมตะ “โนพรอบเบลม”

ช่วงชีวิตวัยเด็กเขาโตมาด้วยแวดล้อมของค่ายทหาร แต่ 10 ขวบเขาต้องย้ายไปอาร์เจนติน่า พร้อมครอบครัว เพราะจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจ รัฐบาล จอมพล ป. และขั้วของ พล.ต.อ.เผ่า

พ่อของเขาที่เป็นน้องภรรยา พล.ต.อ.เผ่า ถูกส่งออกนอกประเทศไปเป็นอุปทูตที่อาร์เจนติน่า ไกรศักดิ์ ได้สัมผัสโลกอีกใบหนึ่ง ในช่วงที่มีการตื่นตัวเรื่องการปฏิวัติและแนวคิดก้าวหน้า

5 ปีต่อมาเขาถูกส่งไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา และเติบโตในช่วงกระแสต้านสงครามเวียดนาม ก่อนย้ายไปเรียนที่ฝรั่งเศส ในช่วงที่ปารีส อยู่ในบรรยากาศการถกเถียงทางปัญญา ก่อนย้ายกลับไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา และไปเรียนต่อที่อังกฤษ

กลับมาเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ที่ ม.เกษตรศาสตร์ กว่า 10 ปี และได้ทำงานร่วมกับภาคประชาชน ผู้นำแรงงาน ผู้นำชาวบ้าน แต่ตัดสินใจลาออกจากการสอนหนังสือเพราะโดนลดขั้นเงินเดือนจากข้อหาเดินทางไปประเทศคอมมิวนิสต์

พล.อ.เปรม กับ พล.ต.ชาติชาย ซึ่งจะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ภาพจาก หนังสือ รัฐบุรุษชื่อเปรม

ในช่วงที่เลือกเส้นทางนักวิชาการอิสระ พล.อ.ชาติชาย ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี จึงถูกบิดาขอร้องให้มาเป็นทีมงานที่ปรึกษา ซึ่งเป็นที่มาของทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก ที่รวมเอาทีมงานคนสำคัญอย่าง พันศักดิ์ วิญญรัตน์, ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร, ณรงค์ชัย อัครเศรณี, ชวนชัย อัชนันท์, บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และสุรเกียรติ์ เสถียรไทย

ทีมที่ปรึกษาชุดนี้อยู่เบื้องหลังนโยบายสำคัญของรัฐบาล ชาติชาย คือ เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า เป็นคนกลางในการเจรจาปัญหากัมพูชา โดยไกรศักดิ์ เดินทางไปจีนอย่างลับๆ เพื่อโน้มน้าวจีนให้สนับสนุนแนวทางนี้

หลังรัฐบาลชาติชายถูกรัฐประหาร ไกรศักดิ์กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งในยุคที่ ดร.พิจิตต รัตนกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยการเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และผลักดันให้เกิดหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หลังจากนั้นเขาลงสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่มาจากการเลือกตั้ง ได้เป็นประธานกรรมาธิการการต่างประเทศของวุฒิสภา ก่อนไปเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นที่ปรึกษา ผู้ว่า กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ อยู่ช่วงสั้นๆ

แม้จะวางมือทางการเมืองแต่ยังทำงานกับภาคประชาชน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

ไกรศักดิ์ ป่วยเป็นมะเร็งที่โคนลิ้นมาหลายปี จนระยะหลังต้องให้อาหารเหลวทางหน้าท้อง และรักษาด้วยการทำคีโมบำบัดอย่างต่อเนื่อง

อ้างอิงจาก หนังสือ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ชีวิต มุมมอง ความคิด โดยกุลธิดา สามะพุทธิ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า