SHARE

คัดลอกแล้ว

บอร์ด ป.ป.ส. ไฟเขียวเห็นชอบให้ 135 หมู่บ้าน-ชุมชนเสพพืชกระท่อมได้โดยไม่ผิด พร้อมเตรียมโหวตรับ 4 ข้อเสนอเปลี่ยนแปลงการควบคุมกัญชาและสารที่เกี่ยวข้องกับกัญชาของ WHO หนุนใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และทางการวิจัย

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. ในฐานะกรรมการและเลขานุการฯ เข้าร่วมประชุม

สำหรับการประชุมครั้งนี้มีวาระสำคัญคือ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ได้รายงานถึง ร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของรัฐสภา การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับพืชกระท่อมซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก โดยขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่มีหลักการสำคัญคือการถอดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อยู่ระหว่างเสนอบรรจุในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. …. ที่มีหลักการสำคัญคือการกำหนดมาตรการควบคุมพืชกระท่อมเพื่อป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงพืชกระท่อม และป้องกันไม่ให้มีการนำพืชกระท่อมไปใช้ในทางที่ผิด โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังรายงานความคืบหน้าร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเสพและการครอบครองพืชกระท่อม ในท้องที่ที่ประกาศให้เสพพืชกระท่อมได้โดยไม่เป็นความผิด พ.ศ. ..ซึ่งกำหนดให้เสพได้ตามวิถีชาวบ้าน และผู้เสพจะต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน ป.ป.ส. ก่อน โดยร่างฯ ดังกล่าวอยู่ระหว่างการเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในหนังสือเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในหลักการต่อไป

นอกจากนี้ ได้มีวาระพิจารณาที่สำคัญคือ พิจารณาเห็นชอบให้พื้นที่นำร่อง 135 หมู่บ้าน/ชุมชน เป็นท้องที่ที่ให้เสพพืชกระท่อมได้โดยไม่เป็นความผิด ตามมาตรา 58/2 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 หลังจากที่ สำนักงาน ป.ป.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเตรียมการรองรับเป็นที่พื้นที่นำร่องครบทุกขั้นตอนแล้ว โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่อวาระพิจารณาดังกล่าว และมอบหมายให้ กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนลงนามในประกาศต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาการกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการลงคะแนนเสียงรับหรือไม่รับข้อเสนอ 6 ข้อขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขอบเขตการควบคุมกัญชาและสารที่เกี่ยวข้องกับกัญชา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และทางการวิจัย มากยิ่งขึ้น ได้แก่

  1. ถอดกัญชาและยางกัญชาออกจากตารางที่ 4 ของอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ.1961 แต่ไปควบคุมอยู่ในตารางที่1 ของอนุสัญญา ฯดังกล่าวแทน
  2. เพิ่มสารสังเคราะห์กัญชาโดรนาบิบอล (Dronabinol) และสเตอริโอไอโซเมอร์ (Stereoisomers) ทั้งหมดของโดรนาบินอลให้อยู่ภายใต้การควบคุมในตารางที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ.1961 และถอดออกจากตารางที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971
  3. เพิ่มสารสกัดกัญชา THC หรือสารที่เป็นไอโซเมอร์กับโดรนาบินอล (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Delta-9-THC) ให้อยู่ภายใต้การควบคุมในตารางที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ.1961 และถอดออกจากตารางที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1971
  4. ถอดคำว่า “สารสกัดและทิงเจอร์ของกัญชา” (Extracts and Tinctures of Cannabis) ออกจากตารางที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ.1961
  5. เพิ่มคำอธิบายในเชิงอรรถภายใต้ตารางที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ.1961 ว่าวัตถุตำรับหรือยาเตรียม (Preparation) ที่มี Cannabidiol (CBD) เป็นส่วนประกอบหลักหรือเรียกรวมว่า CBD Preparation ซึ่งมีความเข้มข้นของ Delta-9-THC ไม่เกิน 0.2% จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในตารางที่ 1 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ.1961
  6. เพิ่มตำรับยากัญชาและโดรนาบินอล (Pharmaceutical preparations of Cannabis and Dronabinol) ให้อยู่ภายใต้การควบคุมในตารางที่ 3 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ.1961

โดยประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงต่อข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมสมัยต่อเนื่องของคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 63 ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2563 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและประเทศสมาชิกต่างๆ ตีความข้อเสนอของ WHO แตกต่างกัน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงาน อย และกระทรวงการต่างประเทศ ต่อการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว โดยสำนักงาน อย.เสนอว่าประเทศไทยควรลงคะแนนรับข้อเสนอ 4  ข้อด้วยกัน คือ ข้อ 1, 2, 3 และ 5 และไม่รับข้อเสนอในข้อ 4 และ 6 เนื่องจากสอดคล้องกับนโยบาย และกฎหมายภายในของประเทศไทยในเรื่องนี้ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่อข้อเสนอการลงคะแนนดังกล่าว และมอบหมายให้ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศของไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา เป็นผู้แทนทางการไทยในการลงคะเเนน ต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า